จิตวิญญาณอาเซียนและการคิดแบบอาเซียน

              การขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนริเริ่มในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)
ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ ว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ประกอบด้วยประชาคมสามเสาหลัก 
               1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
โดยมีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อน  ดังนี้
 
               1. ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนามนุษย์โดยเน้นการศึกษา และการสร้างสังคมความรู้ ส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งเสริมทักษะ การประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
              2. ส่งเสริมการคุ้มครอง และสวัสดิการสังคม โดยการลดความยากจนส่งเสริมความมั่นคง ด้านอาหาร
การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และการรักษาพยาบาล มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และปลอดภัยยาเสพติด
              3. ส่งเสริมสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม โดยเน้นการปกป้องผลประโยชน์ การรักษาสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมโอกาสอย่างเท่าเทียม
              4. การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมสีเขียวและสะอาด การอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรและพลังงาน และการส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค
              5. การสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยเน้นการสร้างความรู้สึกของการอยู่ร่วมกัน และส่งเสริมความเป็นเอกภาพท่ามกลางความแตกต่างโดยการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา และอารยธรรม
             6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา โดยเน้นการแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม และเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศสมาชิก
 
              มีหน่วยงานหลักในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีภารกิจในการดำเนินงาน  ได้แก่ ส่งเสริมให้ไทยเป็นประเทศชั้นนำในด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอาเซียน, ส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและมีบทบาทนำในการสร้างความร่วมมือ ด้านการคุ้มครองและสวัสดิการสังคมในอาเซียน, ส่งเสริมความยุติธรรมและสิทธิและมีบทบาทนำในการสร้างความร่วมมือในอาเซียน, ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม, และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียนความสำเร็จในการสร้างความเท่าเทียมในสังคมสู่ภูมิภาคอาเซียน
 
               อาเซียนมีความพยายามที่จะรวมกลุ่มประเทศต่าง ๆ ให้กลายเป็นประชาคมเดียวกัน ที่มีความแตกต่างหลากหลาย เป็นความพยายามที่ท้าทายประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นอย่างมาก มีหลายประเทศในอาเซียนที่สามารถดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อการสลายกำแพงทางสังคม  แม้จะแตกต่างกันทางศาสนา ภาษา ประเพณีและวัฒนธรรม สร้างความผูกพัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
 
               1. ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีลักษณะความเป็นหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสิงคโปร์ มีประชากรทั้งประเทศ ประมาณ 4.47 ล้านคน จัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีความเด่นชัดในเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ปัจจุบันมีทั้งชาวจีน พุทธ อิสลาม ฮินดู คริสต์ และลัทธิเต๋า รวมไปถึงด้านวัฒนธรรม ที่ได้รับผสมผสานทั้งจากภายนอก และวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยแต่ละเชื้อชาติ ที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงย่อมส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ทางการดำรงชีวิต รวมถึงแนวคิดในเรื่องต่าง ๆ เช่นประเด็นเรื่องกระแสชาตินิยม มีความหลากหลายของแต่ละเชื้อชาติที่ยังต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศชาติในอนาคตและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สิงคโปร์ จึงมีนโยบายต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มคนที่หลากหลายภายในประเทศ เช่น นโยบายการสร้างชาติ นำเอาความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาเป็นจุดแข็งในการพัฒนาประเทศ
 
               2. ประเทศมาเลเซีย อีกหนึ่งกรณีศึกษาจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมที่ชัดเจน ประเทศมาเลเซียมีจำนวนประชากรทั้งหมด ประมาณ 30.9 ล้านคน ประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างสันติสุข โดยจากผลวิจัยของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย พบว่าในอดีตต่างชาติที่เข้ามาอยู่ส่วนใหญ่เริ่มจากการเข้ามาทำการค้า หรือการทำแรงงาน จึงเกิดการสร้างชุมชนบนวิถีชาติพันธุ์ของตนเอง เช่นกลุ่มอินเดีย กลุ่มจีน กลุ่มไทย เป็นต้น ทำงานตามความถนัดและความสามารถแต่ยังคงความ เป็นอัตลักษณ์ ของตนเองแต่ในขณะเดียวกันเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมที่หลากหลายก็มีความเคารพในอัตลักษณ์ของสังคมรอบข้าง นอกจากนี้ สิทธิเสรีภาพยังอยู่บนรากฐานกฎหมายร่วมกัน การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ บริการสาธารณสุข ปัจจุบันคนจากทุกเชื้อชาติสามารถเข้าทำได้อย่างเท่าเทียมกัน ประเทศมาเลเซียให้ความสำคัญด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยมีการกำหนดนโยบายการศึกษา ให้กลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์ สามารถใช้ภาษา ของชาติตนเองในการเรียนการสอนในประเทศ สามารถก่อตั้งโรงเรียนที่สอนด้วยภาษาของประเทศนั้น ๆ ได้
 
             3. ประเทศอินโดนีเซีย เป็นอีกประเทศที่มีความหลายหลายทางสังคมและวัฒนธรรมในอาเซียน ประเทศอินโดนีเซีย มีจำนวนประชากรทั้งหมด ประมาณ 251.5 ล้านคน แต่ก็สามารถที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นได้ภายใต้ดินแดนแห่งหมู่เกาะนับพันเกาะ ทั้งที่เป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มศาสนา ประเทศอินโดนีเซียมีภาษาพูดต่างกันมากกว่า 538 ภาษา
ตารางชาติพันธุ์ ในประเทศอินโดนีเซีย

            กลุ่มชาติพันธุ์            จำนวน (%)
ชวา  40-50
ซุนดา 14.5
มาคัสซาร์ -บูกิส
(Makassarese-Buginese)
3.68
ชนเผ่าบาตัก (Batak) 2.4
ชาวบาหลี (Balinese) 1.88
ชาวอะเจห์ (Achnese) 1.4
คนจีน 2.8

แผนภูมิ ชาติพันธุ์ในประเทศอินโนีเซีย

            4. ประเทศเมียนมาร์ ดินแดนแห่งชาติพันธุ์ ประเทศเมียนมาร์ มีประชากรประมาณ 53.7 ล้านค้น ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า แต่ก็มีกลุ่มชนกลุ่มน้อยถึง 134 ชาติพันธุ์ อาศัยอยู่บริเวณที่ราบริมแม่น้ำแม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสะโตง และแม่น้ำชินวิน  แนวทางหนึ่งที่รัฐบาลเมียนมาร์ เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า” เป็น “สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์” ในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) รัฐบาลทหารพม่าในขณะนั้นให้เหตุผลในการเปลี่ยนชื่อว่า ต้องการแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของประเทศ ชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่แสดงให้เห็นถึงนโยบายสมานฉันท์ และต้องการสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นภายในประเทศอย่างแท้จริง
 
         
สรุปข้อมูลจาก การเรียนออนไลน์ วิชาจิตวิญญาณอาเซียนและการคิดแบบอาเซียน
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร