อ่านหนังสือวันละเล่ม"คู่มือสวดมนต์ ฉบับอุบาสก-อุบาสิกา"

วันนี้ได้รับหนังสือ “คู่มือสวดมนต์”   จากหัวหน้าฝ่ายฯ รู้สึกดีใจ มีคนให้ของถูกใจ เพราะเป็นคนประเภท มันทบุคคล และสัญญาไม่เที่ยง ต้องอาศัยหนังสือเป็นคู่มือในการท่องบ่น ท่องจำ  เพื่อหล่อเลีียงชีวิต  และรักษาจิตให้ผ่องใสเบิกบาน โดยการพูดภาษาธรรม เพื่อยังประโยชน์ในการทำงานให้เกิดความสุข
การให้ธรรมะ เป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
สพฺพทานํ   ธมฺมทานํ  ชินาติ
เนื้อหาในเล่ม หน้าปก  น้อมเกล้าอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เนื้อหาหน้าสารบัญ ได้แก่

  • บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า
  • เทวตาทิปัตติทานคาถา (กรวดน้ำตอนเช้า)
  • สัพพปัตติทานคาถา
  • บทสวดมนต์ทำวัตรเย็น
  • อุททิสสนาธิฏฐานคาถา (กรวดน้ำตอนเย็น)
  • อภิณหปัจจเวกขณะ ๕
  • โอวาทปาติโมกขคาถา
  • เขมาเขมสรณทีปิกคาถา
  • ภัทเทกรัตตคาถา
  • ภารสุตตคาถา
  • ปฐมพุทธภาสิตคาถา
  • ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
  • บทพิจารณาสังขาร
  • ทวัตติงสาการปาฐะ
  • ปราภวสุตตปาฐะ
  • อุปกิเลส ๑๖
  • มงคลสูตร
  • มหาสติปัฏฐานสูตร
  • คำกรวดน้ำอุทิศกุศล
  • คาถาแผ่เมตตาตนเอง
  • คาถาแผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
  • บทแผ่ส่วนกุศล
  • แผ่เมตตาพรหมวิหารสี่
  • บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
  • บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
  • บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
  • คาถาโพธิบาท
  • คาถามงคลจักรวาลแปดทิศ
  • บารมี ๓๐ ทัศ (แบบครูบาศรีวิชัย)
  • คำไหว้พระจุฬามณี
  • จุลชัยมงคลคาถา (สวดชัย)
  • ชุมนุมเทวดา
  • ปุพพภาคนมการ
  • นมการสิทธิคาถา (ใช้แทนสัมพุทเธ)
  • สัมพุทเธ
  • นโมการอัฏฐกคาถา
  • มงคลสูตร
  • รัตนสูตร
  • กรณียเมตตสูตร
  • ขันธปริตร
  • โมรปริตร
  • วัฏฏกปริตร
  • อาฏานาฏิยปริตร
  • อังคุลิมาลปริตร
  • โพชฌังคปริตร
  • อภยปริตร
  • เทวตาอุยโยชนคาถา
  • ถวายพรพระ
  • ชัยมงคลคาถา (บทสวดพาหุง)
  • บทสวดมหาการุณิโก
  • มงคลจักรวาฬน้อย
  • มงคลจักรวาฬน้อย (ย่อ)
  • อาฏานาฏิยะปะริตตัง (ย่อ)
  • มงคลจักรวาฬใหญ่
  • เมตตานิสังสสุตตปาฐะ
  • พระคาถาชินบัญชร
  • ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
  • ธัมมจักกัปปวัตตนสุตตปาฐะ
  • เมตตาพรหมวิหารภาวนา (เมตตาใหญ่)
  • พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระสังคิณี, พระวิภังค์, พระธาตุกถา, พระปุคคลปัญญัติ, พระยมก, พระกถาวัตถุ, พระมหาปัฏฐาน
  • บังสุกุลตาย
  • บังสุกุลเป็น
  • ปฏิจจสุมปปาท
  • วันทา (ขอขมา)
  • คำอารราธนาธรรม
  • คำอาราธนาพระปริตร
  • คำถวายข้าวพระพุทธ
  • คำลาข้าวพระพุทธ
  • พิจารณาอาหาร
  • คำถวายสังฆทาน
  • คำถวายผ้ากฐิน
  • คำถวายผ้าป่า
  • คำอธิษฐาน
  • บทสวดมนต์พระประจำวันเกิด
  • บทบูชาพระคุณห้า

ธรรมมะที่ชอบคือ บารมี ๓๐ ทัศ
สาระที่ได้จากหนังสือ

  • ได้ทราบภาษาพระบาลี
  • ได้รักษาศีล และเจริญภาวนา
  • คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ คือ อรหํ, สมฺาสมฺพุทฺโธ, วิชฺชาจรสมฺปนฺโน, สุคโต, โลกวิทู, อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ, สตฺถา เทวมนุสฺสานํ, พุทโธ, ภควา  ; คุณของพระธรรม  มี ๖ ประการ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา  ธมฺโม,  สนฺทิฏฐิโก, อกาลิโก, เอหิปสฺสิโก, โอปนยิโก, ปจฺจตฺตํ  เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ; คุณของพระสงฆ์ มี ๙ ประการ คือ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, อุชุปฏิปนฺโน, ญายปฏปนฺโน, สามีจิปฏิปนฺโน, อาหุเนยฺโย, ปาหุเยฺโย, ทกฺขิเณยฺโย, อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ  โลกสฺส
  • บุญกริยา  คือ การกระทำที่ทำให้เกิดบุญ  ๑๐  อย่าง คือ
  1.  บุญสำเร็จด้วยการ บริจาคทาน
  2.  บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
  3.  บุญสำเร็จด้วยการ เจริญภาวนา
  4.  บุญสำเร็จด้วยการ ประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
  5.  บุญสำเร็จด้วยการ ขวนขวายในกิจที่ชอบ
  6.  บุญสำเร็จด้วยการ ให้ส่วนบุญ
  7.  บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
  8.  บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
  9.  บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
  10. บุญสำเร็จด้วยการ ทำความเห็นให้ตรง
  • “การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปกติตกไปในอารมณ์อันบุคคล พึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก  ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้วนำสุขมาให้  ชนเหล่าใดจักสำรวมจิต  อันไปในที่ไกล  ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
  • ทำไมจึงเป็นคนขี้โรค  ปัญหา เพราะเหตุไรบางคนเกิดมาแล้ว จึงมักจะถูกโรคภัยเบียดเบียน แม้จะมีทรัพย์มากและรักษาความสะอาดเท่าไร ก็ไม่พ้นเป็นคนขี้โรค เพาะเหตุไร บางคนจึงมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ทั้งๆ ที่ยากจนและไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย?  พุทธดำรัสตอบ “…    คนบางคนย่อมเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยมือ หรือ ก้อนดิน  ท่อนไม้  ศัสตรา ครั้นตายไปย่อมเกิดในอบายทุคตินรกด้วยกรรมนั้น …  ถ้าตายไปไม่เกิดในอบายทุคตินรก  มาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใดๆ  จะเป็นผู้มีโรคมาก   …  คนบางคนย่อมเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย  ด้วยมือ  หรือก้อนดิน ท่อนไม้  ศัสตรา  ครั้นตายไป  ย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วยกรรมนั้น …  ถ้าตายไปไม่เกิดในสุคติโลกสวรรค์  มาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด  จะเป็นผู้มีโรคน้อย
  • บทสวด นะโม ตัสสะ หรือบทนอบน้อมพระพุทธเจ้านี้ เป็นบทที่ใช้สวดเพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า เรียกอีกอย่างว่า บทบุพพภาคนมการ แปลว่า บทแสดงความเคารพก่อนทำกิจอย่างอื่น  หมายความว่า จำทำกิจอันใดทางพระพุทธศาสนาจะต้องตั้งนะโม ก่อนทุกครั้ง  เช่น ก่อนเจริญพระพุทธมนต์ สวดมนต์  รับศีล ถวายสังฆทาน ต้องตั้งนะโมก่อน  บทแสดงความเคารพนี้ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปร่างกาย แต่เป็นการแสดงความเคารพต่อพระคุณของพระองค์ เพราะพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปร่างกายดับขันธปรินิพานไปนานแล้ว  แต่สิ่งที่ทำให้ชาวพุทธยังคงอบอุ่นใจเหมือนพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ก็เพราะได้ระลึกถึงความดีของพระองค์นี่เอง  ดังคำที่ว่า  “จิตวิญญาณดับ  แต่ความดีไม่เคยดับ”
  • บทถวายสังฆทาน “อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ,  สังฆทานานิ สะปะริวารานิ,  ภิกขุสังฆัสสะ, โอโรชะยามะ  สาธุ  โน  ภันเต,  ภิกขุสังโฆ,   อิมานิ  ภัตตานิ, สังฆทานานิ  สะปะริวารนิ,  ปฏิคคัณหาตุ,  อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุ,  อาทีนัญจะ,  ญาตะกานัง, ทีฆะรัตตัง,  หิตายะ  สุขายะฯ   แปลความว่า  ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย  ซึ่งภัตตาหาร   สังฆทาน  กับทั้งสิ่งของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์  ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับ  ซึ่งภัตตาหาร  สังฆทาน  กับบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพเจ้า  และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีมารดา  บิดา เป็นต้น    สิ้นกาลนานเทอญ  หมายเหตุ  ถ้าถวายสิ่งของที่ไม่มีอาหารด้วย  ให้ใช้  สังฆทานานิ  แทนภัตตานิ
  • คำอโหสิกรรม  “…   กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อพระพุทธเจ้า  พระธรรม พระสงฆ์  และต่อบิดา มารดา  ครูอุปัชฌาย์ ญาติสนิทมิตรสหาย  ตลอดถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก  เทวโลก  พรหมโลก  และในอบายภูมิทั้ง ๔ ทั้งที่มีร่างกาย และเป็นดวงวิญญาณทั้งหลาย  ด้วยกายก็ดี  ด้วยวาจาก็ดีด้วยใจก็ดี  ด้วยเจตนาหรือไม่ได้เจตนาก็ดีทั้งต่อหน้าและลับหลังก็ดี  ทั้งที่ระลึกได้ ระลึกไม่ได้ก็ดี ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน  ขอท่านจงอโหสิกรรมล่วงเกินอันนั้นแก่ข้าพเจ้า ขอจงอย่าได้มีเวรต่อกัน  อย่าได้พยาบาทอาฆาต  เบียดเบียนต่อกันเลย  ขอให้ทุกท่านจงมีแต่ความสุข ความเจริญ  และมีส่วนได้ในบุญกุศลของข้าพเจ้าในคราวครั้งนี้ด้วยเทอญฯ
  • ประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์
  1.  เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
  2.  เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
  3.  เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตนเอง และบริวาร
  4. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
  5.  ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
  6.  เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
  7.  เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
  8.  เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
  9.  เป็นบุญกริยา เป็นวาสนาบารมี  เป็นสุขทางใจ
  • ธรรมโดนใจ

ทีฆา  ชาครโต  รตฺติ                                  ทีฆํ   สนฺตสฺส  โยชนํ
ทีโฆ   พาลาน  สํสาโร                              สทฺธมฺมํ    อวิชานตํ ฯ
แปลความว่า   ราตรีนาน  สำหรับคนนอนไม่หลับ  ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล  สำหรับผู้ล้าแล้ว   สังสารวัฏฏ์ยาวนาน  สำหรับคนพาล  ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม
หมายเหตุ  เจ้าหน้าที่หอสมุดฯ ทุกท่าน ต้องการอ่านหนังสือเล่มนี้  หยิบอ่านได้ที่ห้องพระ ชั้น ๓ อาคารหอสมุดฯ มีพระพุทธรูปประดิษฐานให้ทุกท่านเคารพสักการะบูชา เพื่อน้อมให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า สาธุ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร