เครียดอย่างฉลาด

ดิฉันเชื่อว่าหลายๆคนคงรู้จักกับความเครียด ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่อาการเครียด บ่อยมาก จนกระทั่งร่างกายฟ้องว่าไม่ไหวแล้วถึงขั้นต้องไปพบหมอกันเลยทีเดียว กินยาก็ดีขึ้น แต่พอเจอกับเรื่องๆต่างๆมากเข้าก็กับมาเครียดเหมือนเดิม สุขภาพแย่ลง  พลอยทำให้คนรอบข้างเครียดตามไปด้วย จนกระทั่งได้มาพบหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ เครียดอย่างฉลาด ตรงกับความต้องการของดิฉันที่จะหาทางจัดการกับความเครียดอยู่พอดี เรื่องนี้ แต่งโดยคุณหมอวิโรจน์ ตระการวิจิตร คุณหมอเขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์ของคุณหมอเอง ดังนี้ ค่ะ ในช่วงที่คุณหมอสอบเข้าต่อ ชั้น มศ 1  ที่โรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่ง คุณหมอดีใจมากที่สอบเข้าได้ แต่ความดีใจก็อยู่ได้ไม่นานเริ่มมีอาการเครียดเพราะ เจอคนเก่งๆเยอะ และพื้นฐานคุณหมอเป็นคนคิดมากอยู่แล้ว พอผลการเรียนต่ำลง  คุณหมอเริ่มปวดท้องไปหาหมอ ตรวจพบว่าเป็นโรคกระเพาะอักเสบ  กินยาอาการจึงทุเลาลง พอสอบติดแพทย์อาการก็กลับมาอีกเพราะต้องเรียนหนัก เมื่อเข้าสู่การทำงานอาการปวดท้องก็ยังไม่หายไป ด้วยลักษณะอาชีพที่ต้องพร้อมเสมอสำหรับคนไข้ กอปรกับการเดินทางระหว่างบ้านและที่ทำงาน ที่ห่างไกลกันทำให้ต้องออกเดินทางแต่เช้า เวลาพักผ่อนจึงน้อยลง  จนถึงจุดที่คุณหมอต้องเลือกระหว่างสุขภาพและหน้าที่การงาน คุณหมอจึงเลือกดูแลสุขภาพของตนเองโดยการเลือกที่ทำงานที่ใกล้บ้าน ยอมทิ้งอนาคต ความเชี่ยวชาญพิเศษ และความมั่นคงในชีวิต เมื่อได้ทำงานใกล้บ้าน ทำให้คุณหมอมีเวลาในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตใหม่ จนพบวิธีคลายเครียด ซึ่งแต่ละวิธีที่คุณหมอแนะนำในเล่มนี้คุณหมอได้ทดลองมาแล้ว มีดังนี้

  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การวิ่งเหยาะ เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น  เป็นการออกกำลังกายที่หัวใจ ปอด กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ เลือดสูบฉีดดีขึ้น ทำให้ไปเลี้ยงสมองมากขึ้น สมองก็จะทำงานได้ดี ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปี้กระเป่า ความเครียดก็จะหายไป
  • นอนดี ไม่มีเครียด พักผ่อนให้เป็นเวลาและนอนให้เพียงพอ จะช่วยให้เมื่อตื่นขึ้นมารู้สึกกระฉับกระเฉง
  • การหัวเราะและอารมณ์ขัน จะช่วยปลดปล่อย ระบาย อารมณ์ไม่ดีที่คั่งค้างออกจากตัวเราได้
  • ศิลปะบำบัด ไม่ว่าจะเป็นศิลปกรรมบำบัด ดนตรีบำบัด โคลงกลอนบำบัด เป็นต้น ซึ่งเราต้องเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง จะได้ผล
  • สีน้ำวิปัสสนา วิธีนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการวาดภาพสีน้ำและการเจริญวิปัสสนา คุณหมอเล่าว่า ช่วงสงกรานต์ ปี 54 คุณหมอไปเข้าคอร์ส สีน้ำวิปัสสนากับครูเป้ ที่โรงเรียนบ้านธรรมชาติ แถวริมแม่น้ำนครชัยศรี ตอนตี 5 ครูเป้จะให้สวดมนต์เจริญภาวนา 1 ชั่วโมง จากนั้นจะพาเดินตามคันนาไปชื่นชมธรรมชาติยามเช้า จนถึงเวลา 8 โมงเช้าจึงกินอาหารเช้า เริ่มเรียนวาดภาพตอน 9 โมง พักทานอาหารกลางวัน  ตอนบ่ายจึงเริ่มเรียนใหม่ จนถึงเวลาเย็น หลังอาหารเย็นจึงนัดเจอครูเป้ตอน 2 ทุ่ม ครูเป้จะให้นั่งเจริญสมาธิ
  • โยคะภาวนา การฝึกโยคะเป็นการผสานกายและจิตให้ควบคู่กันไป
  • การฝึกชี่กง เป็นการกระตุ้นพลังลมปราณ/ พลังชีวิต ให้ไหลเวียน ช่วยให้เลือดลมสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
  • ภวังค์บำบัด เป็นการบำบัดในระดับจิตใต้สำนึก เมื่อเราเข้าสู่ภวังค์ จะเป็นการเปิดโอกาสให้จิตใต้สำนึกได้เผยตัวตนออกมา เราจะสามารถแก้ปมปัญหาที่ค้างคาในจิตใต้สำนึกได้
  • พลังแห่งการสวดมนต์ การสวดมนต์มีจังหวะเสียงและท่วงทำนองที่ใกล้เคียงกับคลื่นหัวใจ เกิดการผสานกันทำให้ช่วยรักษาโรคได้
  • การทำสมาธิ
  • โปรแกรมเจริญสติลดเครียด ความเครียดที่มีเหตุมาจากทางใจ เช่น เกิดจากจิตที่คิดเรื่องในอดีต ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และจิตที่คิดเรื่องในอนาคต ก่อให้เกิดความวิตกกังวล การเจริญสติสัมปชัญญะ คือการทำให้จิต / กำหนดใจของเราอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด

คุณหมอบอกว่า ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคน สาเหตุของความเครียดอาจแตกต่างกันไป บางคนอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองเครียด บางคนไม่ยอมรับว่าตนเองเครียด ทั้งๆที่อาการแสดงออก / เพื่อนบอก บางคนรู้ว่าตนเองเครียด แต่ยังยอมจมปลักกับมัน บางคนรู้ว่าตนเองเครียด พยายามหาทางออก แต่ยังหาไม่สำเร็จ บางคนรู้ว่าตนเองเครียด พยายามหาทางออกและสำเร็จ  คุณหมอได้แนะหลักการเครียดอย่างฉลาด โดยให้เราตระหนักรู้ว่าความเครียดเกิดกับตัวเราแล้ว ตระหนักถึงผลเสียของความเครียด รักและเมตตาตัวเองให้มากๆ สืบหาต้นตอของความเครียด วิเคราะห์หาความเครียดว่าเกิดจากภายในหรือภายนอก แล้วทดสอบหาวิธีที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น
จากหลายๆวิธีที่คุณหมอแนะนำ ดิฉันต้องลองไปทดลองหาวิธีที่เหมะกับตนเอง และคงต้องทำให้เป็นนิสัยเพื่อสุขภาพของตนเอง และที่สำคัญคือ ทำชีวิตให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่อาลัยอาวรณ์กับอดีต จมอยู่กับอดีต หรือวิตกกังวลกับอนาคต คาดหวังมากเกินไป
 
ที่มา : วิโรจน์ ตระการวิจิตร. เครียดอย่างฉลาดและมีความสุข. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, 2557

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร