เรื่องราวรอบๆห้องสมุด

บรรณารักษ์ เป็นตำแหน่งที่ทำหน้าที่ต้องดูแลภารกิจหลักของห้องสมุด ซึ่งได้แก่ การจัดหา การจัดเก็บ และการให้บริการ  ภารกิจเหล่านี้จะมีมุมที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่เราต้องทำตัวให้พร้อมเสมอ
 
สมัยก่อนผู้ใช้บริการมักเรียกทุกคนที่ทำงานในห้องสมุดว่า บรรณารักษ์ ปัจจุบันหากสังเกตจะพบว่าผู้ใช้วัยใสๆ จะเรียกเราว่า พี่ห้องสมุด / บรรณารักษ์อาจเป็นคำที่ยาก บางคนอาจไม่รู้จักเลย หรือบางคนไปสับสนกับคำว่า “ภัณฑารักษ์”
 
นอกจากชื่อตำแหน่งจะยากแล้วเรายังมีศัพท์แสงที่เราใช้กันอย่างเคยชินทั้งภาษาไทยและทับศัพท์ในภาษาอังกฤษมากมาย เมื่อสองวันก่อนนักศึกษาส่งแบบสอบถามมาให้พิจารณา แล้วพบคำว่า “ล่วงเวลา” ดิฉันถามกลับมาไปว่า มนุษย์ธรรมดาๆคนนึงที่เข้ามาใช้ในห้องสมุดเข้าใจหรือไม่ว่า “ล่วงเวลา” คืออะไร???
 
ในห้องสมุดมี jargon มากมาย ที่เราต้องทำความเข้าใจกับคนรอบๆ ตัว ที่เรามักเพ่งมองไปที่ผู้ใช้บริการว่าพวกเขาเข้าใจ หรือรับรู้ในสิ่งที่เราสื่อสารไปถึงพวกเขามากน้อยแค่ไหน การสังเกตและสมมุติว่าเป็นเขาเป็นเรื่องที่ได้ง่ายที่สุด แค่ถอยหลังจากที่นั่งเดิมๆของเราไปสักสองสามก้าวแล้วมองกลับไป
 
ในขณะเดียวกันเรายังต้องทำความเข้าใจ jargon ของเนื้อหาสาระที่วิ่งอยู่รอบๆตัวของเรา เพราะโลกไม่เคยหยุดหมุน ขณะที่เรายังคงทำหน้าที่ในบทบาทเดิมๆ คือจัดหา จัดเก็บและให้บริการ แล้วยังส่วนที่เพิ่มเติมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของผู้สร้างเนื้อหา ผู้ดูแลเนื้อหา ฯลฯ ศาสตร์หลายศาสตร์จึงวิ่งเข้ามาปะทะตัวเรา แต่เรายังต้องก้าวต่อไปให้ได้ทั้งด้วยแรงของตนเอง รวมทั้งจากแรงผลักดัน ชักจูง ฯลฯ ของเพื่อนรอบๆตัว รวมแม้กระทั่งโลกของสังคมเครือข่าย
 
วันก่อนที่ห้องสมุดมีการจัดบรรยายเรื่อง แรงบันดาลในในการอ่าน โดย อาจารย์สกุล บุณยทัต อาจารย์บอกว่าห้องสมุดอยู่แบบเดิมไม่ได้ต้องมี Omni-channel เพื่อขยายขอบเขตการบริการให้มากขึ้น ทำให้นึกถึงเมื่อก่อนหน้านี้ที่มีการอบรม 3 เรื่องคือ R2R (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์) การบริการลูกค้าสัมพันธ์ (คุณเมฆิน ลิขิตบุญฤทธิ์) และ Service Design (ผู้ช่วยศาสตร์ธงชัย โรจน์กังสดาล) เรื่องราวทั้งหมดต่างแนบสนิท หลอมรวมกันจนแทบแยกไม่ออกว่าอะไรจะมาก่อนหรือจะมาหลัง
 
หากถามดิฉันว่าอะไรต้องมาก่อน / ขอตอบว่าตัวเราเองนี่แหละ
 
Omni-channel หมายถึง  การผสมผสานช่องทางทั้งหมดของธุรกิจด้วยกัน หากตีความให้เข้ากับการทำงานในห้องสมุดแบบง่ายๆ คือ คำว่าธุรกิจ หมายถึง ประดางานบริการ/กิจกรรมทั้งหลายที่เราต้องคิด จัดให้มีโดยใช้พื้นฐานของทรัพยากรสารสนเทศและงานเสริมอื่น ส่วนช่องทาง หมายถึง ช่องทางในการนำเสนองานบริการหรือกิจกรรมต่างๆของห้องสมุด ส่วนนี้ให้นึกถึงตอนประกันคุณภาพจะมีการพูดถึงจำนวนช่องทางการประชาสัมพันธ์ว่าหน่วยงานของเรามีอยู่กี่ช่องทาง ซึ่งเรามักรวบรวมได้เยอะมาก!
 
แต่ข้อจำกัดของการเยอะมาก! เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงเราทำครบถ้วนในทุกทุกทางที่เยอะมาก! นั้นหรือไม่ หรืออะไรมีการหาเหตุหรือไม่ว่าสิ่งใดคือข้อจำกัด ดังนั้น จำนวนจึงไม่ใช่คำตอบ มนุษย์จึงต้องหาหลักการเข้ามาช่วยการทำงาน
 
Omni-channel จึงเป็นการเชื่อมโยงทั้งหมดไว้ด้วยกันเพื่อให้พูดในเรื่องเดียวกัน เพราะไม่มีช่องทางไหนหรือใครตอบโจทย์ได้ทุกเรื่อง เป็นศัพท์ใหม่ที่ใช้กันตามยุคสมัย ส่วนตัวแล้วมีความเห็นว่าเป็นเรื่องของการทำงานในลักษณะขององค์รวม ไปต้องไปพร้อมๆกัน เสริมซึ่งกันและกันไม่แยกว่าของเธอของฉัน มีนักการตลาดให้ความเห็นว่า การทำงานข้ามช่องทาง ซึ่งแปลว่าต้องมีความเป็นทีม ปัญหาคือสินค้าและบริการเป็นลักษณะของการที่ต่างคนต่างถืออยู่ในมือ ต่างดูแล จึงทำให้อะไรๆก็แยกกัน ขาดความเชื่อมโยง และในท้ายที่สุดผลเสียก็ส่งผลไปถึงลูกค้า เพราะเกิดความสับสนและไม่ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ น่าคิดเลยทีเดียว ลองอ่านดูนะคะ http://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475138501   
 
ย้อนกลับมามองที่ห้องสมุดของเรามีความพยายามที่จะทำงานให้อยู่ในลักษณะของ Omni-channel ที่ค่อยๆไต่ ค่อยๆ เริ่ม เรียนถูกเรียนผิด เช่น โครงการทับแก้วบุ๊คแฟร์ที่เกาะติดผู้ใช้บริการ จนพัฒนาไปจนถึงการทำช่องทางเสนอซื้อ http://www.snc.lib.su.ac.th/sncbook/?p=221 หรือโครงการ C2C ที่เป็นการทำงานในภาพรวมของงานบริการทั้งหมด ที่ติดตามเรื่องสถานการณ์การอ่าน ทั้งสองโครงการเป็นความพยายามที่จะประติดประต่อกิจกรรมเล็กๆ ให้อยู่ในภาพใหญ่เพื่อไปต่อให้เหมาะกับยุคสมัยและภารกิจหลัก ทั้งหลายทั้งปวงของโครงการทั้งสองล้วนแต่เป็นเรื่องเดียวกันที่พูดถึงธุรกิจของห้องสมุดทั้งสิ้น เพียงแต่แค่แยกโครงการเพื่อให้มีเจ้าภาพหลักในการทำกิจกรรม
 
หน้าที่ของคนทำงานแม้จะอยู่ต่างโครงการสิ่งที่จะต้องทำในฐานะของคนในองค์กรคือการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะเป็นตัวแทนของห้องสมุด เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ในทุกเวลาและสถานที่   โลกอยู่ยากขึ้นทุกวัน สิ่งที่จะทำให้เราอยู่รอดอย่างมีความสุขคือการปรับตัวให้เรียนรู้และนำสิ่งต่างๆมาใช้ให้ได้เร็วที่สุด
 
“พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว” คมวาทะของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังใช้ได้เสมอตราบที่ลมหายใจ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร