บรรณนิทัศน์ (Bibliography)

:mrgreen: บรรณนิทัศน์ ผู้ที่ทำงานในห้องสมุด และเล่าเรียนมาทางบรรณารักษ์ย่อมต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี
😆 บรรณนิทัศน์ หมายถึง ข้อเขียนที่ผู้อ่านหรือผู้เขียนบรรณนิทัศน์เขียนขึ้นเพื่อแนะนำผู้อ่าน เกี่ยวกับหนังสือชื่อหนึ่งๆ ในแง่มุมต่างๆ เช่น เกี่ยวกับผู้แต่ง เนื้อเรื่อง โครงเรื่อง วิธีดำเนินเรื่องหรือ แนวการเขียน เป็นต้น ลักษณะของการเขียนอาจแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนไว้ด้วย นอกเหนือจากเรื่องราวที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนั้นก็ได้
😆 บรรณนิทัศน์เป็นสารสนเทศประเภททุติยภูมิ ที่เกิดจากการรวบรวมและเรียบเรียงสารสนเทศปฐมภูมิ เป็นการนำสารสนเทศประเภทเดียวกันมาไว้ด้วยกัน จัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ ย่อเรื่องให้เข้าใจง่าย เช่นเดียวกับการจัดทำดรรชนีวารสารหรือสาระสังเขป
😆 วิธีการเขียนบรรณนิทัศน์

  1. เขียนสั้นๆ ให้ได้ใจความชัดเจน ตรงตามความสำคัญของเรื่อง
  2. ใช้ภาษาสละสลวย ชวนอ่าน
  3. เขียนให้สมเหตุ สมผล วางใจเป็นกลาง
  4. ข้อความถูกต้อง ตรงตามเนื้อหาสาระของเรื่อง
  5. มีศิลปะในการเขียนที่ทำให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม

😆 การเขียนบรรณนิทัศน์แยกได้เป็น 2 อย่างคือ
1. บรรณนิทัศน์สำหรับผู้อ่าน (Reader’s note) เป็นการเขียนบรรณนิทัศน์ สำหรับผู้อ่าน นิยมเขียนแบบสั้น ๆ เพื่อสรุปใจความของหนังสือ เป็นการแนะนำผู้อ่านให้ไปอ่านรายละเอียดของหนังสือต่อไป
2. บรรณนิทัศน์สำหรับบรรณารักษ์ (Librarian note) บรรณนิทัศน์ประเภทนี้ เป็นการจัดทำเพื่อแนะนำผู้อ่านอย่างละเอียดหรือเขียนขึ้น เพื่อประกอบการพิจารณาจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด การจัดทำบรรณานิทัศน์ประเภทนี้จึงมักค่อนข้างยาวและละเอียดกว่าบรรณนิทัศน์ สำหรับผู้อ่านทั่วไป
ตัวอย่างแบบฟอร์มบรรณนิทัศน์
ชื่อผู้แต่ง.   ชื่อเรื่อง.   สถานที่พิมพ์ :   สำนักพิมพ์,   ปีที่พิมพ์.   จำนวนหน้า.   ภาพประกอบ.
ราคา.
บรรณนิทัศน์ (เรื่องย่อ)……………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………..
😆 บรรณนิทัศน์สามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมในการเรียนการสอนได้ โดยจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะในการอ่าน ให้นักเรียนสรุปการอ่าน ด้วยการใช้บรรณนิทัศน์ อาจให้นักเรียนอ่านหนังสือนิทานที่ตนชอบคนละ   1   เล่ม แล้วเขียนเนื้อเรื่องย่อ  จุดเด่น และ จุดด้อยของหนังสือเล่มนั้นตามความคิดของนักเรียนลงในใบงาน เป็นต้น
😆 ในงานห้องสมุดบรรณนิทัศ์นสามารถใช้ร่วมกับกิจกรรมหรืองานต่างๆ ได้ เช่น การจัดแสดงหนังสือใหม่ การจัดนิทรรศการหนังสือตามวาระ การทำรายชื่อหนังสือน่าอ่าน กิจกรรมหนังสือเล่มโปรด นอกจากจะแสดงตัวเล่มหนังสือ หรือหน้าปกหนังสือ ก็เขียนบรรณนิทัศน์ประกอบด้วยเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
😯 ปัจจุบันบรรณนิทัศน์หนังสือสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อรองรับเทคโนโลยีและอุปกร์ใหม่ เช่น
 

บรรณนิทัศน์แนะนำหนังสือ ด้วย QR code ของ ห้องสมุดประชาชนมหาสารคาม


 

ตัวอย่างบรรณนิทัศน์บนเว็บไซต์


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
แหล่งอ้างอิง : https://clib.psu.ac.th/services/11-services2/26-annotation.html
www.sutlib2.sut.ac.th/Learning/school/Social/204318_4_4.2.ppt
www.sl.ac.th/html_edu/sl/temp_news/8126.doc

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร