รหัสผ่านสิ่งที่ต้องปกปิด

26 July 2009
Posted by Ekanong Duangjak

ครั้งก่อนเขียนเรื่อง Sxipper ที่เป็นเครื่องมือช่วยจำ password หรือรหัสผ่านไป ไม่ทราบว่ามีใครลองใช้หรือเปล่าค่่ะ แต่น้องเอ๋ที่นั่งโต๊ะติดกันลองแล้วบอกว่า ไม่ค่อยชอบเท่าไร แต่ตัวผู้เขียนทดลองใช้แล้วติดใจ แต่ก็มีปัญาเหมือนกัน ก็คือว่า เจ้า Sxipper เนี๊ยะ เวลาิติดตั้งมันไว้ที่เครื่องไหนมันก็จะอยู่ในเครื่องนั้น ที่นี้พอเกิดอยากเปลี่ยนเครื่องใช้งาน ก็อาจเกิดอาการงงและลืม password หรือรหัสผ่านกันได้ใช่ม๊า ก็ต้องอาศัยวิธีจดบันทึก password หรือรหัสผ่าน หรือใช้ password หรือรหัสผ่านที่จำกันได้ง่ายๆ ใช่ปล่าว ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเป็นกันบ่อย โดยเฉพาะรหัสผ่านที่ยาก หรือยาวๆ ยิ่งหากเข้าหลายโปรแกรม หลายเว็บไซต์เปลี่ยนรหัสมันไปทุกครั้งทุกที่ด้วยแล้วยิ่งแล้วใหญ่ ไอ้จะใช้เหมือนๆกันทั้งหมดเดี๋ยวคนอื่นรู้ครั้งเดียว ก็เข้าไปดูของเราได้หมดอีก กลุ้มจริงจริ๊ง

ทีนี้มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เจ้า password หรือรหัสผ่าน เป็นที่สิ่งที่คนเป็นเจ้าต้องปกปิดไว้ไม่ให้ใครล่วงรู้ แต่ก็เป็นสิ่งที่คนอื่นอยากรู้ เพื่อที่จะได้เข้าไปดูว่าข้อมูลที่อยู่เบื้องหลัง เจ้า password หรือรหัสผ่าน นี้คืออะไร โดยเฉพาะอาชญากรในโลกไซเบอร์ วันนี้ตรวจข่าวพบข่าวกรอบเล็กๆ ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 หน้า 26 เรื่อง”วิจัยคำ-ข้อความยอดนิยม ใช้เป็นรหัสผ่าน” เค้าเขียนไว้ว่า โลกทุกวันนี้ในเว็บไซต์ต่างๆ นิยมให้ใช้รหัสผ่านเพื่อความปลอดภัย เพื่อป้องกันการถูกฉกถูกแฮคข้อมูลสำคัญโดยอาญชากรในโลกไซเบอร์ คุณกิตติพล อัจฉริยากรชัย (เขียนลงในวารสารคอมพิวเตอร์ทูเดย์) บอกว่า เว็บไซต์ส่วนใหญ่กำหนดให้ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยโดยอิงจากจำนวนอักษารเป็นหลัก ซึ่งไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก เพราะมีการใช้ข้อความง่ายๆ ตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งเดาได้ง่ายเหลือเกิน แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็ไม่สนใจ นั่นเป็นที่มาของการเก็บสถิติรวบรวมเอารหัสผ่านกว่า 28,000 รายการ ที่ถูกขโมยจากเว็บไซต์ใสหรัฐอเมริกา โดยบริษัท Errata Security มาวิเคราะห์ ซึ่งผลลัพท์ที่ออกมาคือ
password หรือรหัสผ่านยอดฮิต ที่คนส่วนใหญ่ตั้งกันนั้นเดาได้ง่ายโดยเฉพาะ
16 % ใช้ชื่อของตนเองเป็นรหัสผ่าน บางทีอาจเปลี่ยนเป็นชื่อลูกๆ หรือคนใกล้ชิดในครอบครัว เช่นสามี ภรรยา
14 % ใช้รหัสผ่านแบบชุดแป้นพิมพ์ที่ติดกันเช่น 1234, 123456, 1234567 หรือ qwerty เป็นต้น
5 % ใช้ชื่อดาราหรือตัวการ์ตูนโปรดมาแทนรหัสผ่าน
4 %คนที่เรียบง่ายเหล่านี้ใช้รหัสผ่านว่า password ตรงความหมายดี
3 % ใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น whatever, yes, no, iloveyou เป็นต้น
สรุปว่า 42 % ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใช้รหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย และเดาได้ง่าย ซึ่งนำพาไปสู่ปัญหาไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูล การสร้างความเสียหายทางด้านการเงิน จากแฮคเกอร์
งานวิจัยชิ้นนี้แนะนำว่า รหัสผ่านที่ดีควรยาวเกิน 8 ตัวอักษร และทั้งตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ที่สำคัญอย่าตั้งยากจนเกินจนจำไม่ได้ เลยต้องจดรหัสผ่านเอาไว้ที่ข้างจอมอนิเตอร์ เพราะยิ่งจะอันตรายเข้าไปใหญ่
เฮ้อ! เป็นงัยบ้างค่ะ อ่านแล้วนึกถึงตัวเราเองทันทีเลยใช่มั๊ย ทั้งวิธีการตั้งรหัส ทั้งวิธีการจดรหัสไว้ตามที่ต่างๆ เห็นที่ต้องมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ รหัสผ่านกับข้อมูลที่สำคัญๆ กันละมั่ง
ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์มติชนรายวันวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 หน้า 26

One thought on “รหัสผ่านสิ่งที่ต้องปกปิด

  • ของพี่ชาตินี้ขอมี PW อยู่สองชุดใช้สลับกันไปมา ยังลืมเลย แต่เวลาจะทำธุรกรรมออนไล์นั่นจะระวังมาก ส่วนซื้อของนั้นให้คนใกล้ตัวซื้อให้เพราะ PW ขั้นเทพ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร