เมื่อประเทศกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ

30 January 2018
Posted by Ekanong Duangjak

การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเป็นโจทย์สำคัญของประเทศในขณะนี้ เมื่อจำนวนประชากรมีแนวโน้มลดลง การเกิดที่น้อยลง ประชากรมีอายุยืนมากขึ้น กำลังแรงงานมีแนวโน้มหดตัว โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง สาเหตุเหล่านี้ ที่ทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ตามมา
1. แนวโน้มโครงสร้างประชากรไทยในอนาคต ในช่วงเวลา 40 ปี
– หญิงไทยมีลูกน้อยลง
– ผู้หญิง 1 คน มีบุตรลดลงจากเฉลี่ยมากกว่า 5 คนเหลือเพียง 1.53 คน ในปัจจุบัน
– อัตราการเกิดจาก 40 คน ต่อประชากร 1,000 คน ลดลงเหลือพียง 12 คน ในปี 2556
– อายุของคนไทยยืนยาวขึ้นจากเฉลี่ยตั้งแต่แรกเกิดมาถึง 60 ปี เป็นอายุยืนถึง 74 ปี
**ประเทศไทยกำลังจะมีประชากรมากที่สุดในประวัติศาสตร์และประชากรจะเริ่มลดลงใน 10 ปีข้างหน้า
2. การเกิดที่ลดลง จากการเกิดที่ลดลงทำให้จำนวนบุตรเฉลี่ยต่อผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือที่เรียกว่า อัตราการเจริญพันธุ์รวมของประชากรไทยลดลง จาก 3.06 คนในปี 2523 เหลือเพียง 1.53 ในปี 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน
3. การลดลงของประชากรวัยเด็ก ปี 2523 จำนวนประชากรวัยเด็กช่วงอายุ 0 -14 ปี มีมากที่สุดถึง 18 ล้านคน และลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึง ปี 2558 จำนวนประชากรวัยเด็กลดลงอีกเหลือ 1 ใน 3 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2523 มีจำนวนประชากรวัยเด็กเพียง 12 ล้านคน และจะลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือจำนวน 2 ใน 3 เมื่อเทียบกับปี 2523 คือมีจำนวนประชากรวัยเด็กเพียง 6 ล้านคนในปี 2643
4. การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ จากประชากรสูงวัยกำลังจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปี 2557 จำนวนประชากรผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) มีจำนวน 6 ล้านคน และในอีก 50 ปีข้างหน้าคือปี 2598 จะเพิ่มเป็น 19 ล้านคนเป็นที่ทราบกันดีว่า การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทุกวันนี้ และกำลังมีอายุสูงขึ้น
          – ประชากรเกือบทุกประเทศในโลกกำลังมีอายุสูงขึ้น
          – อัตราการเกิดของประเทศต่างๆ ได้ลดต่ำลง
          – ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น
          – ประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ 23
          – ประเทศกำลังพัฒนามีประชากรสูงอายุอยู่ที่ร้อยละ 9
          – ประเทศด้อยพัฒนาจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 5 เท่านั้น
5. กำลังแรงงาน การลดลงอย่างต่อเนื่องของอัตราภาวะเจริญพันธุ์ส่งผลต่อเนื่องทำให้ประชากรวัยทำงานลดลงเช่นกัน จากการคาดประมาณประชากร พ.ศ. 2553-2583 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประชากรรุ่นที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน อีกประมาณไม่ถึง 5 ปี หรือประมาณปี 2563 รุ่นอายุ 15-19 ปีและรุ่นอายุ 20-24 ปี น้อยกว่าจำนวนประชากรวัยทำงานที่กำลังจะออกจากตลาดแรงงาน คือ รุ่นอายุ 50-54 ปี และรุ่นอายุ 55-59 ปี)
          กำลังแรงงานในตลาดแรงงานมีโอกาสที่จะหดตัวอย่างมากในอนาคต ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ลดลง และส่งผลกระทบต่อการลงทุนของประเทศและมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชากร ซึ่งทำให้เป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศได้ที่อาจจะต้องมีนโยบายการนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่มีความรู้และทักษะเข้ามา รวมทั้งเทคโนโลยีมากขึ้น
          การที่ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลง ส่งผลต่อทำให้ตลาดแรงงานน้อยลง กำลังแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูเด็กและผู้สูงอายุมากขึ้น สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มขึ้น
ผลกระทบเมื่อสังคมสูงวัย
          ผลกระทบเมื่อมีการเกิดน้อยลงและประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น นำไปสู่การเป็นสังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วนั้นทำให้เกิดผลกระทบในหลายๆ ด้านตามมา เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสวัสดิการ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ สาธารณสุข และด้านกำลังแรงงาน
          เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่าน คนวัยทำงานมีอำนาจการจับจ่ายใช้สอยได้มาก เนื่องจากมีกำลังแรงงานที่สร้างรายได้จำนวนมาก การเข้าสู่การเป็นเศรษฐกิจที่ชราจากการที่มีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว     ตลาดแรงงานกำลังปรับเปลี่ยนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวนมากขึ้นได้ทำงานทั้งการทำงานในระบบ และการทำงานนอกระบบ
          การทำงานในระบบ ผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 9.2 ที่ทำงานในระบบ มีความมั่นคงทางรายได้และสวัสดิการ
          การทำงานนอกระบบ ผู้สูงอายุร้อยละ 90.8 ทำงานนอกระบบ เช่น เกษตรกรรม ประมง งานขาย และงานฝีมือต่างๆ ประสบกับปัญหาจากการทำงาน เช่น ค่าตอบแทน การจ้างไม่ต่อเนื่อง และไม่มีสวัสดิการ
         สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ
          – แบบประจำในรูปของเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันได
          – การรักษาพยาบาล (ผ่านโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเกษียณอายุ)
          – ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ(ผ่านกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ)
          – สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ (ผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
          รายจ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุในปัจจุบัน
          – รายจ่ายบำนาญประเภทต่างๆ
          – ค่าใช้จ่ายในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และสถานสงเคราะห์คนชรา
          – เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เงินสงเคราะห์จัดการศพ
          – กิจกรรมการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองและการส่งเสริมการใช้ศักยภาพทางสังคม
          – กองทุนผู้สูงอายุ
เสาหลักของเงินได้ในยามเกษียณ เสาหลัก 4 เสาในการออมของผู้สูงอายุ
          – เสาหลักที่1 สวัสดิการจากภาครัฐ (government welfare) เช่น เงินบำเหน็จบำนาญ เบี้ยยังชีพ
          – เสาหลักที่ 2 ประกันสังคม (social security) จากรัฐ+นายจ้าง+ลูกจ้าง
          – เสาหลักที่ 3 การออมภาคบังคับ (compulsory saving) จาก นายจ้าง+ลูกจ้าง เช่น กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
          – เสาหลักที่ 4 การออมโดยสมัครใจ (voluntary saving) โดยประชาชน เช่น RMF, LTF, ประกันชีวิต และกองทุนต่างๆ
          การสำรวจผู้สูงอายุเมื่อปี 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ อัตราการออมของผู้สูงอายุในประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำมาก ผู้สูงอายุถึง 2 ใน 3 ไม่มีเงินออมเลย และผู้สูงอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปไม่มีเงินออมเลยถึงร้อยละ 74
          การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก และมีอายุยืนยาวจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของประเทศหากทุกฝ่ายต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ทุกฝ่ายในสังคมตระหนักในคุณค่าของผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุเหล่านั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการมีสุขภาพที่แข็งแรง มีรายได้ และเงินออมที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพ
  2. การสร้างหลักประกันรายได้ยามชราภาพของประชากรวัยทำงานนับได้ว่าจะมีบทบาทสำคัญมาก ทั้งนี้ในอนาคตการพึ่งพารายได้จากบุตรจะลดบทบาทลง บทบาทของ “ บำนาญภาครัฐ” จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย

 
แหล่งอ้างอิง : วิชาการสร้างวิสัยทัศน์เพื่อตอบสนองสังคมสูงวัย (จากการอบรมหลักสูตรออนไลน์ ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร