ฟังนักเขียน

ขึ้นชื่อว่า “นัก” พจนานุกรมบอกว่าเป็นคำนาม ใช้ประกอบหน้าคําอื่นหมายความว่า ผู้ เช่น นักเรียน ผู้ชอบ เช่น นักดื่ม นักท่องเที่ยว ผู้ชํานาญ เช่น นักเทศน์ นักดนตรี นักคํานวณ นักสืบ ผู้มีอาชีพในทางนั้น ๆ เช่น นักกฎหมาย นักแสดง นักเขียน. (ข.).ว. อย่างยิ่ง มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น หนาวนัก ร้อนนัก (http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81)
ทุกปีที่จัดบุ๊คแฟร์ผู้จัดงานจะเชิญนักเขียนและนักคิดมาเล่าประสบการณ์ของการเขียนให้กับผู้ฟัง เสียดายมากหากใครพลาดโอกาส เพราะคนที่จะเขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ นั้นเป็นต้องผ่านอะไรมากมาย
การฟังนักเขียนพูดจึงเป็น moment ที่รู้สึกว่าเป็นกำไรของชีวิต
แต่ขณะที่เราฟังก็ยังเป็นช่วงที่กำลังทำงาน  จึงต้องทำงานด้วยการคิดต่อว่าจะนำสิ่งที่เราได้ไปถ่ายทอดให้คนอื่นได้อย่างไร เพราะยุคสมัยเป็นเรื่องของ content marketing ที่ต้องดิ้นกันไปเพื่อให้องค์กรอยู่รอด อะไรที่ทำอยู่จำเป็นต้องพัฒนา ซึ่งหมายถึง เดิมๆ ต้องมีเพิ่มเติม
ดิฉันทดลองทำเรื่องการเก็บสาระจากนักเขียนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยให้เป็นงานของนักศึกษาฝึกงาน เพราะคิดว่าพวกเขาควรได้ฝึกฝนทั้งการฟัง การเขียน การจับประเด็น ความอดทน การตรวจสอบ กระทั่งค้นคว้าหาต่อ หารูปประกอบ ฯลฯ ความเป็นนักศึกษาฝึกงาน เมื่อได้รับคำสั่งจึงต้องทำ เมื่อให้แก้ไขก็ต้องแก้ ที่สำคัญคือ ทำตามกำหนดเวลา ไม่ใช่สั่งแล้วหายกับสายลมและแสงแดดและเต็มไปด้วยเหตุผลที่ไม่ทำ
นักศึกษารุ่นนั้นได้ประสบการณ์ที่ต่างบอกว่าไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะทำได้ ดิฉันยังจำได้ถึงอากัปกริยาที่เด็กๆ ลูบต้นฉบับที่บอกว่า “ผ่าน” แล้วเปิดอ่านทีละหน้า ต่างน้ำตาไหลพราก พึมพำว่าพวกหนูไม่คิดว่าชีวิตนี้จะมีผลงานเป็นเล่มๆ แบบนี้
สะท้านใจ 😀  อดคิดไม่ได้ว่า หากพวกเขาดื้อดึง หรือถือดีไม่ยอมทำแล้วจะทำอย่างไร? หรือ ผลจะเป็นอย่างไร?
ครั้งนี้นอกจากโจทย์ทำแบบครั้งที่ 1 แล้ว สิ่งที่ให้ทำคือ ต้องการวาทะนักเขียน เพราะปีที่แล้วส่วนนี้ทำไม่สำเร็จ
นิสัยส่วนตัวนั้นจะรู้สึกอึดอัดใจกับขั้นตอนของการ “รอ”  แบบไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน สรุปคือทำเองดีกว่า
ดิฉันทำงานด้วยการใช้วิธีตั้งสเตตัสในไลน์แบบอ่านคนเดียวว่านักเขียนแต่ละคนพูดว่าอย่างไรและเราถูกใจประโยคไหน วันหนึ่งนั่งใกล้น้องกาญจน์ที่ใช้วิธีจดโน๊ตลงในมือถือ ดิฉันทำแบบน้องไม่เป็นจึงต้องไปขอความรู้ทำอย่างไร รู้สึกถึงความเป็นคนไทย 4.0 ขึ้นมาทีเดียว
เมื่อการ “รอ” เป็นทุกข์ และอยาก “เอาที่สบายใจ” ระหว่างฟังดิฉันจึงถ่ายรูปนักเขียน เลือก แต่งภาพ ตัดภาพ เซฟแล้วก็ส่งในข้อความในเฟสบุ๊คของลูก เพราะโหลดรูปออกมาง่าย เมื่อนักเขียนพูดเสร็จ แล้วเราได้คำพูดแล้ว ขออนุญาต ก็เข้ามาทำงานที่โต๊ะ สร้างรูปแบบสำเร็จรูปเอาไว้เมื่อวันแรก วันต่อๆไปก็แค่โหลดรูป เปลี่ยนรูป เปลี่ยนข้อความ เปลี่ยนวันที่ อ่านทวน ถ้าไม่มีเรื่องอะไรเข้ามาแทรกก็จะใช้เวลาแค่สิบนาที ทำเสร็จส่งอีเมลให้คนที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ พร้อมทั้งตามงานโดยใช้มือถือจาก 3 ที่ เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม และเว็บไซต์
รู้สึกสบายใจ เพราะคงทุกข์มากหากอยู่ในสภาวะ “ดีลช้า” “ตื่นสาย” “ตลาดวาย”
บ่ายของวันอังคารดิฉันนำข้อความของนักเขียนทุกท่านมาเรียงต่อๆ กัน อ่านแล้วชอบมาก เพราะสามารถร้อยเรียงกันเป็นเรื่องที่เตือนใจ ให้เราฉุกคิดขึ้นมาได้ ขอบคุณครูผู้สอนวิชาสุนทรียศาสตร์ที่ให้คิดทุกคำที่อ่าน  🙂









สุดท้ายขอบคุณนักเขียนทุกท่านที่ให้เกียรติทับแก้วบุ๊คแฟร์ ขอบคุณร้านหนังสือและสื่อต่างๆ รวมถึงร้านอาหาร และสุดท้ายที่ต้องขอบคุณมากๆ คือพวกเราทุกคนที่ช่วยกันจัดงานครั้งนี้รวมถึงงานอื่นๆ ในห้องสมุด 😀
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร