การพัฒนางานด้วยการให้ข้อมูลป้อนกลับโดยเพื่อน
การพัฒนางานด้วยการให้ข้อมูลป้อนกลับโดยเพื่อน (Developing Works by Using Peer Feedback)
เป็นงานที่ผู้เขียนได้ไปนำเสนอด้วยวาจาใน “งาน PULINET วิชาการ 2017” (10-11 มกราคม 2556) ที่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) เป็นเจ้าภาพ งานชิ้นนี้เกิดจากการปฏิบัติงานในฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และในฝ่ายวิเคราะห์ฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานต้องกังวลใจเมื่อต้องให้และรับข้อมูลป้อนกลับ ผู้เขียนจึงมีความสนใจที่จะนำข้อมูลป้อนกลับที่เกี่ยวข้องกับข้อผิดพลาดจากการเตรียมทรัพยากรสารสนเทศก่อน/หลังการวิเคราะห์เลขหมู่และทำรายการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางาน
โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อนำข้อมูลป้อนกลับไปเป็นแนวทางในการพัฒนาผลการปฏิบัติงาน 2) เพื่อหาแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดี
การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เป็นส่วนหนึ่งในระบบการบริหารผลปฏิบัติงาน โดยเป็นการสื่อสารผลการปฏิบัติงานให้พนักงานเห็นถึงผลการปฏิบัติงานของตนว่าดีหรือไม่ ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่และควรที่จะต้องปรับปรุงส่วนใดบ้างเพื่อให้มีผลการปฏิบัติงานที่ดียิ่งขึ้นในความเป็นจริงแล้ว การให้ข้อมูลป้อนกลับถือเป็นทักษะพื้นฐานในการบริหารจัดการอย่างหนึ่งที่ผู้นำจะต้องมี เพราะจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้ทบทวนผลการปฏิบัติงานในแต่ละวัน รวมทั้งการสร้างความคาดหวังที่ชัดเจนและการแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดระหว่างพนักงาน และการให้ข้อมูลป้อนกลับยังเป็นทักษะที่สามารถนำไปใช้ในการสอนงาน การแจกจ่ายงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การพัฒนางาน
ทุกอย่างควรเริ่มต้นที่ตัวเองก่อนเพราะจะทำให้มีความสุขมากกว่าการถูกบังคับ โดยเฉพาะในเรื่องข้อมูลป้อนกลับหากไม่ทำใจยอมรับทำให้ตัวเองเปิดใจยอมรับข้อผิดพลาดและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการทำงานที่ผ่านมาซึ่งจะมีผลให้เกิดความระมัดระวัง และเป็นความพยายามในการหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อนำไปพัฒนางาน รวมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนร่วมงาน
ความสม่ำเสมอของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานทำให้เห็นภาพรวม สามารถพัฒนากระบวนงานไปพร้อมกัน โดยทุกคนมีส่วนร่วม วิเคราะห์หาสาเหตุ ทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ คนที่ไม่เคยผิดพลาดคือคนที่ไม่ได้ทำอะไรเลย และการเกิดข้อผิดพลาดต้องรายงานและเชื่อมโยงเข้าในระบบ อย่ากลัวว่าเป็นสิ่งผิด สิ่งที่อยากให้ทบทวนคือ การทำงานแบบทีม ปริมาณงานกับผู้รับผิดชอบ บทบาทของผู้รับผิดชอบในงานนั้น และบทบาทการมีส่วนร่วมของเพื่อนร่วมงาน
การนำไปใช้ประโยชน์
1. ต่อผู้ปฏิบัติงาน การได้รับทราบข้อมูลป้อนกลับแล้วนำมาประมวลผล ทำให้ได้ทราบถึงข้อผิดพลาด มีผลให้เกิดความระมัดระวัง และการฝึกฝนตนเองตลอดเวลาทำให้สามารถนาไปปรับใช้ได้กับทุกงานที่ได้รับการมอบหมาย
2. ต่อหน่วยงาน เนื่องจากตำเหน่งงานและภาระงาน เป็นเพียงงานเล็กๆ ในห้องสมุดงานครั้งนี้จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรอื่นๆ ในการแสวงหาข้อมูลป้อนกลับ และความพยายามในการทำผลงานทางวิชาการ
หากท่านใดสนใจเอกสารฉบับเต็ม สามารถติดตามอ่านได้จาก Link ด้านล่างค่ะ
https://drive.google.com/a/silpakorn.edu/file/d/0B8yL81R-PmVbVEY5NF9qWkNaNDg/view?usp=sharing