ถกแถลง

เมื่อครั้งไปเรียนหนังสือครูบอกว่าหลังจากที่เรียนแต่ละรายวิชาแล้วให้ทำสรุปและถกแถลงตามโจทย์ที่กำหนดไว้ให้กัน ดิฉันงุนงงกับคำว่า “ถกแถลง” มากคือสิ่งใดฦๅ จนอดที่จะค้นคว้าหาอ่านไม่ได้ ทั้งที่ทำงานตามเข้าใจกันไปแล้ว
 
เมื่อพิจารณาตามตัวอักษรมีอยู่ 2 คำ คือ คำว่า “ถก” ซึ่งหมายถึง ยกเอาขึ้นมาพิจารณากันด้วยเหตุผล และ “แถลง” คือ บอก เล่า หรือแจ้งให้ทราบ หรือกล่าวอธิบาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องการการใช้คำพูดทั้งสิ้น
 
อักษร “ถ” นี้น่าสนใจเพราะยังมีคำว่า “เถียง” และ “แถ” ที่เป็นเรื่องของการใช้คำพูดเช่นกัน
 
เท่าที่ค้นๆและหาอ่านมามีคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้คือ dialogue  เช่น ละครถกแถลง (Dialogue theater) เป็นการแสดงที่มุ่งนำเสนอปัญหาความขัดแย้งต่างๆในสังคมผ่านการแสดงละคร โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก อาจเรียกว่าส่วนเนื้อ เรื่องหรือส่วนแสดง ละครส่วนที่สองเป็นช่วงถกแถลง คือการเปิดเวทีหลังการแสดง กระตุ้นให้ผู้ชมแลกเปลี่ยนถกเถียงกับตัว
ละครหลักในเรื่อง เพื่อทำความเข้าใจและหาทางคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน อ่านเพิ่มเติมที่ https://goo.gl/7CGjLC
 
ส่วนอีกคำหนึ่งที่พบคือคำว่า deliberative เช่น คำว่าประชาธิปไตยแบบถกแถลง (deliberative democracy) ในคำนำของหนังสือเรื่อง รายงานการประชุมถกแถลงรัฐธรรมนูญ อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.peace.mahidol.ac.th/th/document/report/peaceful30.07.55.pdf คำว่า deliberative หมายถึงการ การตรึกตรอง การปรึกษาหารือ การใคร่ครวญ สุขุม รอบคอบ ใคร่ครวญ
 
ส่วนตัวแล้วมักคุ้นกับคำว่า dialogue ที่หมายถึง สุนทรียสนทนา ซึ่งดิฉันได้เขียนไปหลายครั้งกับเรื่องนี้ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=20440 , http://202.28.73.5/snclibblog/?p=32694 , http://202.28.73.5/snclibblog ?p=18013 ,  http://202.28.73.5/snclibblog/?p=9325
 
ส่วนเรื่อง “ถกแถลง” ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้อธิบายไว้ว่า ถกแถลง ไม่ใช่ ถกเถียง จึงไม่ได้มุ่งหมายเพื่อเอาชนะ แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ไม่ได้มุ่งหมายเพื่อนำไปสู่ความขัดแย้ง แต่มุ่งหมายเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือ และการหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน ดังนั้น ในวงสนทนาจึงไม่มีใครมองใครเป็นศัตรู แต่มองกันเป็นพี่น้อง เป็นเพื่อน เป็นญาติ เป็นคนในสังคมเดียวกัน เป็นมนุษย์ในโลกใบเดียวกัน จึงมุ่งถกแถลงด้วยความหวังดีต่อทุกฝ่าย ด้วยความจริงใจและเห็นแก่ประโยชน์ของทุกฝ่ายร่วมกัน การถกแถลงที่อารยะมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการถกเถียง การพินิจพิจารณาในแง่มุมที่แตกต่าง เพื่อค้นหาข้อสรุปที่ดีที่สุดร่วมกันได้ โดยตระหนักว่า เราสามารถกำหนดอนาคตที่ดีกว่าร่วมกันได้ แม้เราจะมีมุมมองความคิดที่อาจไม่เหมือนกันเลยก็ตาม อ่านรายละเอียดต่อได้ที่นี่ http://www.kriengsak.com/Aryabhata%20discussed%3A%20sharing%20different%20angles%20of%20view
 
จะ “ถกแถลง” หรือ “สุนทรียสนทนา” ต่างเป็นเรื่องของการฟังและการได้ยินที่ใช้ความใคร่ครวญ นำไปสู่ความร่วมมือ หาทางออก พัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องของโลกทางบวกทั้งสิ้น ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเรื่องที่ขึ้นกับตัวของเราทั้งสิ้นว่าจะนำสิ่งนั้นๆ ที่ได้ยินและได้ฟังมาใช้กับตัวเราได้มากน้อยแค่ไหน  😛
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร