รู้จักอ.เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์กับหน้าแรกของGoogleวันนี้ (24 กุมภาพันธ์)

วันนี้เปิดหน้าจอของ Google เพื่อเข้าระบบเช็คอีเมล์ตามปกติ พบว่าหน้าจอของ Google เป็นภาพของผักผลไม้แกะสลักซึ่งคาดเดาได้ว่าน่าจะเป็นผลงานของคนไทย จึงใช้ Mouse คลิกดู พบว่าชื่อที่ขึ้นมาเป็นชื่อ “เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์” จึงเกิดความอยากรู้จักว่าท่านผู้นี้สำคัญอย่างไร Google ถึงกับเอามาขึ้นเป็นหน้าจอ

ค้นดูจึงพบว่า อ. เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ (28 มกราคม พ.ศ. 2469 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558) เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – แกะสลักเครื่องสด) ประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นการทำอาหารแบบวิจิตร และการแกะสลักเครื่องสดเป็นรูปต่างๆ จนมีชื่อเสียงมายาวนานกว่า 50 ปี ผลงานของท่านคือ 1. ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2552 2. บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิของไทย พุทธศักราช 2554 คัดเลือกโดย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ 3. เกียรติบัตรผู้อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมงานช่างแกะสลักผักผลไม้ ในการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาพุทธศักราช 2557 (ข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์)
 
สำหรับงานเขียนของท่านที่มีบริการในห้องสมุดทั้ง 3 วิทยาเขตของเรา
100 เรื่องเครื่องคาวหวาน = One hundred menus of Thai cuisine / เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์. กรุงเทพฯ : ศรีสยามการพิมพ์, 2544. (TX724.5.T5 พ733 2544)  หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
แกะสลักวิจิตรและอาหารวิจิตร = The art of Thai vegetable and fruit carving / เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์. กรุงเทพฯ : ศรีสยามการพิมพ์, 2534 (TX652 .พ74)  หอสมุดสาขาวังท่าพระ
แกะสลักวิจิตรและอาหารวิจิตร = The art of Thai vegetable and fruit carving / เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์. กรุงเทพฯ : ศรีสยามการพิมพ์, 2533. (TX652 .พ74 2533)  หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
ศิลปการแกะสลักผักและผลไม้ = The art of vegetable and fruit carving / เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2528 (TX652 .พ76 2528)  หอสมุดสาขาวังท่าพระ
ศิลปะการแกะสลักผักและผลไม้ / เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์. [กรุงเทพฯ : นิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์, 2528]. (TX885 พ7 2528) หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
 

ผลงานบางส่วนจากหนังสือชื่อเรื่อง : ศิลปะการแกะสลักผักและผลไม้ ที่มีบริการในหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์

ผลงานเล่มนี้ตีพิมพ์ตั้งแต่ ปี 2528 เป็นฉบับสองภาษา ท่านอ.เพ็ญพรรณ กล่าวในคำนำไว้ว่า ท่านได้ศึกษาค้นคว้าศิลปะการแกะสลักผักและผลไม้ด้วยใจรักมาเป็นเวลานาน และยังได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับศิษย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ และเผยแพร่ผลงานทั้งรูปของวีดีโอ เทปโทรทัศน์ งานเขียนในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

ท่านย้ำว่า “หัวใจของศิลปะการแกะสลัก..มิใช่เป็นการประดิษฐ์ทำเพื่อความหรูหราฟุ่มเฟือย แต่เป็นการทำให้วัสดุผักผลไม้ที่ใช้ในการทำอาหารนั้น ดูสวยงานน่ารับประทานขึ้น และเป็นวิธีเทคนิคของการนำของหาง่ายมาแทนของหายาก ของราคาไม่แพงมาแทนของพงโดยอาศัยฝีมือ..เช่น ต้องการดอกไม้สวยๆแปลกๆ มาประดับโต๊ะอาหาร ก็ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อดอกไม้จากต่างประเทศที่หายากและราคาแพง…

(ข้อมูลจาก : https://www.youtube.com/watch?v=8y2Q_pLXxGg)

 
แหล่งอ้างอิง :
เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :https://th.wikipedia.org/wiki/เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์. สืบค้นวันที่  24 กุมภาพันธ์ 2560
สืบทอดงานแกะสลักไทย_นางเพ็ญพรรณ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=8y2Q_pLXxGg. สืบค้นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร