การตรวจความถูกต้องของการ catalog หนังสือ

     ภาระงานประจำของบรรณารักษ์ catalog นอกจาก วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือและให้หัวเรื่องแล้ว ยังมีอีกงาน คือ การตรวจความถูกต้องของการลงรายการ โดยบรรณารักษ์ catalog ในฝ่าย ซึ่งมีด้วยกัน 3 คน จะหมุนเวียนกันตรวจความถูกต้อง เพื่อให้งานมีคุณภาพ
 
ขั้นตอนการตรวจความถูกต้องฯ มีดังนี้

  • การตรวจความถูกต้องในฐานข้อมูล
  • การตรวจความถูกต้องของตัวเล่ม
  • การตรวจความถูกต้องของ Slip

 

  • การตรวจความถูกต้องในฐานข้อมูล

          เป็นการตรวจความถูกต้องของการลงรายการตามหลัก AACR2 และ MARC 21 สิ่งที่ตรวจสอบ มีดังนี้
 1. การลงรายการที่ leader ประกอบด้วย

  • lang รหัสภาษาที่ตีพิมพ์ของหนังสือ
  • skip จำนวนอักขระที่ไม่นับในการจัดเรียง (ใช้กับหนังสือภาษาต่างประเทศ)
  • location การใส่ชื่อรหัสวิทยาเขตที่มีตัวเล่ม
  • mat type ประเภทวัสดุ เช่น หนังสือ วิทยานิพนธ์
  • country รหัสประเทศที่ตีพิมพ์หนังสือ

2. การลงรายการในหน้าระเบียน ซึ่งประกอบด้วย tag ต่างๆ คือ

  • tag 008
  • tag 020 เลข isbn
  • tag 050 เลขหมู่
  • tag 1xx รายการหลัก ผู้แต่งบุคคล นิติบุคคล
  • tag 245 ชื่อเรื่อง และการแจ้งความรับผิดชอบ
  • tag 250 ครั้งที่พิมพ์
  • tag 260 สถานที่พิมพ์/สำนักพิมพ์/ปีพิมพ์
  • tag 300 พิมพลักษณ์(ลักษณะทางกายภาพ)
  • tag 490 ชื่อชุด
  • tag 5xx หมายเหตุทั่วไป
  • tag 6xx หัวเรื่อง
  • tag 7xx รายการเพิ่มบุคคล นิติบุคคล

ส่วนใหญ่การลงรายการ tag ต่างๆ จะประมาณนี้ บางเล่มอาจมีการลงรายการมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลในตัวเล่ม
3. ความถูกต้องของตัวสะกด
4. ความถูกต้องของการลงรายการข้อมูลใน item record (เลขทะเบียนของหนังสือ) เช่น

  • จำนวนเล่มของหนังสือ
  • การใส่ code หนังสือภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ยืมได้ หรือ ยืมไม่ได้
  • location ของหนังสือ (อยู่ที่ชั้นไหน)
  • หนังสือบริจาค หรือ หนังสือซื้อ
  • สถานะของหนังสือ (บรรณารักษ์จะใส่ รหัส l catalog)
  • ราคา
  • note ผู้บริจาค หรือ ชื่อร้านค้า
  • ชื่อบรรณารักษ์ catalog ที่ทำรายการเล่มนั้นๆ เป็นต้น
  • Barcode

 

  • การตรวจความถูกต้องของตัวเล่ม

          เมื่อบรรณารักษ์ลงข้อมูลรายการระเบียนในฐานเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การเขียนเลข item และเลขเรียกหนังสือ (call no.) ที่ด้านหลังหน้าปกใน และหน้าลับเฉพาะ ผู้ตรวจ จะตรวจดูว่าเขียนเลข item และ call no. ตรงกับฐานข้อมูลหรือไม่ นอกจากนี้ยังดูว่าเขียนเลข bib ที่ตัวเล่มหรือไม่
 

  • การตรวจความถูกต้องของ Slip

ผู้ตรวจ จะตรวจความถูกต้องของการเขียน call no ใน slip ว่าตรงกับในฐานข้อมูลหรือไม่
 
          หากตรวจสอบแล้วพบว่าลงรายการถูกต้องทั้งหมด ผู้ตรวจจะลงชื่อและวันที่ตรวจลงในslip ที่แนบมากับตัวเล่ม ในกรณีที่พบข้อผิดพลาด หรือ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น การเพิ่มชื่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบ เป็นต้น จะแจ้งข้อผิดพลาดหรือข้อเสนอแนะลงในslip พร้อมทั้งลงชื่อและวันที่ จากนั้นส่งคืนตัวเล่มให้บรรณารักษ์ที่วิเคราะห์หนังสือเล่มนั้นๆเพื่อแก้ไข

        การตรวจความถูกต้องฯ นี้ จะช่วยลดข้อผิดพลาดของการลงรายการในระบบ และเป็นการเพิ่มความระมัดระวังให้กับบรรณารักษ์catalog ในการลงรายการมากขึ้น สิ่งสำคัญของการตรวจ คือ การเปิดใจและยอมรับของบรรณารักษ์ catalog ในการยอมรับฟังข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นของ บรรณารักษ์ catalog ด้วยกัน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร