R to R ความฝันอันบรรเจิด

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะสำหรับบุคลากรห้องสมุด จัดโดย หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ในหัวข้อ “งานประจำสู่งานวิจัย (R to R)” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ฟังไปอย่างไม่มีหลับ เพราะการบ้านจะวิ่งหาเป็นระยะๆ แต่ละคนต้องคอยคิดๆ และคิด ว่าจะตอบวิทยากรว่าอย่างไร เป็นที่สนุกสนามน เร้าใจ ตลอดการบรรยาย แม้ว่าชีวิตจะผ่านการทำวิจัยมาแล้วหลายครั้ง รวมถึงการทำวิทยานิพนธ์ แต่จริงๆ แล้ว R to R ได้ทำน้อยมาก จำได้ว่าทำไปเรื่องเดียว แบบกระดักกระเดิด
การทำ R to R
วิทยากรท่านว่า จะทำ R to R เราต้องมี “เอ๊ะ” เอ๊ะโน่น เอ๊ะนี่ เพื่อดูว่าเราจะทำอะไร โดยเรื่องที่ทำในปัจจุบัน มักจะเป็นจำพวก รูปแบบ แนวทาง นวัตกรรม การสร้าง การพัฒนา หรือการพัฒนาวิธีการ แต่อาจมองว่าสิ่งที่ทำไป หรือของเดิมอาจไม่ดี จึงต้องมองหาแบบใหม่ หรือแนวทางใหม่ เป็นลักษณะ R & D ซึ่งไม่ใช่นวัตกรรมบนความอยาก หรือความต้องการของเรา (ห้องสมุด) แต่ต้องเก็บข้อมูลกับผู้ใช้บริการ / ผู้เกี่ยวข้อง ก่อนจะสร้างนวัตกรรม
บทที่ 1  บทนำ 
# เรื่องนี้สำคัญอย่างไร – R to R เป็น Action research เพื่อแก้ปัญหาการทำงาน หรือพัฒนางานให้ดีขึ้น
# ใครบอกว่าสำคัญ – คนบอก เอกสารบอก เช่น แผน นโยบาย ทิศทาง พ.ร.บ. วิสัยทัศน์ ของหน่วยงาน ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
# เขียนความสำคัญจากใหญ่มาเล็ก – ชาติ ภาค หน่วยงาน สังกัด
การเขียนต้องเขียนแบบเรียบเรียง ไม่ใช่นำข้อความมาต่อๆ กัน บทนำเขียนประมาณ 2-3 หน้า และลงท้ายสรุปว่า ด้วย…… หรือ จาก……

วัตถุประสงค์ : เพื่อ……
สมมติฐาน : เป็นการคาดคะเนคำตอบไว้ล่วงหน้า เช่น …..ในระดับมาก  …..แตกต่างกัน (สมมติฐานจะมีหรือไม่มีก็ได้)
ขอบเขต : ประชากร เนื้อหา ระยะเวลา ทำกับใครบ้าง กี่คน ทำเมื่อไร นานเท่าไร (ไม่ใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นการแก้ปัญหา / พัฒนางาน) ถามอะไรบ้างในเรื่องนั้น ๆ ทำอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลมา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ผลของการวิจัยจะนำไปทำอะไร เพื่อประโยชน์อะไร
นิยามศัพท์ : อธิบายคำศัพท์ในเรื่องที่เราทำ เช่น ความพึงพอใจ หมายถึง / ความคิดเห็น หมายถึง / ความคาดหวังหมายถึง / ผู้ใช้บริการ หมายถึง เป็นต้น

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
แนวคิด ทฤษฎี บริบท งานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ควรเกิน 10 หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง – ใครบ้าง กี่คน
เครื่องมือ – ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญ (3 คน) เพื่อวิเคราะห์ IOC
และทำการเก็บรวบรวมข้อมูล
บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ และแปลผล สามารถสรุปเป็นแผนภูมิ ภาพ ไม่จำเป็นต้องเป็นตารางเพียงอย่างเดียว
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
อภิปรายผล – ดูผลที่เด่น / ด้อย
: จากผลการวิจัยพบว่า ……………….. อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก………………… หรืออาจเป็นเพราะว่า……..
: ทำไมผลจึงเป็นเช่นนี้     : สอดคล้องกับ (ดูบทที่ 2)
ข้อเสนอแนะ
: การนำผลการวิจัยไปใช้
: ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
ฟังมาตลอดทั้งวัน ความคิดก็บรรเจิดไปเรื่อยเปื่อย แต่ขอบอกว่า ถ้าคิดจะทำ…ต้องลงมือทำ ถ้ารอเวลา…จะบอกว่าไม่มีเวลาทำ และแน่นอนว่า R to R ไม่เกิดอย่างแน่นอน  😆

One thought on “R to R ความฝันอันบรรเจิด

  • เรื่องเวลาครูพี่บอกว่า หากสามารถรู้ว่าหน้ากากทั้งหลายคือใคร หรือมีเวลาไปส่องเฟสเพื่อน แปลว่ายังมีเวลา พี่นี้เงียบเลย!

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร