มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว “ริกเตอร์”

23 July 2018
Posted by Kasorn Sansuwan

จากการทำงานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สาระสนเทศน่ารู้จากวารสาร  การประชาสัมพันธ์การใช้บริการวารสารผ่านสื่อหอสมุดฯ และจากการตรวจบทความจากวารสารเพื่อทำดรรชนี ทำให้พบบทความที่ให้สาระความรู้ในเรื่องต่าง ๆ มากมาย วันนี้มาทำความรู้จักกับคำว่า “ริกเตอร์” กันค่ะ
เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า แผ่นดินไหวขนาดกี่ริกเตอร์
คำว่า “ริกเตอร์” เป็นหน่วยของขนาดแผ่นดินไหวเรียกว่า “มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์” พัฒนาโดยชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter) นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวชาวสหรัฐอเมริกา แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียเมื่อปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478)
หน่วยของ “ริกเตอร์” เป็นการวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว เราจึงนิยมใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า “ริกเตอร์” (Richter) ตั้งแต่นั้นมา
สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหว ที่เป็นที่นิยมที่สุด คือ มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์
จะบอกได้เป็นตัวเลขจำนวนเต็มและจุดทศนิยม โดยขนาดของแผ่นดินไหวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้ (ข้อมูลตาราง)

การเพิ่มขึ้นของระดับความรุนแรง 1 หน่วยเต็ม เช่น จาก 5 เป็น 6 ริกเตอร์ เท่ากับแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรงมากขึ้น 10 เท่า ในขณะเดียวกัน แต่ละริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้นก็หมายถึงพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เท่าด้วย
ข้อควรปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว
1. ให้ตั้งสติ อย่าตกใจ อยู่ในที่ที่แข็งแรง ปลอดภัย ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า-ออกจากบ้าน
2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืน หรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลว หรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
6. ถ้ากำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
7. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
ที่มาแหล่งข้อมูล : 
โกเมศ สุขบัติ.  “ริกเตอร์ ผู้คิดมาตรวัดขนาดแผ่นดินไหว.”Science Magazine. 2, 6 (มกราคม-มีนาคม 2458) : 17
“คำว่า “ริกเตอร์” มาจากไหน.” ผลิใบ. 12, 68 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2548) : 41
“Richter ริกเตอร์.” สารคดี. 20, 240 (กุมภาพันธ์ 2548) : 111 
กรมทรัพยากรธรณี.  ความร้ายแรงของแผ่นดินไหว.  สืบค้นจาก   http://www.dmr.go.th/main.php?filename=severity   สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม.
รู้จักมาตราวัดแผ่นดินไหวยอดนิยม. สืบค้นจาก  https://www.thairath.co.th/content/155945
สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม.
แผ่นดินไหวทำไงดี! ข้อควรปฏิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว. สืบค้นจาก   https://hilight.kapook.com/view/23826   สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม.
 
 
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร