การดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง(Generator)เบื่องต้น

25 February 2017
Posted by Anirut Jaklang

           การให้บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง บางครั้งอาจจะเกิดข้อขัดข้องหรือเหตุบางอย่าง จากการส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าอันเนื่องมาด้วย ความบกพร่องของอุปกรณ์ในระบบหรือการเกิดอุบัติเหตุ  มีการตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อซ่อมแซม  แก้ไข หรือปรับปรุงระบบสายส่งให้ดีขึ้น หรือมีการเชื่อมต่อสายส่งเพิ่มขึ้น  การเกิดพายุ  ฝนฟ้าคะนอง  ทำให้กิ่งไม้ในบริเวณใกล้เคียงสายส่งหักพาดสาย หรือเกิดจากสัตว์เลื้อยคลาน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร  หรือเกิดฟ้าผ่าลงบนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ทำให้ไฟฟ้าดับ จึงมีผลกระทบต่อการให้บริการ  เช่น  ระบบปรับอากาศ  ลิฟต์ประจำอาคาร ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องมีกำลังไฟฟ้าสำรองไว้จ่ายพลังงานทดแทน ซึ่งกำลังไฟฟ้าสำรองนี้ได้มาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง(Generator) ควรตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ดังนี้
 
 
1. ทำความเข้าใจการทำงาน โดยศึกษาจากคู่มือ อุปกรณ์การควบคุม เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถควบคุมได้ทั้งระบบ Manual และ Automatic

2. ควรตรวจสอบน้ำในหม้อน้ำรังผึ้ง ต้องมีน้ำเต็มและฝาปิดหม้อน้ำไม่ชำรุด สายยางท่อน้ำอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด
 
3. ควรตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ สำหรับการเดินเครื่องใช้งาน

4. ควรตรวจสอบระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่ต้องไม่แห้ง ขั้วสายไฟของแบตเตอรี่ต้องสะอาดและแข็งแรง

5. ควรตรวจวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ต้องอยู่ในระดับที่กำหนด

*หมายเหตุ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการดูแลรักษาเบื่องต้น ถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองมีความผิดปกติหรือระบบขัดข้อง ให้เรียกใช้บริการจากช่างผู้ชำนาญมาทำการซ่อมเพื่อดำเนินการต่อไป

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร