อัจฉริยะ

3 February 2017
Posted by Kalayanapong

อัจฉริยะสร้างได้
มนุษย์ใช้ความสามารถของสมองไม่เกินร้อยละ 10 เท่านั้น
ทำอย่างไรจึงจะใช้ศักยภาพของสมองให้มากกว่านั้น
มีการค้นพบความจริงโดยนักจิตวิทยาการศึกษาชาวตะวันตกว่า

  1. สมองประมวลผลข้อมูลแบบคู่ขนาน คือสามารถทำหลายๆ สิ่งได้

ในเวลาเดียวกัน หรือ พร้อมกัน ระหว่างความคิด อารมณ์ จินตนาการ และความรู้สึก

  1. การเรียนรู้ใช้ทุกส่วนของร่างกายเป็นองค์ประกอบ เช่น การออกกำลังกาย

การพักผ่อน การจัดการความเครียด ล้วนมีผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้

  1. การค้นหาความหมายของสิ่งต่างๆ เป็นพื้นฐานการทำงานของสมองมนุษย์

ซึ่งต้องอาศัยความพยายามค้นหาและทำความเข้าใจกับแบบแผนที่มีอยู่

  1. อารมณ์มีความสำคัญต่อการเรียนรู้
  2. สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาทำหน้าที่เสริมซึ่งกันและกัน
  3. สมองประมวลผลข้อมูลโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว กับข้อมูลที่อยู่โดยรอบ

เช่น เสียงระฆัง การเคลื่อนไหวของร่างกาย

  1. ความจำมีสองประเภท คือ ความจำแบบมีระยะทาง

(Spatial memory)และความจำแบบท่องจำ (Rote memory)
สมองเข้าใจและจำได้ดีที่สุด ถ้าอยู่ในการจำแบบมีระยะทาง

  1. สมองแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะ การเรียนรู้จึงควรมีหลายด้าน

เพื่อให้มีการแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ กัน
เป็นเรื่องของสมองกับความคิดสร้างสรรค์ในอีกแง่มุมหนึ่ง
(เก็บความจาก Productivity World 18, 106 (2556))

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร