มุมมองนิยายเล่มโปรด

13 December 2017
Posted by Ekanong Duangjak

 :mrgreen: เมื่อวันที่ 01/03/2015 ได้เขียน Blog เรื่อง ว่าด้วยเรื่อง “นวนิยาย” ด้วยเรื่องของสิ่งที่ประกอบกันจนเป็นวรรณกรรมประเภทนวนิยาย มาวันนี้จะพาไปดูว่าประเภทของนิยายในมุมมองของนักอ่านและนักเขียนที่แตกต่างจากคนทั่วไป ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง มาดูกันว่า เราเป็นหนอนนวนิยายตัวจริงขนาดไหน

 
 

แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : https://www.facebook.com/dekdwriter/photos/a.781523318596019.1073741828.775750355839982/858581027556914/?type=1&fref=nf)
ประเภทของนวนิยาย
1. นวนิยายจินตนิมิต (Fantasy Novel) การใช้โลกที่ไม่มีอยู่จริง เช่น แดนสวรรค์ เป็นฉากในงานเขียนที่เหลือเชื่อ
2. นวนิยายรัก (Romantic Novel) เน้นความรักเป็นแก่นหรือสาระสำคัญของเรื่อง ใช้ความรักเป็นเหตุจูงใจให้เกิดเหตุการณ์สำคัญของเรื่อง
3. นวนิยาย จดหมาย (Letters Novel) เป็นงานเขียนโต้ตอบในรูปจดหมาย ระหว่างเพื่อน คนในครอบครัว คนมีชื่อเสียง
4. นวนิยาย ชีวิตเสเพล (Picaresque Novel) เสนอเรื่องเสเพลของตัวละคร โดยเล่าประสบการณ์ทำนองเสียดสีสังคมของตน และการเอาตัวรอดอย่างฉิวเฉียด มักเล่าเป็นตอนๆ ไม่มีโครงเรื่องที่แน่นอน
5. นวนิยาย สยองขวัญ (Gothic หรือ Terror Novel) เรื่องเกี่ยวกับความลึกลับ และความน่าสะพรึงกลัว เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ อาจจะมีฉากเป็นบ้านผีสิง คุกใต้ดิน เคราะห์กรรม ความเศร้าโศกและสิ้นหวัง บรรยากาศของความหายนะ
6. นวนิยาย นักสืบ(Detective Story) บางทีเรียกว่า อาชญนิยาย (Crime Story) โดยมากเกี่ยวกับฆาตกรรม การคลี่คลายคดี
7. นวนิยายเพ้อฝัน(Utopia) พรรณนาโลกอุดมคติในจินตนาการ
8. นวนิยาย วิทยาศาสตร์ (Science Fiction) สร้างจากข้อเท็จจริง ข้อสันนิษฐาน หรือสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์
9. นวนิยาย จิตวิทยา (Psychological Novel) เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณของตัวละคร
10. นวนิยาย กระแสสำนึก (Stream of Consciousness Novel) เป็นศัพท์ที่ วิลเลียม เจมส์ สร้างขึ้นใช้ใน Principles of Psychology แสดงถึง การไหลของประสบการณ์ภายใน บางทีเรียก บทพูดเดี่ยวในใจ
11. สัจนวนิยายแนว สังคมนิยม (Socialist Realism Novel) พัฒนาอยู่ในรุสเซีย ถือว่าศิลปินไม่ว่าแขนงใดย่อมรับใช้รัฐ
12. นวนิยาย หลีกหนี (Escape Novel) บางทีเรียกว่า นวนิยายข้อคิด (Novel of Ideas) มุ่งแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน เสนอโลกที่ผิดไปจากธรรมดา หรือการผจญภัยที่ลึกลับ ตื่นเต้น บางครั้งก็เกี่ยวกับการหลบหนี
13. นวนิยายศีลธรรม (Moral Novel) นวนิยายที่มุ่งแสดงให้เห็นว่า ความซื่อสัตย์และความดีงาม จะเอาชนะความชั่วร้ายได้
14. นวนิยายจินตนิยม (imagination Novel) หมายถึง นวนิยายจากจิต หรือข้อคิดจากการอ่านงานเขียนชิ้นหนึ่ง โดยเฉพาะบทกวี หรือการพรรณนา ซึ่งเร้าประสาทสัมผัสและสร้างภาพในจิต หรือภาพพจน์ชนิดหนึ่ง คืออุปมาอุปมัยเชิงเปรียบเทียบ หรือสัญลักษณ์ที่แทนสิ่งหนึ่งสิ่งใด
15. นวนิยายแนวสัจนิยม (Realism Novel) ถือว่าจุดประสงค์ของศิลปะ คือการแสดงภาพของชีวิตอย่างตรงไปตรงมา และ ไม่มีความคิดเห็นส่วนตัว
16. นวนิยาย ธรรมชาตินิยม (Naturalism Novel) หมายถึงนวนิยายที่เกิดขึ้นโดยเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกที่มีอยู่ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อธิบายได้ด้วยธรรมชาติ มิใช่สาเหตุเหนือธรรมชาติ จิตวิทยา หรือเรื่องเหนือธรรมชาติ
17. นวนิยายคติธรรม (Sub-Conscious) คตินิยมทางศิลปะ มุ่งแสดงความรู้สึกภายในของมนุษย์ อันเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก นักเขียนส่วนใหญ่ในสายนี้เป็นของฝรั่งเศส
18. นวนิยาย กึ่งอัตชีวประวัติ (Semi-Autobiography Novel) เรื่องราวกึ่งชีวิตที่เจ้าของประวัติเขียนเอง
19. นวนิยาย แฝงจริง (Key Novel) เสนอเรื่องราวของบุคคลจริง โดยใช้ชื่อสมมติ
(แหล่งอ้างอิง : พิมาน แจ่มจำรัส.  เขียน. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2550)
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งนวนิยายรัก ( Romance fiction) เป็นนิยายที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นแกนกลางของเรื่อง จะเน้นความรู้สึกของตัวละครเป็นสำคัญ นิยายแนวนี้เป็นที่นิยมมากในตลาดและพล็อตเกี่ยวกับความรักนี้ก็เกือบจะแทรก เข้าไปในนิยายทุกประเภทและยังแบ่งได้เป็นหมวดย่อยอีก ได้แก่
1.1 Romantic Drama – นิยายรักแบบแฝงแนวชีวิต ปรัชญา เสมือนชีวิตมนุษย์เดินดินทั่วไป พระเอกนางเอกอาจมีรักโลภโกรธหลง
1.2 Romantic Comedy – นิยายแนวรักแฝงความตลกขบขัน เนื้อหามุ่งคลายเครียดลงไป เช่น พระเอกเปิ่นๆ ฮาๆ
1.3 Romantic Period – นิยายรักย้อนยุคทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นแนวไทย จีน ญี่ปุ่นเรื่องราวความรักของคนในสมัยโบราณกาลที่ผ่านมาแล้ว
1.4 Romantic Paranormol – นิยายรักข้ามภพทั้งหลาย หรือนิยายรักผีๆ วิญญาณ
1.5 Romance – นิยายรักประเภทเจ้าหญิงเจ้าชาย
(อ้างอิงจาก : http://writer.dek-d.com/newbloodwriter/story/viewlongc.php?id=922605)
หรือประเภทอาจแบ่งประเภทของนวนิยายออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แบ่งตามแนวคิดในการเขียน ดังนี้ คือ
1.1) คลาสสิค (Classicism) คือเรื่องที่เขียนตามแนวคิดแบบเดิม โดยอาศัยเค้าโครงเรื่องจากประวัติศาสตร์ หรือวรรณคดีของชาติต่าง ๆ เช่น กรีก โรมัน จีน อินเดีย นวนิยายของไทยที่เขียนตามแนวคลาสสิค มักจะเป็นเรื่องสมมุติไม่เสมือนชีวิตจริง นิยมใช้อภินิหารในการแก้ปมของเรื่อง ตลอดจนการดำเนินเรื่อง
1.2) โรแมนติก หรือ จินตนิยม (Romanticism) คือเรื่องที่มุ่งให้ความสำคัญของอารมณ์ (emotion) ความรู้สึก (sentiment) และญาณสังหรณ์ (intuition) มากกว่าคุณค่าทางปัญญา บางครั้งก็เรียกว่า “นวนิยายพาฝัน” เนื้อหามักเกี่ยวกับ รัก โลภ โกรธ หลง และความอิจฉาริษยาของมนุษย์ นวนิยายแนวนี้จึงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาทุกยุคทุกสมัย
1.3) สัจนิยม หรือ อัตถนิยม (Realism) คือเรื่องที่เลียนแบบเหตุการณ์ จริง ๆ ในสังคมแล้วสอดแทรกจินตนาการของผู้เขียนลงไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตีแผ่แง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา โดยกล่าวถึงคนในลักษณะต่าง ๆ ในวงการอาชีพต่าง ๆ และคนในฐานะต่าง ๆ อย่างสมจริง เพื่อแสดงให้เห็นแก่นแท้ของชีวิตในสังคม ไม่เลือกว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นส่วนที่ดีงามหรือเป็นส่วนอัปลักษณ์ของชีวิต
1.4) ธรรมชาตินิยม (Naturalism) คือเรื่องที่มุ่งแสดงความสำคัญของธรรมชาติว่ามีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ เรืองประเภทนี้จึงเสนอแนวคิดที่สมจริงเช่นเดียวกับเรื่องประเภทสัจนิยม ต่างกันตรงที่ประเภทธรรมชาตินิยมมีแนวโน้มที่จะกล่าวถึงธรรมชาติฝ่ายต่ำของ มนุษย์มากกว่าธรรมชาติฝ่ายสูงของมนุษย์ คือมุ่งที่จะเสนอถึงชีวิตที่ถูกรังแก กดขี่ ความทุกข์ยาก แร้นแค้น ทรมานใจ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะตีแผ่แก่นแท้ของชีวิตมนุษย์อีกมุมหนึ่ง
1.5) เหนือธรรมชาติ (Surrealism) คือเรื่องที่แสดงความคิดเห็นของผู้แต่งในลักษณะฝันเฟื่อง โลดโผน หรือเกี่ยวกับภูตฝีปีศาจ ผีดิบคืนชีพ วิญญาณพยาบาท เวทมนตร์คาถา สิ่งลึกลับมหัศจรรย์
1.6) สัจนิยมใหม่ (Neo-realism) คือเรื่องที่สะท้อนสภาพชีวิตในสังคมที่
แท้ จริง มีรายละเอียดสอดคล้องกับเป้าหมายของการดำรงชีวิต พร้อมทั้งสอดแทรกแนวคิดในการพัฒนาสังคมอย่างมีอุดมการณ์ แนวคิดนี้พัฒนามาจากแนวคิดสัจนิยม ดังนั้นในการพัฒนานวนิยายสัจนิยมใหม่ย่อมเป็นไปตามสภาพของสังคมแต่ละท้อง ถิ่นแต่ละประเภท ซึ่งมีพื้นฐานทางสังคมแตกต่างกันไปตลอดจนมโนทัศน์ร่วมของสังคมย่อมแตกต่าง กัน แต่อย่างไรก็ตามนวนิยายแบบสัจนิยมใหม่ได้เสนอให้เห็นถึงการยอมรับโลกทัศน์ ของสังคมเป็นเกณฑ์ และนำมาเป็นแก่นของเรื่องมากกว่านิยมกลุ่มอื่น ๆ
1.7) สัญลักษณ์นิยม (Symbolism) คือเรื่องที่มีกลวิธีการเขียนในลักษณะเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นรูปธรรม แทนนามธรรม ไม่กล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะตรงไปตรงมา กลับใช้สัญลักษณ์แทนบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการจะกล่าวถึง อาจใช้แทนบางส่วนหรือใช้เรื่องทั้งเรื่องเป็นสิ่งแทนก็ได้
2) แบ่งตามลักษณะของเนื้อเรื่อง แบ่งได้ดังนี้ คือ
2.1) นวนิยายเชิงชีวประวัติ (Biographical Novel) ได้แก่ นวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องราวของตัวละครเอก ซึ่งมักได้เค้าโครงเรื่องมาจากเรื่องราวในชวิตจริงของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
2.2) นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ (Historical Novel) เป็นนวนิยายที่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตยุคสมัยใดสมัยหนึ่ง
2.3) นวนิยายแสดงข้อคิด (Themetic Novel) ได้แก่นวนิยายที่เนื้อหามุ่งแสดงความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยให้ตัวละครเอกแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจต่าง ๆ
2.4) นวนิยายล้อเลียน (Satires Novel) ได้แก่นวนิยายที่เนื้อหามุ่งล้อเลียน เยาะเย้ย หรือเสียดสีประชดประชันความเลวร้ายและความยุ่งยากในสังคม
2.5) นวนิยายผจญภัย (Novel of Adventure) ได้แก่นวนิยายที่มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องการต่อสู้ผจญภัยของตัวละครเอกในรูป แบบต่าง ๆ จนได้รับความสำเร็จโดยไม่คาดหมาย แล้วมีเรื่องสตรีและความรักเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
2.6) นวนิยายมหัศจรรย์ หรือ จินตนิยม (Novel of Fantasy) คือนวนิยายที่มีโครงเรื่องลึกลับ โดยผู้เขียนอาจจะจินตนาการเอาเอง หรือ ใช้ความฝันประเภทฟุ้งเฟ้อของผู้เขียน นำเรื่องราวเหล่านั้นมาผูกเป็นโครงเรื่อง โดยไม่มีเจตนาจะให้เป็นความจริง ผู้เขียนมีเป้าหมายให้เกิดความเพลิดเพลิน และจินตนาการแปลก ๆ แก่ผู้อ่านมากกว่าสาระอื่น ๆ เช่น นวนิยายภูตผีปีศาจ (Exorcism) ผู้เขียนพยายามเสนอความลึกลับเกี่ยวกับผูตผีและความมหัศจรรย์ของไสยศาสตร์ อันได้แก่ เวทมนตร์ คาถาอาคมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนอารมณ์ของผู้อ่าน แต่ก็มีผู้นิยมอ่านอยู่มาก เช่น เรื่องเกี่ยวกับ ผีดิบคืนชีพ วิญญาณพยาบาท เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นนิทานพิมพ์ขายสำหรับเด็ก ๆ) ส่วนนวนิยายประเภทมหัศจรรย์ และเหนือธรรมชาติอื่น ๆ ซึ่งเป็นจินตนาการลึกลับจากสังคมโบราณมาเป็นโครงเรื่อง
2.7) นวนิยายเกี่ยวกับท้องถิ่น (Novel of Soil) ได้แก่นวนิยายที่มีเนื้อหากล่าวถึงสถานที่สำคัญแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นบ่อเกิดของเหตุการณ์และตัวละครในเรื่อง
2.8) นวนิยายเป็นตอนต่อเนื่องกัน (Episodic Novel) ได้แก่นวนิยายที่กล่าวถึงเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน แต่มีความสัมพันธ์กันด้วยการใช้ตัวละครชุดเดียวกัน หรือมีแกนกลางของเรื่องเป็นแกนเดียวกัน
2.9) นวนิยายเชิงจิตวิทยา (Psychological Novel) ได้แก่นวนิยายที่มีเนื้อหากล่าวบรรยายถึงความรู้สึกและจิตใจของตัวละครเอกที่มีต่อ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต
2.10) นวนิยายเชิงปัญหา (Problem Novel) ได้แก่นวนิยายที่มีเนื้อหากล่าวถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและปัญหาชีวิตครอบครัว
2.11) หัสนิยาย (Humour Novel) ได้แก่นวนิยายที่มีเนื้อหามุ่งให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ มักเป็นเรื่องเบาสมอง
2.12) นวนิยายสังคมและการเมือง (Politics and Sociological Novels) คือนวนิยายที่มีโครงเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยปัญหาทางการเมือง ปัญหาทางเศรษฐกิจ การปกครอง ตลอดจนปัญหาการขัดแย้งของสังคม ในการดำเนินเรื่อง นักเขียนอาจจะใช้กลวิธีการดำเนินเรื่องอย่างแยบยลในการเสนอปัญหาดังกล่าว ผ่านตัวละครมาสู่ผู้อ่าน คือให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหาทางสังคม การขัดแย้งทางความคิดทางการเมือง นักเขียนอาจจะเสนอในรูปการถกเถียงเกี่ยวกับปรัชญาการเมืองและลัทธิ ของตัวละครในเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านรับรู้แนวทางด้านการเมือง หรืออาจจะเสนอในรูปการต่อสู้ทางการเมืองของตัวละคร
2.13) นวนิยายลูกทุ่ง (Peasant Novel) คือนวนิยายที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสภาพชีวิตในสังคมชนบท ซึ่งผู้เขียนมุ่งที่จะเสนอภาพสังคม แนวคิด ปรัชญาชีวิตของสังคมอีกมุมหนึ่ง เป็นการสะท้อนสภาพชีวิตที่ยากแค้น การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการดำเนินชีวิตเพื่อการอยู่รอด หรืออาจจะเสนอภาพชีวิตของสังคมชนบทที่มีความรื่นรมย์ท่ามกลางธรรมชาติ และสังคมที่ไม่ดิ้นรนมากนักก็ได้
2.14) นวนิยายต่างแดน (Exotic Novel) คือนวนิยายที่ใช้ฉาก หรือสถานที่ต่างประเทศในการดำเนินเรื่อง ฉะนั้น คตินิยมจึงมีลักษณะประสมประสานระหว่างแนวคิดแบบไทยและต่างประเทศอยู่มาก ผู้เขียนมุ่งจะเปรียบเทียบคตินิยมและปรัชญาชีวิตของสังคมนั้น ๆ ด้วย นอกจากนี้นวนิยายต่างแดนยังมีส่วนในการเสนอฉาก สถานที่ต่างประเทศ เป็นลักษณะสารคดีนำเที่ยวอยู่บ้างซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการชักนำให้ผู้อ่าน สนใจในเรื่องราวอีก
2.15) นวนิยายอาชญากรรม และนักสืบ (Detective and Crime Novel) เป็นนวนิยายที่ผู้เขียนผูกโครงเรื่องให้ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน ซ่อมปม เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความระทึกใจ สะเทือนอารมณ์ไปตามตัวละครและเนื้อเรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจารกรรม การสืบสวน นวนิยายประเภทสืบสวนนี้ในสมัยแรก ๆ ได้แปลมาจากตะวันตก
2.16) นวนิยายอิงศาสนา (Moral Novel) คือนวนิยายที่มุ่งเสนอสาระทางจริยธรรมแก่สังคมแต่ก็ไม่ได้เขียนเป็นแบบเทศนา โวหาร และกลับผูกเรื่องเป็นนวนิยาย มีตัวละคร เพื่อให้ผู้อ่านจับประเด็นสำคัญของเรื่องเอาเอง หรือผู้เขียนพยายามเสนอแนวคิด คติธรรม จริยธรรม โดยผ่านพฤติกรรมของตัวละครในเรื่องสู่ผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย โครงเรื่องส่วนใหญ่จะนำมาจากเรื่องราวที่มีอยู่ในศาสนา และผู้เขียนนำมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้ตัวละครเหล่านั้นมีบทบาทน่าสนใจ
2.17) นวนิยายวิทยาศาสตร์ (Science Novel) เป็นนวนิยายที่เกี่ยวกับการค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ความตื่นเต้นมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์
(แหล่งอ้างอิง : https://www.l3nr.org/posts/413777)
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร