ผู้สูงวัย อยู่อย่างไรให้มีสุข

30 August 2018
Posted by Banjong Rungphan

ผู้สูงวัย อยู่อย่างไรให้มีสุข
 เกษียณ  ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน หมายถึง “ สิ้นไป “ ซึ่งใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุ เช่น เกษียณอายุราชการ  หมายความถึงการสิ้นกำหนดเวลารับราชการหรือการทำงาน  โดยส่วนใหญ่แล้วประเทศต่างๆในแถบเอเชีย รวมถึงประเทศไทย จะกำหนดให้บุคคลที่ทำงานภาครัฐ ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ต้องเกษียณอายุพ้นจากสภาพการทำงาน  เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนจากการตรากตรำทำงานมานาน แน่นอนความรู้สึก ดีใจ มีความสุข มีเวลาพักผ่อน มีความหม่นหมอง หลังการเกษียณของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันไป  โดยขึ้นอยู่กับทัศนคติ และความพร้อมของแต่ละคน ถ้าผู้ที่มีการเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี ก็จะไม่กังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชีวิต แต่สำหรับผู้ที่ขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณ อาจมีผลลบมากกว่าผลดี ทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ตลอดจนวิถีชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย
 ( ในอนาคตรัฐบาลมีแนวโน้มจะขยายอายุการทำงานมากขึ้นเป็น 63 ปี ดังมีประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกษียณอายุการทำงาน อายุ 65 ปี ประเทศสวีเดน อายุ 64 ปี ประเทศสหรัฐอเมริกา อายุ 62 ปี )
ประเทศไทย จะเป็นสังคมสูงอายุ โดยมีเด็กเกิดที่มีแนวโน้มลดน้อยลง ทำให้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจำนวนอายุขัยของประชากรเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ 75-85 ปี
เตรียมอย่างไรให้มีสุข เมื่อต้องเป็นผู้สูงวัย
1.เตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในอนาคต
2.เตรียมการออม  ต้องเร่งสร้างวินัยเรื่องความรู้ในการจัดการด้านการเงิน ให้มีวินัยในการออม อย่าให้เกิดภาวะ แก่ก่อนรวย ให้คำนึงถึงความยั่งยืนของรายได้ เพราะค่าตอบแทน หรือการจ้างงานที่ไม่ต่อเนื่อง และไม่มีหลักประกันรายได้ยามเกษียณอายุ อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตได้
3.เตรียมที่อยู่อาศัย  นับว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญ ต้องเตรียมให้พร้อมตั้งแต่วัยทำงาน อย่าหวังพึ่งพิงบุตรหลาน เพราะในอนาคต มีเด็กเกิดน้อยลง คนวัยทำงานมีการแต่งงานกันน้อย  มีบุตรน้อยลง ส่วนใหญ่อยู่เป็นโสดหรือไม่มีบุตร
4.เตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข   เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ยิ่งอายุมากขึ้น สุขภาพเสื่อมถอยลง จะมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งของการรักษาพยาบาล และการเลือกสถานที่การเข้ารับบริการ
แนวทางการสร้างสุขของผู้สูงวัย
1.อยู่ให้ได้ด้วยตนเอง และพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด  โดยต้องหมั่นดูแลสุภาพของตนเอง  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออกกำลังกายประกอบเพลงเข้าจังหวะ  การลีลาศ  การเดิน การบริหารร่างกาย และ รับประทานอาหารที่ปราศจากการปนเปื้อน เพื่อจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง
2.ทำชีวิตให้มีคุณค่า เป็นที่พึ่งทางปัญญาให้กับลูกหลานหรือชนรุ่นหลัง และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น เข้าร่วมกิจกรรมสังคมของผู้สูงวัย จิตอาสา เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติในแง่มุมต่างๆ ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน
3.หาโอกาส ให้กับตนเอง ในช่วงชีวิตของวัยเกษียณ เช่น การท่องเที่ยว  การเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่น่าสนใจ  การอ่านหนังสือเล่มโปรด   ถือศีลปฎิบัติธรรม
4.ตระหนักในสัจธรรมที่ว่า ชีวิตย่อมมีการเปลี่ยนแปลง อย่ายึดติดและจงมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน
5.หมั่นศึกษาธรรม และหลักคำสอนของศาสนา เพื่อจิตใจที่เป็นสุข
หลักทฤษฎีเขียนไว้ดี  สำหรับหลักปฏิบัติแล้วแต่ละบุคคลต้องเลือกสรรกันเองและควรเหมาะสมกับบุคคลนั้นด้วย เพราะความสุข ความพอดีของแต่ละคนไม่เท่ากัน.
ศึกษาเพิ่มเติมที่
1.https://www.scbam.com/medias/upload
2.หลักสูตรเรียน ออนไลน์ ก.พ. เรื่อง การสร้างวิสัยทัศน์เพื่อตอบสนองสังคมสูงวัย         
3.http://haamor.com/th  รวมบทความโรคและสุขภาพ
4.https://youtu.be/KferGJKsTFM
5.https://youtu.be/hOby1Hps9FO
6.https://youtu.be/2GkMZ47-ZSc
7.https://health.kapook.com/view15599.html
8.https://youtu.be/aCEKjBkelxc

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร