การเขียนคำโปรยนักเขียนงานทับแก้วบุ๊คแฟร์

การประชาสัมพันธ์นักเขียนที่จะมาพูดคุยในงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ เป็นหนึ่งในภารกิจของทีมงานประชาสัมพันธ์ ซึ่งจัดทำในรูปโปสเตอร์ ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย รูปภาพของนักเขียน วันเวลาที่จะพูดคุย ผลงานของนักเขียน และคำโปรย
 
การเขียนคำโปรย เขียนเพื่อจูงใจให้ผู้อ่านสนใจ เกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการนำเสนอและรู้สึกอยากติดตามต่อ  ซึ่งอาจจะเป็นการเขียนความคิดหลักของเรื่อง การนำเสนอข้อมูลตัวละครหลัก ข้อมูลเกี่ยวกับนักเขียน ฯลฯ (กษมา ศิธราชู, 2553 : 6) เนื้อหาในการเขียน จะต้องดึงจุดเด่นหรือใจความสำคัญออกมาเพื่อกระตุ้นให้คนอยากอ่าน ต้องมีความกระชับ เพราะพื้นที่มีจำกัด และน่าอ่าน
 
ซึ่งงานทับแก้วบุ๊คแฟร์ครั้งที่ 11 นี้ เป็นการเขียนคำโปรยครั้งแรกของดิฉัน จึงศึกษาแนวการเขียนจากตัวอย่างปีก่อนๆ ซึ่งมีการเขียนหลายแนวและใช้ภาษาสละสลวย น่าติดตาม ทำให้ต้องคิดว่าจะนำเสนออย่างไร เอาจุดไหนมาเป็นจุดขาย รูปแบบการนำเสนอ โดยรวบรวมข้อมูลของนักเขียน อาทิ มีผลงานเรื่องใดบ้าง ตีพิมพ์มากี่เรื่อง เรื่องไหนกำลังเป็นกระแส หรือได้รับรางวัล และอิงกับธีมที่จะพูดคุยในวันงาน จากนั้นจึงวางโครงที่จะเขียน การเขียนในครั้งนี้ มี บ.ก. พิเศษ 2 คน คือพี่กาญ และน้องแยม ช่วยตรวจ อ่านเรื่อง ตลอดจนการร้อยเรียงภาษาให้สละสลวยขึ้น

 
ที่มา :  กษมา ศิธราชู. “วิเคราะห์การใช้ภาษาและเนื้อหาในคำโปรยปกหลังหนังสือวรรณกรรมบันเทิง” ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร