ฐานหัวเรื่องภาษาไทยของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

:mrgreen: ชีวิตในการทำงานประจำทุกวันของบรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่ หรือ Cataloger ในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการทำงาน งานวิเคราะห์หมวดหมู่และการให้หัวเรื่องจึงต้องพัฒนาตามเทคโนโลยีไปด้วย หากเราเป็น Cataloger รุ่นเก่า (ประมาณ 40 up 😎 ) คู่มือที่เราเคยร่ำเรียนและใช้ในการทำงานคือคู่ มือการให้หัวเรื่องโดยทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในห้องสมุด เช่น  Library of Congress Subject Headings จัดทำโดย หอสมุดรัฐสภา อเมริกัน หนังสือ Sear’s List of Subject Headings จัดทำโดย Westby สำหรับการให้หัวเรื่องภาษาไทยมีหนังสือคู่มือที่สำคัญ คือหนังสือหัวเรื่องสำหรับภาษาไทย จัดทำโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา คู่มือการให้หัวเรื่องจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดเนื้อหาของหนังสือ เพื่อ การจัดเก็บสารนิเทศและการค้นสารนิเทศ
😛 อย่างที่กล่าวข้างต้นด้วยผลกระทบของเทคโนโลยี จากหนังสือคู่มือที่เป็นเล่มๆ ก็เริ่มพัฒนาเป็นฐานข้อมูล เช่น หนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่พ.ศ. 2528 ได้พัฒนาเป็นระบบฐาน ข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการใช้ระบบโปรแกรมสำเร็จรูป CDS/ISIS ซึ่งเป็นฐานข้อมูลแบบ Stand Alone และในปี พ.ศ. 2550 คณะทำงานฯ ได้จัดทำโครงการพัฒนาฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์เพื่อให้บริการจัด เก็บและสืบค้นผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ได้จากที่ต่างๆ ข้อมูลถูกต้องตามมาตรฐานการลงรายการแบบ MARC21 มีความทันสมัยตลอดเวลา และสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น (อ้างอิงจาก : https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php?action=login)
🙄 ซึ่งในการจัดทำหัวเรื่องในฐานในปัจจุบันนั้นจะมีตัวแทนมหาวิทยาลัยของรัฐ 34 แห่ง ตัวแทนมหาวิทยาลัยเอกชน 3 แห่ง รวมเป็นคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 37 สถาบัน ร่วมประชุมเพื่อพิจารณาหัวเรื่องใหม่ ตรวจสอบความถูกต้อง เพิ่มเติม แก้ไข และปรับปรุงหัวเรื่องเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ให้ทันสมัยตลอดเวลา
การใช้งานฐานข้อมูลมีลักษณะการใช้ คือ

  1. การใช้งานในฐานะคณะทำงานฯ ซึ่งสามารถตรวจสอบความถูกต้อง เพิ่มเติม แก้ไข และปรับปรุงหัวเรื่อง
  2. การใช้งานในฐานะผู้ปฏิบัติงานของสถาบันที่เป็นคณะทำงานหรือสมาชิก
  3. การใช้งานในฐานะผู้สนใจทดลองใช้ฐาน หรือ Visitor
หัวเรื่องที่กำหนดขึ้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย หัวเรื่องส่วนใหญ่ประกอบด้วยรายการต่อไปนี้
  1. หัวเรื่องภาษาไทย
  2. หัวเรื่องภาษาอังกฤษ
  3. เลขหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และ/หรือ ระบบทศนิยมดิวอี้
  4. คำอธิบายการใช้
  5. รายการโยง

(อ้างอิงจาก : https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/manual.html)
ปัจจุบันเราสามารถเข้าใช้ฐานได้จาก URL นี้ค่ะ https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php?action=login
ท่านใดสนใจทดลองใช้กันดูได้ 😆

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร