สามสาวตอกเหล็ก


คำว่าตอกเหล็ก หมายถึงการพิมพ์ดีดในสมัยก่อน ซึ่งเพื่อนๆ ใช้เรียกกันเล่นๆ ให้สนุกๆ ดิฉันได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2522 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่พิมพ์ดีด สังกัดงานธุรการ ณ แผนกห้องสมุดเสียงโสตทัศนูปกรณ์ (สถาบันวิจัยในปัจจุบัน) ดิฉันปฏิบัติงานในหน้าที่เจ้าหน้าที่บันทึกข้อความ เอกสารงานราชการแทบทั้งหมด ซึ่งดิฉันเป็นน้องใหม่ที่พึ่งเข้าไปโดยมีพี่จิราภรณ์ พี่บุญตา เป็นรุ่นพี่ที่คอยสอนงานให้น้องๆ ตั้งแต่เริ่มเข้าไปทำงานใหม่ๆ จนกระทั่งห้องสมุดได้มีตึกใหม่ ได้ย้ายงานไปสังกัดอยู่ที่งานเทคนิค ก็มีหน้าที่พิมพ์ทุกอย่างที่เป็นงานพิมพ์ดีด ซึ่งพิมพ์ดีดในสมัยนั้นเป็นพิมพ์ดีดเหล็กธรรมดา แป้นพิมพ์มีถึง 7 แถว 84 ปุ่ม และเป็น 2 ชั้น มีลักษณะเป็นแป้นพิมพ์ แล้วใช้คานกระทบลงบนผ้าคาร์บอน ทับลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง
ในการพิมพ์งานแต่ละงานต้องใช้เวลาพิมพ์ ต้องใช้แรงน้ำหนักของนิ้วทุกนิ้วเวลาพิมพ์ดีด งานในงานเทคนิค จะเป็นงานพิมพ์จำพวกบัตรรายการ พิมพ์กระดาษไข พิมพ์บัตรกำหนดส่ง เป็นต้น งานดิฉันเป็นงานต้องร่วมมือร่วมแรงกันอย่างสามัคคีกับงานพิมพ์ ต้องอ่านลายมือของคนที่เป็นเจ้าของงาน บางคนก็เขียนตัวบรรจง บางคนก็เขียนอ่านไม่รู้เรื่อง แต่ก็ช่วยกันพิมพ์ออกมาด้วยดี
ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ดีดเหล็กธรรมดา พัฒนามาเป็นเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าสามารถพิมพ์ตัวหนังสือได้มากขึ้น และออกแรงกดน้อยลงแป้นพิมพ์จะคล้ายแป้นคีย์บอร์ด มี Shift, Shift Lock, Alt มีตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก (ใช้ปุ่ม Shift, Shift Lock ในภาษาอังกฤษ) มีอักษรสองแถว มีปุ่มลบ (delete) ในกรณีที่พิมพ์ผิดโดยจะใช้หลักการ ใช้เทปติดหมึกออกมาจากกระดาษ ทำให้งานพิมพ์คล่องตัวขึ้น และรวดเร็วขึ้น
หลังจากนั้นไม่นานก็มีเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานซึ่งเราก็ต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ ได้รับการอบรมคอมพิวเตอร์หลายต่อหลายครั้ง และมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงาน สามารถเก็บข้อมูลการพิมพ์ต่างๆ ไว้ได้ ซึ่งมีข้อแตกต่างจากเครื่องพิมพ์ดีดเหล็ก และเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลมาใช้ต่อได้ ในยุคปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์สำนักงานที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เครื่องพิมพ์ดีดเหล็กและเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้ากลายเป็นของเก่าที่ถูกเก็บเอาไว้เป็นอนุสรณ์ และเมื่อดิฉันมีปัญหาเรื่องสุขภาพเวลาขึ้นลงบันไดจึงได้ขออนุญาตหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ฯ นำเอางานที่รับผิดชอบไปปฏิบัติงานที่ชั้น 1 จนกระทั่งฝ่ายบริการขาดบุคลากรที่จะปฏิบัติงานจึงได้ย้ายฝ่ายไปสังกัดที่ฝ่ายบริการจนถึงปัจจุบัน ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ห้องสมุดฯ และตรวจประตูทางเข้า-ออก หอสมุดฯ ในช่วงเวลา 8.30 น. ถึง 12.30 น. ทุกวันจันทร์-วันพฤหัสบดี ช่วยแนะนำการเข้าใช้ห้องสมุดว่าต้องปฏิบัติอย่างไร และต้องทำอย่างไรบ้าง เมื่อต้องการเข้าใช้ห้องสมุด ส่วนในช่วงเวลา 14.00 น.ถึง 16.30 น. ต้องไปปฏิบัติหน้าที่งานบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ที่รับผิดชอบหน้าที่พิมพ์ดรรนีวารสารทางวิชาการ ทำให้มีความเชี่ยวชาญในงานมากขึ้น

One thought on “สามสาวตอกเหล็ก

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร