สรุปเนื้อหาด้วย Mind Map

จากหัวข้อทำ IDP ที่เกี่ยวข้องกับ Mind Map ทำให้เกิดความสนใจ ความสนุกในการใช้ Mind Map ในงานต่างๆ จึงนำ Mind Map มาใช้สรุปเนื้อหาในการอ่านหนังสือเพื่อพัฒนาตนเอง
ประโยชน์ของ Mind Map 1. จัดระเบียบความคิด 2. จดจำเนื้อหาได้ดี 3. ประหยัดเวลา 4.มีความคิดสร้างสรรค์ 5. สนุกและเพลิดเพลิน
กฎเกณฑ์ของ Mind Map ไม่มีอะไรมาก ไม่มีถูกไม่มีผิด เพราะเป็นการสร้างด้วยสไตล์ของแต่ละคน แต่ที่ต้องมีใน Mind Map คือ 1. แก่นแกน (หัวข้อกลาง) ควรมีขนาดพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป  2. กิ่งแก้ว เส้นของกิ่งแก้วต้องเชื่อมโยงต่อกับแก่นแกนเสมอ 3. กิ่งก้อย เป็นเส้นที่แตกแขนงมาจากเส้นกิ่งแก้ว
อุปกรณ์

  1. กระดาษ A4
  2. ปากกาสี อย่างน้อย 3 สี


 
เนื้อหาจาก Mind Map
Mind Map (แผนที่ความคิด) คือ การจดบันทึกข้อมูล โดยการใช้จินตนาการด้วยภาพ เป็นการกระตุ้นความจำของสมองได้ดี ช่วยในเรื่องการแบ่งประเภทของหมวดเดียวกันอยู่ด้วยกัน ที่สำคัญ Mind Map มีหลักการการทำงานที่สัมพันธ์กับสมอง สมองจึงรับข้อมูลได้ดีและรวดเร็วขึ้น จึงทำให้มีความจำที่ดีแม่นยำยิ่งขึ้น  เรามาศึกษากันว่า สมองทำงานอย่างไร ซึ่งหลักๆ มี 5 ขั้นตอน คือ

  1. รับช้อมูล สมองรับข้อมูลได้ทั้งแบบรูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส โดยอ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และผิวหนัง
  2. เก็บข้อมูล เมื่อรับข้อมูลแล้ว สมองจะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบกระจัดกระจาย
  3. วิเคราะห์ข้อมูล สมองจะประมวลผลโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บข้อมูลไว้
  4. ให้ผลลัพธ์แสดงผล สมองจะแสดงออกมาผ่านประสาทสัมผัสทั้ง
  5. ควบคุม สมองทำหน้าที่ควบคุมทุกสิ่งในตัวเรา ควบคุมทั้งร่างกายและจิตใจ

 
Mind Map ประกอบด้วย ตัวอักษร เส้น สี ภาพ ซึ่งช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น ประหยัดเวลา มีความคิดสร้างสรรค์ มีสมาธิ เพลิดเพลินกับการทำงาน การเรียนรู้ สนุกกับการขีดเขียน                                                                                                                                         อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ เป็นต้นตำรับ Mind Map ในประเทศไทย  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นวิทยากรที่ได้รับลิขสิทธิ์ในการสอนวิธีการทำ Mind Map อย่างถูกต้องในประเทศไทย และเป็นผู้ก่อตั้งบูซานเซ็นเตอร์ประเทศไทย
การทำ Mind Map ให้จดจำได้ดี สิ่งสำคัญคือ การเลือกหัวเรื่องหรือ Central Idea ที่ใช้สื่อถึงเนื้อหาใน Mind Map การเลือก B.O.I. ที่นำมาแตกกิ่งออกไป และสิ่งๆ ที่จะทำให้ Mind Map มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็คือ 1. สมองทั้ง 2 ซีกของเรา 2. จินตนาการที่จะนำไปเชื่อมโยงใน Mind Map 3. สี ช่วยกระตุ้นสมองให้เกิดจินตนาการและเพิ่มการจำจด สีควรมีอย่างน้อย 3 สีขึ้นไป ในเรื่องเดียวกันควรใช้สีเดียวกันตลอดทั้งเส้น เพื่อง่ายต่อการจดจำ 4. ภาพ เป็นตัวกระตุ้นจินตนาการและสมองซีกขวาได้ และทำให้เราเกิดความสนใจ 5. รหัส การใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ช่วยในเรื่องการประหยัดเวลาในการวาดรูป และช่วยสื่อความหมายบางอย่างได้ดี สัญลักษณ์ ได้แก่ ดาว สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม ลูกศร เป็นต้น
การอ่าน Mind Map แบ่งได้ 3 ประเภท

  1. อ่านเอาภาพรวม
  2. อ่านเพื่อรายละเอียด
  3. อ่านตามใจชอบ

Mind Map ที่ดีช่วยให้เราเข้าใจข้อมูลและจำจดข้อมูลได้แม่นยำ ไม่ใช่ Mind Map ที่ถูกต้องตามหลักการ หรือเทคนิคการเกินไป แต่ควรเป็นสไตล์ของตนเอง
ขอบคุณที่มา
ธราเทพ แสงทับทิม. เพิ่มพลังการจดและจำของสมอง. นนทบุรี : พราว โพเอท, 2556
บูซาน, โทนี. วิธีเขียนมายด์แม็ป (ฉบับเจ้าสำนัก). กรุงเทพฯ : ขวัญข้าว’ 94, 2547
บูซาน, โทนี. Mind maps ฉบับคนพันธุ์ใหม่วัยใสๆ. กรุงเทพฯ : ขวัญข้าว’ 94, 2551
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร