ทัศนคติเชิงบวกกับการทำงานยุคอาเซียน

จากการเรียนออนไลน์ วิชาทัศนคติเชิงบวกกับการทำงานยุคอาเซียน สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับตัวเองได้บ้าง ทำให้มีทัศนคติเชิงบวกและมีมุมมองที่กว้างขึ้น และพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
ทัศนคติเชิงบวก ในความหมายของ นโปเลียน ฮิลล์ หมายถึง สภาวะที่มั่นใจ ซื้อสัตย์ และสร้างสรรค์ ซึ่งแต่ละบุคคลได้สร้างขึ้นและรักษาไว้ด้วยวิธีการที่เขาเป็นผู้เลือกเองให้เป็นไปตามแรงปรารถนา โดยขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ของตนเอง เมื่อเรามีทัศนคติเชิงบวก เราจะมีความสุขกับตนเองและกับผู้อื่น เราจะมีความนับถือตนเอง มีความรู้สึกดี ๆ ประสบแต่เรื่องดี ๆ และห่างไกลจากเรื่องร้าย ๆ ทัศนคติเชิงบวกสอนให้เราคิด และทำอย่างสร้างสรรค์ เราสามารถใช้มันเพื่อทำตามความปรารถนาของเราให้เป็นความจริงได้
กรอบความคิดเชิงลบสามารถกัดกร่อนพลังในการทำงานของเรา รวมทั้งคนรอบข้างของเราด้วย บั่นทอนความมั่นใจ ทำลายความคิดสร้างสรรค์และทักษะในการคิดแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งแทรกแซงความสามารถในการแสวงหาโอกาสของเรา และทำให้เราไม่มีความสุข ใช้อารมณ์ไปอย่างสิ้นเปลืองและบั่นทอนศักยภาพของเรา
การสร้างทัศนคติที่ดีกับการทำงาน การสร้างนิสัยแบบใหม่ทางอารมณ์ เราต้องเตรียมตัวและดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ เช่น
– หลีกเลี่ยงการพูดในแง่ลบ ใช้คำพูดในแง่บวก คำพูดที่สร้างความรู้สึกเชิงบวก คำพูดของเรามีผลต่อความรู้สึกที่ต่างกัน เช่น น่าเบื่อ กับคำพูดว่า ดูแล้วมีอะไรที่น่าศึกษา  ยาก กับคำพูดว่า ท้าทาย ผิดพลาด กับคำพูดว่าประสบการณ์ที่ได้รับ เราทำไม่ได้ กับคำพูดว่า  เราต้องทำได้  เรื่องซ้ำ ๆ กับคำพูดว่า จะเกิดเป็นความชำนาญ เราสามารถเปลี่ยนภาษาในแง่ลบโดยใช้คำพูดในแง่บวกแทนก็จะสร้างความรู้สึกในเชิงบวก
– หลีกเลี่ยงการเข้าไปสู่สภาวะอารมณ์เชิงลบของคนอื่น ๆ เช่น เขาโมโหมา เราไม่ต้องโมโหตอบ
เขาหงุดหงิดมา เราไม่ต้องหงุดหงิดตอบ เขาต่อว่ามาเราไม่ต้องคิดต่อว่าเขาตอบ เราไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม การที่เราเข้าไปอยู่ในอารมณ์เชิงลบอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากตัวเราเอง หรือเกิดจากผู้อื่นก็จะทำให้ไม่เกิดผลดีกับตัวเราแน่นอน
– ทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นด้วยอารมณ์เชิงบวกของเรา เช่น เราสามารถปลอบใจเพื่อน ๆ ได้ แต่เราต้องมีทัศนคติเชิงบวกก่อน เราก็จะสามารถช่วยคนอื่นได้ เมื่อคนเครียดคุยกับคนเครียดก็จะเครียดยิ่งกว่า เราต้องหลีกเลี่ยงที่จะไปอยู่ในสภาวะอารมณ์เชิงลบ
– หลีกเลี่ยงการซึมซับข่าวสารทางลบ รับรู้ข้อมูล ข่าวสารทางบวกแทน
– เรียนรู้ที่จะทำตัวให้สบายเมื่อต้องอยู่ในที่อึดอัดใจ
– เปลี่ยนจุดด้อยของเราให้เป็นจุดเด่น
หลุมพรางทางความคิดเชิงลบเกี่ยวกับการทำงาน
– มองการทำงานเป็นความเครียดไม่ใช่เรื่องท้าทาย
– ไม่กล้าเผชิญ ท้าทายกับปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอ
– จินตนาการความกลัวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ
– กังวลกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมากเกินไป
– หลีกเลี่ยงงานยากเพราะไม่อยากลำบาก
– มองผู้อื่นในเชิงลบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ
– ยึดถือแนวความคิดของตัวเองเป็นหลัก
เทคนิคการเอาชนะหลุมพราง
– การให้นิยามกับสถานการณ์ใหม่
– การสร้างคำถามสร้างพลังเชิงบวก
– ปรับเปลี่ยนความคิดกับเหตุการณ์ใหม่
– ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับทัศนคติของตัวเรา
คุณสมบัติที่ดีของการเป็นนักคิดเชิงบวกต้องพัฒนาและประยุกต์ใช้ดังนี้
1. การมีเป้าหมายที่ชัดเจน
2. การมีวินัยในการทำงาน
3. การมีความคิดสร้างสรรค์
การเตรียมตัวเพื่อการทำงานยุคอาเซียนเราต้องพัฒนาตัวเองในด้านต่าง ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ความรู้ใหม่ ๆ ที่ต้องไขว่คว้าหาความรู้  ฝึกจับใจความสำคัญของเรื่อง  ฝึกวิเคราะห์ ในเรื่องต่าง ๆ มองความซับซ้อน ความยากเป็นเรื่องท้าทายที่เราต้องนำมาประยุกต์ใช้ ทัศนะการเปลี่ยนแปลงดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับทัศนคติของตัวเราเอง AEC จะเกิดขึ้นแน่ ๆ อยู่ที่เรามอง เราจะต้องยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง ดีหรือไม่ดีอยู่ที่เราคิด อยู่ที่เรามองว่าเป็นอุปสรรคหรือโอกาส
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร