สูตรคำ Pig Latin

หนูกาญพูดเรื่องหมูๆ (Swine)  แต่พี่ขอพูดเรื่อง Pig …
วันนี้ คำที่จ่าหัว Blog ไม่ได้เป็นการมาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน ๆ น้อง ๆ เหมือนอย่างเคย เพราะได้เห็นคำนี้ แล้วไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน
คำนี้เป็นคำที่พบใน Google Scholar  ภาษาไทย ในที่ที่ภาษาอังกฤษเป็นคำว่า Advanced Scholar Search   พอให้ Scholar  แสดงหน้าเป็นภาษาไทย กลายเป็น  สูตรคำ  Pig Latin  ทำไมไม่เป็น การค้นชั้นสูง   ก็ติดใจเลยว่า ทำไม?  คิดเอาว่าในนัยสำคัญ ก็น่าจะหมายความถึง Advanced Search  แต่น่าจะมีอะไรที่ลึกกว่านั้น  ทีแรกตั้งใจว่าจะหาข้อมูลแล้วนำมาเล่าลง blog  แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้  หาอ่านก็เป็นภาษาแบบนักคอมพิวเตอร์ ไม่เข้าใจ เลยพาลขี้เกียจ จึงขอส่งขึ้น blog มาเพื่อให้สมาชิก ช่วยหา หรือ ผู้รู้ข้างๆ หัวหน้าฝ่ายช่วยตอบที
clip_image002

3 thoughts on “สูตรคำ Pig Latin

  • เนื่องจากคุณสมเกียรติงานเข้าทั้งสัปดาห์ เลยขอตอบแทนไปก่อนนะ … และลองดู
    Pig Latin มีวิธีการสร้างคำโดยสับเปลี่ยนตำแหน่งลำดับตัวอักษรของคำ และเพิ่มพยางค์ที่ไม่มีความหมายลงไป โดยพื้นฐานของ Pig Latin มีรูปแบบด้วยการนำอักษรตัวแรกของคำไปใส่ที่ตำแหน่งสุดท้าย และเติม -ay ต่อลงไป เช่น ouyay ankay alktay igpay Atinlay เท่ากับ You can talk Pig Latin.
    กลุ่มคนที่ใช้ภาษาท้องถิ่นและมีคำชำนาญ ใช้วิธีการสร้างคำที่ซับซ้อนขึ้น โดนการนำสระหรือสระผสมตัวสุดท้ายไปใส่ไว้ที่ตัวแรก คำว่าา latin = Inlatay หรือนำสระ หรือสระผสมตัวแรก และส่วนที่เหลือไปใส่ไว้ที่ตำแหน่งแรก Latin = Atinlay คำแสลงทั่วไปสร้างจาก Pig Latin คำว่า amscry = scram และ ixnay = nix
    ทั้งหมดได้จากการอ่านวิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาการสร้างคำและความหมายของคำแสลงในพจนานุกรมฉบับมติชน ของคุณรัชนี ศิริไสยาสน์ จากรั้ว มศว. เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากชอบเรื่องราวของ “คำ” พอมีงานแบบนี้ให้เห็นจึงชอบอ่านและเก็บไว้ๆ ไม่นึกว่าจะต้องใช้ตอบ พอมีคนสะกิดจึงคุ้ยๆ จากกองมาได้
    เรื่องนี้จะจำแม่นเพราะจะเอาไปเทียบเคียงกับเมื่อสมัยมัธยมปลาย ชอบคุยกับเพื่อนๆคล้ายๆ แบบนี้ คนเผยแพร่บอกว่าได้มาจากพี่ที่ธรรมศาสตร์อีกที ไม่รู้ว่าใครเคยพูดบ้าง แต่ถามหลายคนแล้วไม่เคยมีใครเล่นแบบเรา เช่น จะพูดว่า “อะไร” ก็จะพูดเป็น “อะคะไรไค” แต่เวลาคุยกันแบบรัวๆ เร็วๆ พวกเราจะรู้กันเฉพาะกลุ่ม ไม่มีใครรู้เรื่องสักคน แต่คุยไม่นานก็เลิกเพราะทุกคนลงความเห็นว่า “เมื่อยปาก”
    เท่าที่เคยเห็นในมุมของนักคอมพิวเตอร์ก็มีการพูดเหมือนกัน

  • เคยอ่านเจอเขาอธิบายไว้แบบปองว่า แต่อ่านแล้วสับสวิชต์ในสมองไม่ถูก พอปองบอกซ้ำเลยอ่านเอาเรื่องใหม่ จึงพอเข้าใจได้ (แต่ทำไปทำไม?) ในกรณีนี้ เขาเอาไปใช้ประโยชน์ในการค้นข้อมูลของ google scholar โดยให้มันสามารถกลับหน้ากลับหลังของคำได้เช่นนั้นหรือเปล่า..ลองดูมั๊ย? แต่ในชีวิตประจำวันนะ พี่ไม่เอาแน่ พูดปกติยังทำไม่ค่อยจะได้ดีเลย..ขอบคุณค่ะ

  • พี่พัชเขาบอกว่า เป็นคำแสลงเฉพาะกลุ่มที่ไม่อยากให้คนอื่นรับรู้ คงแบบที่พวกหนูคุยกันสมัยรุ่นๆ มันน่าจะค้นได้ลึกล้ำมั๊ง เย็นนี้ตัวช่วยมา จะลองเข้าไปดูว่าเป็นไงแล้วจะมาเขียนต่อค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร