การทำ AAR หลังเสร็จสิ้นโครงการ
ปีนี้ตัวผู้เขียนรับผิดชอบเป็นประธาน”โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างสื่อเพื่อส่งเสริมการอ่านของเด็ก” ที่จัดเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ปีนี้นับว่าจัดล่าช้ากว่าทุกปี(ซึ่งทุกปีจะจัดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน) เนื่องจากติดขัดในเรื่องของวิทยากรที่จะมาอบรมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ กว่าจะลงตัวในที่สุดก็ได้อาจารย์ชีวัน วิสาสะ และ คุณวิภาวี ฉกาจทรงศักดิ์ การดำเนินโครงการก็จะเหมือนกันทุกปี แต่ที่เพิ่มขึ้นมาในปีนี้คือ การทำ AAR หลังเสร็จสิ้นโครงการ ผู้ร่วมโครงการเริ่มทำหน้างงๆๆว่าคืออะไร
ดังนั้นก็เลยจะมาเล่าสู่กันฟังว่า AAR คืออะไร
AAR หรือ After action review หรือ การทบทวนหลังปฏิบัติ คือ
– ทบทวนเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น
– ทำไมจึงเกิด
– รักษาจุดแข็งปรับจุดอ่อนอย่างไร
– ทำให้ทีมได้เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลว
– ไม่มีการตำหนิหรือยึดติดกับปัญหา
– ต้องแบ่งปันความรู้ที่ฝังลึกในคนไปสู่ความรู้ชัดแจ้ง
การทบทวนหลังปฏิบัติ After action review (AAR) มีประโยชน์ดังนี้
– ช่วยให้สมาชิกและทีมได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน
– สามารถทำได้ทันทีหลังเหตุการณ์
– เหตุการณ์ที่ทำควรมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดตามเป้าหมายที่วางไว้ให้ชัดเจน
– สามารถวัดผลดำเนินงานได้
– แนวทางการทำการทบทวนหลังปฏิบัติ After action review (AAR)
– มีการประชุมการทบทวนหลังปฏิบัติ After action review (AAR) ขณะที่ผู้เกี่ยวข้องอยู่ จำเหตุการณ์ได้ บทเรียนที่ได้รับสามารถประยุกต์ใช้ได้ทันที ควรระวังคือการยับยั้งสมาชิกของบุคคลภายนอก
– สร้างบรรยากาศที่เหมาะสม เพื่อเปิดใจที่จะเรียนรู้ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไช้การประเมินผลงาน ไม่วิพากวิจารณ์กัน ไม่มียศไม่มีตำแหน่ง
– จัดให้มี Facillitator ช่วยให้ทีมได้เรียนรู้ ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ระงับการกล่าวโทษ
– ทบทวนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ที่ชัดเจน เพื่อให้เข้าใจตรงกันและได้ผลตามที่ต้องการ
– ตอบคำถามสิ่งที่คาดหวังให้เกิดขึ้นคืออะไร สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร ทำไมจึงมีความแตกต่าง ได้เรียนรู้อะไร เพื่อวันต่อไปจะได้ทำให้ดีขึ้น
– ทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้น โดยการค้นหาความจริงเพื่อดูว่ามีปัญหาอะไรบ้าง
– เปรียบเทียบแผนกับความเป็นจริง
– บันทึกผลการประชุม AAR ในประเด็นที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ของทีม
– การแบ่งปันการเรียนรู้
ทำไม AAR จึงได้รับความสนใจมากมายนัก จุดเด่นของ AAR มีอะไรบ้าง
1. ทำให้เรียนรู้ว่าในการทำงานต่างๆ ไม่ควรชื่นชมความสำเร็จแต่เพียงด้านเดียว ต้องยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย และควรให้ความสนใจมากกว่าความสำเร็จด้วยซ้ำ เพราะ ปัญหาคือโอกาสในการพัฒนาคนเพื่อพัฒนางานนั่นเอง
2. ฝึกการรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำของเพื่อนร่วมงาน ที่อาจทำให้คุณได้รู้ว่า “ทุกปัญหามีทางออก” นั้นเป็นอย่างไร
3. ฝึกการทำงานเป็นทีม
4. สามารถใช้เทคนิคนี้กับงานทุกอย่าง ไม่ ว่าจะเป็นงานประจำที่ดูเหมือนว่าไม่สำคัญ เช่น การรับโทรศัพท์ การจัดประชุม ไปจนถึงโครงการระยะยาวที่ได้รับเงินสนับสนุนหลายพันล้านบาท
5. ผู้ที่เข้าร่วมคือเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมแผนก หรือทีมงาน ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจาก Peer Assist ที่เป็นการขอคำแนะนำจากผู้รู้ภายนอกกลุ่ม
วิธีการในการทำ AAR ก็ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงแต่คุณตอบคำถาม 4 ข้อนี้ และทำให้ครบ 7 ขั้นตอน
4 คำถามกับ AAR คือ
1. สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงานคืออะไร
2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร
3. ทำไมจึงแตกต่าง
4. สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการลด/แก้ความแตกต่างคืออะไร
7 ขั้นตอนกับ AAR คือ
1. ควรทำ AAR ทันทีหรือเร็วที่สุดหลังจากจบงานนั้นๆ
2. ไม่มีการกล่าวโทษ ซ้ำเติม ตอกย้ำซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง มีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง
3. มี “คุณอำนวย” คอยอำนวยความสะดวก กระตุ้น ตั้งคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของตน
4. ถามตัวคุณเองว่าผลที่คาดว่าควรได้รับคืออะไร
5. หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร
6. ความแตกต่างคืออะไร ทำไมจึงแตกต่าง
7. จดบันทึก เพื่อเตือนความจำว่า วิธีการใดบ้างที่คุณได้เคยนำมาแก้ปัญหาแล้ว
ใครควรจะใช้ AAR
เครื่องมือนี้เหมาะสมกับทุกทีมที่ต้องการเรียนรู้จากการทำงาน แต่ละโครงงานควรใส่ใจและเข้าร่วมในกิจกรรม AAR และทุกเสียงในทีมมีความหมายและความสำคัญ
เมื่อใดที่ควรใช้ AAR เป็นเครื่องมือ
เครื่องมือนี้สามารถแนะนำทีมงานในการชี้นำ AAR อย่างสั้นๆ หลังจากโครงการหรือโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว หรืออาจจะใช้ระหว่างการดำเนินการก็ได้ เพื่อให้ทีมงานได้รับประโยชน์
ควรใช้เวลาใดและต้องใช้ทรัพยากรใดบ้าง
AAR อย่างเป็นทางการจะชี้แนะด้วย “คุณอำนวย” หรือ ถ้าเป็น AAR ที่ไม่เป็นทางการสามารถนำโดยสมาชิกในทีมงานของโครงการ การทบทวนอย่างเป็นทางการอาจใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง แต่ถ้าไม่เป็นทางการอาจจะใช้เวลาเท่าที่ทีมงานจัดสรรได้ การสนทนาอาจสั้น ประมาณ 15 นาที อาจจะชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของงานและกลยุทธ์ที่จะทำให้ประสบ ผลสำเร็จ
ส่วนด้านล่างนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำ AAR ของโครงการค่ะ
ผลกระทบ/ปัญหา/อุปสรรคในการจัดกิจกรรม และแนวทางการแก้ไขสำหรับครั้งต่อไป
ข้อ | ปัญหาอุปสรรค | แนวทางการแก้ไข/พัฒนา ต่อไป |
1 | ช่วงเวลาการจัดโครงการไม่เอื้ออำนวยให้กับผู้เข้าร่วมอบรม | ระยะเวลาการอบรมที่เลื่อนออกไปเป็นผลกระทบจากติดขัดในเรื่องของวิทยากรที่จะมาอบรมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนั้นในครั้งหน้าควรมีรายชื่อวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญไว้อย่างน้อย 3-5 คนเพื่อว่า หากท่านใดติดขัดจะได้ติดท่านอื่น |
2 | ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ แต่ไม่เข้าร่วมโครงการในวันที่จัด | 1. หากผู้เข้ารับการอบรมการไม่เข้าร่วมโครงการ ควรให้ติดต่อกลับมาและ/หรือแจ้งชื่อผู้อื่นที่มาแทน 2. ควรมีการตรวจสอบข้อมูลและพูดคุยทำ ความเข้าใจกับผู้อบรมที่สมัครเข้าร่วมโครงการกรณีถ้าไม่มาเข้าร่วมในวันที่จัด ต้องดำเนินการอย่างไร |
3 | การประชาสัมพันธ์โครงการยังไม่ครอบคลุมในทุกสื่อ | ปัญหาการประชาสัมพันธ์โครงการ ดำเนินการแก้ไขโดยเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นในหลายๆช่องทาง เช่น การทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงาน |
4 | 1.ความร่วมมือร่วมใจกันของบุคลากรในการทำงาน 2.การประสานงานระหว่างคณะกรรมการในการจัดโครงการ 3.ปัญหาความไม่เข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติงานของบุคลากร |
1. บางครั้งผู้รับผิดชอบโครงการเองคิดเอง ทำเอง สรุปเองคนเดียวก็ไม่สามารถมองให้ครบในทุกด้านได้ ควรจะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ 2. ปัญหาความไม่เข้าใจในรายละเอียดการปฏิบัติงานของบุคลากร ดำเนินการแก้ไขโดยจัดทำใบมอบหมายงานทุกครั้งก่อนปฏิบัติงานและควรมีการพูดคุยชี้แจงทำความเข้าใจก่อนปฏิบัติงานเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน |
5 | การคิดกิจกรรมในโครงการให้มีความหลากหลายและมีความแตกต่างนั้น ทำได้ยาก เพราะเป็นกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม เฉพาะด้าน | 1. ควรเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดโครงการให้มีความน่าสนใจ เพื่อจูงใจ การเข้าร่วมอบรม 2. การเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย |
6 | การจัดโครงการแต่ละครั้งควรมีการสำรวจบุคลากรที่สะดวกในการเข้าร่วมเป็นคณะทำงานโครงการ และกำหนดมอบหมายภาระงานให้ชัดเจน | โดยจัดทำใบมอบหมายงานทุกครั้งก่อนปฏิบัติงานและควรมีการพูดคุยชี้แจงทำความเข้าใจก่อนปฏิบัติงานเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน |
7 | บุคลากรหอสมุดที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ | เวียนเรื่องการจัดโครงการให้ทราบทุกครั้ง จะได้พิจารณาถึงความเหมาะสมในการไม่เข้าร่วมโครงการของบุคลากรภายในงาน |
8 | ควรมีการทำ AAR ทุกโครงการของหอสมุดฯ | อาจจะไม่ใช่การต้องมานั่งคุยสรุปกันทุกครั้งแต่อาจจะจัดเข้าไปในวาระการประชุมของงานในทุกเดือนแล้วรวมสรุปหลายๆโครงการหรือสำหรับบุคลากรที่ไม่ถนัดในการพูดก็สามารถถ่ายทอดผ่านการเขียนก็ได้ |
แหล่งอ้างอิง : ศราวุธ จ้อน อยู่เกษม. การทบทวนหลังปฏิบัติ After action review (AAR). สืบค้นจาก : https://www.gotoknow.org/posts/70276 วันที่ 10 สิงหาคม 2560
การทบทวนหลังทำงาน หรือหลังปฏิบัติ หรือหลังกิจกรรม (After Action Review-AAR). 11 February 2014
สืบค้นจาก : https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/144-km-knowledge/3282-after-action-review วันที่ 10 สิงหาคม 2560
AAR (After action review) คือ… สืบค้นจาก : http://aidsthai.org/uploads/files/AARคืออะไร.pdf วันที่ 10 สิงหาคม 2560