การเปลี่ยนแปลง

:mrgreen: สภาพการทำงานของบุคลากรต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น ความรู้วิทยาการที่เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าพัฒนาจากเดิมมากส่งผลให้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และระบบงานต้องปรับเปลี่ยนๆ การพัฒนาในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การเดินทาง การขนส่ง ระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่สะดวก รวดเร็ว กว้างไกล นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ การเงิน และการเมืองยังส่งผลกระทบต่องานในแต่ละหน้าที่งานต้องปรับการรับรู้ทัศนคติต่องาน และพัฒนาตนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่น
ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง
ผลลัพธ์ต่อส่วนบุคคล 1) รับรู้และตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง 2) เรียนรู้วิธีปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผลลัพธ์ต่อกลุ่มงาน/สถาบัน – ปรับปรุง พัฒนา พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างก้าวหน้าและยั่งยืน
😆 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตคือ เกิด เจริญวัย แก่ เจ็บ ตาย สิ่งไม่มีชีวิตย่อมมีการย่อยสลาย เสื่อม ช้าหรือเร็วแล้วแต่ชนิด  เหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่เกิดขึ้น องค์กรก็เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเพื่อความอยู่รอดอยู่ ตลอดเวลา ในองค์กรจะพบวงจรชีวิตที่คล้ายกับวงจรชีวิตของคน ทั้งนี้เพราะคนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญขององค์กร เนื่องจากบุคลากรในทุกระดับขององค์กรจะต้องผ่านการปรับเปลี่ยน เข้า ออก โยกย้าย
😎 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมต้องมีแรงต้านหรือการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งแรงต้านเป็นธรรมชาติและเป็นสภาวะที่ดีเป็นภาพบวก
รูปแบบของแรงต้าน
1. เปิดเผยและทันทีทันใด – การบ่น ตำหนิ ร้องทุกข์ เกิดกิจกรรมเชิงต่อต้าน
2. เป็นนัยให้รู้และค่อยเป็นค่อยไป – การสูญเสียความจงรักภักดี และแรงใจในการทำงาน – มีอัตราเพิ่มความบกพร่องและข้อผิดพลาดในการทำงาน – มีอัตราการลา-ขาดงานเพิ่มมากขึ้น – ปฏิกิริยาจากแหล่งต่างๆ อาจเกิดขึ้นในลักษณะการแทรกซึม ทำให้การเชื่อมโยงต้นเหตุและผลลัพธ์ทำได้ยาก เพราะไม่ชัดเจน
แหล่งที่มาของแรงต้านการเปลี่ยนแปลง
1. ส่วนบุคคล – กลัวสิ่งที่ไม่รู้ – เลือกรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์ – กลัวผลกระทบทางลบ ต่อสภาพทางเศรษฐกิจ ต่อความมั่งคงในหน้าที่การงานและสถานภาพทางสังคม – นิสัยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต
2. ส่วนองค์กร – ลักษณะของโครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนยาก – ลักษณะของกลุ่มที่เคยชินกับพฤติกรรมต่างๆ – การเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะบางสิ่ง บางจุด – เกิดภาวะคุกคามต่อวิธีกระจายทรัพยากรที่เปลี่ยนไป เช่น ความสัมพันธ์และฐานอำนาจที่มีอยู่เดิม, ความเชี่ยวชาญหรือทักษะในงานปัจจุบันที่ต้องปรับเปลี่ยน
การลดการต่อต้าน (Dealing with resistance)
ในการลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้น มีกลยุทธ์อยู่ 6 ประการ ที่สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ได้แก่
1. ให้การศึกษาและใช้การสื่อความหมาย (Education and communicating) การสื่อความหมายช่วยให้พนักงาน เข้าใจถึงเหตุผล ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลดการต่อต้านลง
2. การมีส่วนร่วม (Participation) เป็น เรื่องยากที่คนซึ่งมีส่วนร่วมตัดสินใจให้มีการเปลี่ยนแปลงจะออกมาต่อต้านต่อ สิ่งที่ตนทำ ดังนั้นก่อนทำการเปลี่ยนแปลง ใด ๆ ต้องเชิญคนที่เห็นว่าต่อต้านให้เข้ามาอยู่ในกระบวนการตัดสินใจ นอกจากนี้ถ้าผู้นั้นมีความเชี่ยวชาญ และได้ใช้ความสามารถดังกล่าวเข้าร่วม ในฐานะบุคคลสำคัญของงานด้วยแล้ว
3. การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนต่าง ๆ (Facilitation and support) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงอาจหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ เพื่อลดการต่อต้านให้น้อยลง เช่น กรณีพนักงานรู้สึกกลัวและมีความกระวนกระวายใจต่อการเปลี่ยนแปลงสูง ควรจัดให้มีบริการให้คำปรึกษา และการบำบัดช่วยเหลือ ให้การฝึกอบรมใหม่ ให้ศึกษาดูงานเพื่อปรับตัว เป็นต้น
4. ใช้การเจรจาต่อรอง (Negotiation) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถใช้การแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งที่มีค่ากับการไม่ต่อต้าน เช่น การให้รางวัลตอบแทน เป็นต้น แต่ข้อเสียคือ สิ้นเปลือง ไม่ยุติธรรม คนอื่นใช้
5. การใช้กลวิธีปรุงแต่งข้อเท็จจริงและการดึงมาเป็นพวก (Manipulation and co-optation) การใช้กลวิธีนี้ ได้แก่ การปรุงแต่งข้อเท็จจริงให้น่าสนใจเชื่อตาม จนลดการต่อต้านลง ส่วนการดึงเข้ามาเป็นพวก (Co-optation) เป็นวิธีดึงดูดใจและให้มีส่วนร่วมด้วยวิธีการ เช่น อาจซื้อ (Buy off) ผู้นำที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงด้วยการให้ผลตอบแทนพิเศษ
6. ใช้การข่มขู่บังคับ (Coercion) ต่อผู้ที่ต่อต้าน เช่น ขู่ว่าจะย้าย จะไม่ได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้า จะถูกประเมินผลงานให้ต่ำลง หรือจะระบุด้านลบในหนังสือรับรอง เป็นต้น วิธีนี้ควรหลีกเลี่ยงและใช้เป็นวิธีสุดท้ายเมื่อใช้วิธีอื่นหมดแล้วแต่ไม่ ได้ผล
 
แหล่งอ้างอิง : วิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) จากการอบรมหลักสูตรออนไลน์ ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ (Organizational Change and Development) ออนไลน์เข้าถึงได้จาก :  https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/organizations-change.htm

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร