เขียนไม่ได้ ไม่รู้จะเขียนอะไร

หลายคนตั้งคำถามว่าเขียนไม่ได้ ไม่รู้จะเขียนอะไร เป็นคนละเรื่องเดียวกัน จึงขอนึกย้อนจากประสบการณ์ของตัวเองมาเล่าให้ฟัง 😛
สมมุติว่าเราจะเริ่มต้นเขียนเรื่อง ก ถามตัวเองว่าเรามีประสบการณ์กับเรื่อง ก มากน้อยแค่ไหน ลึกซึ้งเพียงใด
ถ้าประเมินตัวเองไม่ได้ ให้ย้อนเวลาว่ามีเพื่อนมาถามเราเรื่องนี้บ่อยมั้ย แล้วเราตอบได้อย่างคล่องแคล่วหรือไม่ หรืออธิบายถึงความเป็นมาและคาดว่าจะเป็นไปได้ได้อย่างเป็นต้อยเป็นติ่งหรือป่าว ถ้าคำตอบว่าคือเรานี่แหละ!!! ก็แปลว่า ใช่ (ยินดีด้วย)
ขั้นต่อไปให้นั่งนิ่งๆ ตอบให้ได้ว่า ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร ถ้าเราใช้ความนิ่งแล้วเราคิดออกว่าต่อไปอย่างไร ก็ให้เพิ่มไปด้วย จากนั้นเขียน (พิมพ์) ออกมาเป็นภาษาของเรา อ่านทบทวน จนเราไม่มีข้อสงสัย ส่งให้เพื่อนอ่าน ถ้าเพื่อนมีข้อสงสัยต้องปรับวิธีการเขียน ไม่ใช่หาเหตุผลอธิบายจนเพื่อนคล้อยตามและเราไม่ต้องแก้ไขอะไร  โปรดใช้วิธีการของวิทยากรที่บรรยายเรื่อง จิตบริการ เมื่อวันก่อน ซึ่งคุณพี่นก หัวหน้าฝ่ายบริการได้เขียนสรุปไว้แบบครบครัน คาดว่ากำลังส่งสารไปถึงผู้ที่มีพันธะสัญญากับเรื่องนี้  http://202.28.73.5/snclibblog/?p=54892 และ  http://202.28.73.5/snclibblog/?p=56066
จากนั้นหากยังไม่เชื่อมั่นอีก ส่งให้เพื่อนคนอื่น และต้องรู้จักเลือกว่าใครจะช่วยเราได้ คำว่าช่วย ไม่ได้หมายความว่าคนนั้นเขียนหนังสือดี หมายความว่าให้ช่วยอ่านแล้วบอกว่าเข้าใจภาษาที่เราเขียนหรือไม่ เราอาจพบเพื่อนผู้เข้าใจทุกอย่างในโลก เพื่อนผู้มีคำถาม เพื่อนช่างซัก ฯลฯ ตรงนี้ให้นึกถึงเวลาซื้อล้อตเตอรี่ว่าเราพยายามเลือกเลขที่คิดว่าเด็ด ทั้งๆที่เราไม่รู้เลยว่าคืออะไร แต่เอกสารที่เรามีอยู่ในมือ คือเรารู้ว่าคืออะไร  😛 สุดท้ายคือคุณหัวหน้าของท่าน เพราะคุณๆ จะเป็นผู้ดูแล เป็นปากและเป็นเสียงให้เรา เมื่อมีคนอื่นๆถาม
สมมุติว่าเราอยากเขียนเรื่อง ถามตัวเองว่าเรามีประสบการณ์กับเรื่อง ข มากน้อยแค่ไหน ลึกซึ้งเพียงใด
หากคำตอบว่า ไม่ แต่ใจมันรักห้ามอย่างไรก็ไม่เชื่อ  ขอให้นำวิธีการข้างบนมาใช้ แต่ถ้านั่งนิ่งๆ ไม่ได้ ก็ต้องไปแสวงหาข้อมูลเพื่ออ่าน ส่วนตัวดิฉันจะเลือกที่อ่านอย่างน้อย 3 แหล่ง แต่ถ้า 3 แหล่งนั้น มีข้อมูลที่เหมือนกันก็ตัดออกไป เพราะในกูเกิ้ลมักลอกๆ กันมาจนไม่สามารถหาต้นแหล่งพบ จนกว่าจะมีการฟ้องร้อง ถ้าเหมือนกันนั่นแสดงว่าไม่ครบ 3 แหล่ง อย่างที่กำหนดไว้ก็ต้องหาเพิ่ม
จากนั้นก็อ่านจนเราเข้าใจ เลือกประเด็นออกมาเขียน เฉพาะเรื่องที่เราเข้าใจเท่านั้น มีบางส่วนที่ตัดแปะแต่จะใช้วิธีการอ้างอิงในเนื้อหา เพราะเขียนบรรณานุกรมในบล๊อกชอบขยับไปมาไม่ได้ดังใจ
ส่วนตัวแล้วจะไม่เขียนในสิ่งที่เราไม่รู้จักหรือไม่เข้าใจ เพราะถือว่าการทำแบบนั้นเป็นการสร้างภาระให้กับตัวเองเพราะต้องใช้เวลาแสวงหา รวมถึงความรับผิดชอบในสิ่งที่เราเขียนออกไปเผยแพร่  😀 เพราะหลังจากเขียนแล้ว กลัวเพื่อนถาม!!
กรณีต่อมาคือ ไม่รู้จะเขียนอะไร ให้นั่งนิ่งๆ หลับตา ปล่อยใจให้ว่าง แบบวิทยากรแนะนำ แล้วทบทวนว่าวันนี้เรามีบทสนทนาหรือวิวาทะกับเพื่อนๆ เรื่องอะไรบ้าง เพราะทุกคนต้องมีเรื่อปราศัยกันและต้องมีเรื่องงานแฝงอยู่บ้าง หากยืนยันมาไม่มีอิ้ก หรือมีแต่เขียนออกสื่อไม่ได้  ก็ต้องหาว่าเราอยู่ในองค์กร เราไม่รู้เรื่องอะไรบ้าง หรือแวดวงห้องสมุด หรือในโลกนี้มีคำศัพท์อะไรใหม่ๆ เข้ามาใช้ เช่นค่ำๆ วันศุกร์ฟังท่านนายกฯ พูด ก็จะมีเรื่องราวให้เรารู้ความเป็นไปของประเทศ
เคสนี้เคยเล่าให้หลายคนฟังว่า มีนักศึกษาปริญญาเอกคนหนึ่งไม่สามารถเขียนงานได้ อาจารย์แนะนำว่าให้พูดอัดเสียง แล้วเขียนตามที่พูด วิธีการเราขอไม่ทำ เพราะรู้สึกเขินอาย 😯
ไม่ว่าจะเทคนิคอะไร เริ่มต้นที่ตัวเราทั้งนั้น !!! ใครมีเทคนิคอะไร หรือเห็นวิธีการแปลกๆมาแชร์กันค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร