นามแฝงหรือนามปากกา

 :mrgreen: นามแฝง หรือ pseudonym หมายถึง ชื่อที่แต่งหรือตั้งขึ้น เพื่อใช้เรียกแทนชื่อจริงของบุคคลเป็นการส่วนตัว บางครั้งนามแฝงสามารถใช้อ้างถึงบุคคลในทางกฎหมายได้ บุคคลหรือศิลปินที่มีชื่อเสียงอาจใช้นามแฝงในการแสดงหรือการเขียนหนังสือมากกว่าใช้ชื่อจริงของตน  (ที่มา :   https://th.wikipedia.org/wiki/นามแฝง)  นักเขียนก็เช่นกันส่วนมากจะใช้นามแฝงหรือนามปากกาในการสร้างสรรค์ผลงานเขียนต่างๆ
นามปากกา หมายถึง ชื่อที่นักเขียนหรือนักประพันธ์ใช้แทนชื่อจริงของตน โดยทั่วไปเป็นชื่อที่ยอมรับเพื่อใช้ปกปิดตัวของผู้เขียน นามปากกาสามารถเป็นชื่อของบุคคลหนึ่งที่มีจริงที่ผู้เขียนใช้เป็นนามปากกาของตน นามแฝงในนิยาย (เช่น Avi ใช้เป็นนามปากกาของ Eward Irving Wortis) นามแฝงที่ใช้ตามชื่อจริงของผู้เขียน (เช่น Dr.Seuss ใช้เป็นนามแฝงของ Theodor Seuss Geisel) หรือคำหรือวลีที่ไม่ได้เป็นชื่อบุคคล (เช่น Spy ใช้เป็นนามปากกาของ Sir Leslie Ward) นามปากกาเป็น ชื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อการเขียนยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างในปัจจุบันนี้ และถือว่าเป็นอาชีพที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้หญิง (เช่น George Eliot ใช้เป็นนามปากกาของ Mary Ann Evans Cross) (ที่มา : https://dict.longdo.com/search/นามปากกา-)

หลักเกณฑ์ในการลงรายการกรณีที่ผู้แต่งเป็นนามแฝง ให้ใช้นามจริงลงในรายการผู้แต่งหลัก (Tag 100) และลงรายการนามแฝงในรายการชื่อเรื่อง (Tag 245) และใส่วงเล็บเหลี่ยม [นามแฝง] ถ้าหากทราบชื่อจริงของผู้แต่งคนนั้นๆ แต่ถ้าหนังสือเล่มนั้น ไม่มีชื่อจริง หรือไม่มีข้อมูลที่แสดงถึงชื่อจริง หรือไม่สามารถหาชื่อจริงได้ให้ใช้นามแฝงลงเป็นรายการหลักใน Tag 100 ได้เลย ส่วนนี้เป็นข้อตกลงในการทำงาน ณ ปัจจุบันของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์

แต่ถ้าหากจะพิจารณาตามกฎของ AACR2 จริงๆ แล้ว ในการลงรายการ กรณีของนามแฝง ทางเลือกในการลงรายการชื่อผู้แต่ง กฎข้อ 22.2 Choice among different names
กฎข้อย่อย 22.2B Pseudonyms เนื่องจากนามแฝงถูกกำหนดให้เป็น การแสดงตัวตนของผู้เขียน เพื่อการปกปิดหรือปิดบังตัวตนเขาเหล่านั้น ดังนั้นการใช้กฎข้อนี้เป็นการใช้กับบุคคลที่มีการเผยแพร่ผลงานภายใต้นามแฝง
มีเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่ 4 ประการ
22.2B1 One pseudonyms ใช้กับบุคคลที่สร้างสรรค์ผลงาน แล้วผลงานทุกชิ้นใช้นามแฝงเพื่อแสดงตัวเพียงอย่างเดียว ไม่เคยใช้ชื่อจริงในการสร้างสรรค์ผลงาน หากเป็นแบบนี้ ให้ลงรายการหลักที่นามแฝง แล้วทำรายการโยงชื่อจริงไปดูที่นามแฝงแทน เนื่องจากชื่อที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นนามแฝงนั้นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่

  • โกวเล้ง นามแฝงหรือนามปากกาของ สยง เย่าหัว (ตามสำเนียงจีนกลาง) (Xiong Yaohua) หรือ เอี้ยวฮั้ว แซ่ฮิ้ม (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) นักเขียนชาวจีนฮ่องกง เจ้าของนวนิยายจีนกำลังภายในหลายเรื่อง เช่น ชอลิ้วเฮียง, ฤทธิ์มีดสั้น เซียวฮื้อยี้  เซียวจับอิดนึ้ง
  • กิมย้ง นามแฝงหรือนามปากกาของ จา เลี้ยงย้ง (Cha Leung-yung) นักเขียนชาวจีน เจ้าของนวนิยายจีนกำลังภายในหลายเรื่อง เช่น มังกรหยก, กระบี่เย้ยยุทธจักร, อุ้ยเสี่ยวป้อ, แปดเทพอสูรมังกรฟ้า
  • มาร์ค ทเวน (Mark Twain) นามแฝงหรือนามปากกาของ แซมมวล ลองฮอร์น คลีเมนส์ (Samuel Langhorne Clemens) นักเขียนที่มีชื่อเสียงของ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้เขียนเรื่อง ทอม ซอว์เยอร์ ผจญภัย, ฮัคเคิลเบอรี่ ฟินน์ ผจญภัย เป็นต้น

22.2B2. Separate identities การที่มีนามแฝงแยกตามผลงานที่สร้างสรรค์ มีตั้งแต่สองหรือมากกว่า เช่น งานของประเภทหนึ่งปรากฏภายใต้นามแฝงหนึ่ง และผลงานและ / หรือบันทึกอื่น ๆ
ประเภทอื่น ปรากฏภายใต้ชื่อจริงของบุคคลหรือนามแฝงอื่น ๆ ให้ลงรายการที่นามแฝง และชื่อจริง แล้วทำรายการโยงดูเพิ่มเติม ระหว่างชื่อจริง และนามแฝง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ “ชัยคุปต์” เป็นนามปากกาของ… ชัยวัฒน์ คุประตกุล ถ้าเป็นงานเขียนหนังสือแนวทั่วไปหรือ แนววิทยาศาสตร์ ท่านจะใช้ชื่อ ชัยวัฒน์ คุประตกุล เช่นเรื่อง จากอะตอมถึงจักรวาล, จากโคลนนิ่งสู่คนหัวใจหมู เป็นต้น หากเป็นงานแนวนวนิยายหรือการแปลหนังสือท่านจะใช้ นามแฝง ชัยคุปต์ เช่น โปรเจกต์ เอกซ์ , ผู้พิทักษ์ เป็นต้น

22.2B3. Contemporary authors นักเขียนร่วมสมัยที่ใช้มากกว่าหนึ่งนามแฝงและ/หรือใช้ชื่อจริง และใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานที่แยกประเภทกันไป เนื่องจากนักเขียนบางคนเขียนโดยใช้นามปากกามากกว่าหนึ่งชื่อ และชื่อที่แตกต่างกันนี้ได้รับการยอมรับเมื่อผู้เขียนมีงานเขียนหลายแนวและใช้นามปากกาในงานเขียนแต่ละรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ว. วินิจฉัยกุล, แก้วเก้า เป็นนามปากกาของ รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ ซึ่งในกรณีนี้ก็จะต้อง แล้วทำรายการโยงดูเพิ่มเติม ระหว่างชื่อจริง และนามแฝงที่มีมากกว่าหนึ่ง

22.2B4 ถ้านักเขียนใช้นามแฝงมากกว่าหนึ่งนามแฝงหรือมากกว่านัั้น หรือชื่อจริง หรือมีชื่ออื่นอีก ให้พิจารณาใช้กฎข้อ 22.2B2 หรือ 22.2B3 ข้อใดข้อหนึ่ง
ในกฎของ AACR2 22.2B เป็นคำแนะนำในการเลือกชื่อที่จะใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการลงรายการบุคคลที่มีผลงานทั้งหมดจะปรากฏอยู่ภายใต้นามแฝง หรือชื่อที่แตกต่างกันออกไป แม้แต่กฎของ RDA ที่กำลังจะมาแทนที่ AACR2 นั้นก็ยังมีการกล่าวถึงข้อการใช้นามแฝงนี้เช่นกัน คำแนะนำที่สอดคล้องกันใน RDA ถึงบุคคลที่มีตัวตนมากกว่าหนึ่ง(RDA 9.2.2.8)
แหล่งอ้างอิง :
https://th.wikipedia.org/wiki/นามแฝง
https://dict.longdo.com/search/นามปากกา-
https://sites.google.com/site/opencatalogingrules/Home
http://www.cdncouncilarchives.ca/rad/rad_chapter22_march2008.pdf
https://sites.google.com/site/opencatalogingrules/aacr2-chapter-22#TOC-Choice-of-Name
http://www.library.yale.edu/cataloging/music/prefname.htm#9.2.2.8

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร