รูปแบบของรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม

:mrgreen: เรื่องราวใน Blog วันนี้ได้จากอยู่ปฏิหน้าที่ล่วงเวลา แล้วมีผู้ใช้บริการมีข้อสงสัยมาสอบถามข้อมูล เรื่องรูปแบบของการอ้างอิง ผู้เขียนก็เลยนำมาเขียนเป็น Blog แบบคร่าวๆ เพื่อแบ่งปันกับเพื่อนบรรณารักษ์ด้วยกัน
การสร้างสรรค์เขียนงานขึ้นมาชิ้นหนึ่งไม่ว่าจะเป็น บทความ รายงาน สารคดี งานวิจัย หรือแม้แต่การเขียน Blog โดยเฉพาะงานเขียนทางวิชาการ ย่อมต้องรายชื่อของเอกสารที่ผู้เขียนให้ค้นคว้าเพื่อมาทำเป็นผลงานชิ้นนั้นๆ หรือเพื่อเป็นหลักฐานที่สามารถแสดงให้เห็นว่างานเขียนชิ้นนั้น ผู้เขียนได้ค้นคว้ามาเป็นอย่างดี สามารถเชื่อได้ มีความรู้ที่สามารถนำไปอ้างอิงต่อไปได้
ใครรู้ข้อแตกต่างระหว่าง เอกสารอ้างอิง กับ บรรณนุกรมหรือไม่ ถ้าเป็นเอกสารที่มีการนำข้อมูลมาอ้างอิงในเนื้อเรื่องของบทความหรือรายงาน จะเรียกว่าเอกสารอ้างอิง ซึ่งภาษาอังกฤษใช้ References, Literature Cited, หรือ Reference Cited ในปัจจุบันมักใช้คำว่า References แต่ถ้าเป็นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เขียน แต่มิได้มีการนำข้อมูลมาอ้างถึงโดยตรงจะเรียกว่า บรรณานุกรม หรือ Bibliography นั่นเอง
การจัดทำรายชื่อเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่องมีหลายรูปแบบ การจะเลือกใช้แบบใดขึ้นอยู่กับการกำหนดของหน่วยงาน สถาบันการศึกษา หรือวารสารที่ตีพิมพ์ แต่เมื่อเลือกใช้แบบใดแล้ว ต้องใช้แบบนั้นอย่างสม่ำเสมอโดยตลอด และเขียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ควรใช้ปะปนกัน และต้องบันทึกข้อมูลประเภทของเอกสาร เช่น บทความ หนังสือ เว็บไซต์ และบันทึกรายละเอียดของเอกสารนั้นๆ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า เป็นต้น หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิงหรือรูปแบบของรายการอ้างอิงและบรรณานุกรมจะมีความแตกต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เรียกว่าเป็นรูปแบบการอ้างอิง (citation style) ที่นิยมใช้หรือที่ใช้กันหลักๆมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น
1) APA (American Psychological Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา จิตวิทยา การศึกษา และสาขาสังคมศาสตร์อื่นๆ
2) AMA (American Medical Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางชีววิทยา
3)  Chicago เป็น รูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในทุกสาขาวิชา นิยมใช้ในการลงรายการหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่อ้างอิงเป็นเอกสารที่ไม่เป็นวิชาการมากนัก
4) MLA (Modern Language Association) หรือ เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา วรรณกรรม ศิลป และสาขามนุษยศาสตร์
5) Turabian เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาทั่วไปในระดับวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย
6) Vancouver เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่นิยมใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการลงรายการทางบรรณานุกรมรูปแบบที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่
Vancouver style ตัวอย่าง :
การอ้างอิงหนังสือ
Author. Title of Book. Edition of Book. Place of Publication: Publisher Name; Year of Publication.
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. ชื่อเมืองที่พิมพ: ชื่อสำนักพิมพ์; ปีพิมพ์.
ตัวอย่าง : นิวัตร จันทร์ศิริพรชัย. การใช้ยาและวัคซีนในสัตว์ปีก. กรุงเทพฯ: ตีรณสาร; 2554.
การอ้างอิงบทความในวารสาร
Author. Title of Article Title. Title of Journal. Year of Publication;Volume(Issue):Pages.
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง. ชื่อย่อของวารสาร. ปีพิมพ์;เล่มที่(ฉบับที่):เลขหน้า.
ตัวอย่าง : วิภา สุขาธิศรี. การใช้ยาแก้ปวด. ว.โรงพยาบาลชลบุรี. 12;1(ม.ค.-มี.ค. 2530): 29
ดูตัวอย่างอื่นๆ ของVancouver style เพิ่มเติม
http://library.md.chula.ac.th/guide/vancouver2011.pdf
http://www.pha.nu.ac.th/practice/dis1/articles/Vancouver.html
APA style ตัวอย่าง :
การอ้างอิงหนังสือ
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
ตัวอย่าง : อัญชลี สิงห์น้อย. (2549). คำนามประสม: ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างคำไทย. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การอ้างอิงบทความในวารสาร
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(เลขประจำฉบับ), เลขหน้าแรกที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.
ตัวอย่าง : ปิยะดา วชิระวงศกร และเสวียน เปรมประสิทธิ์. (2548). การสะสมตะกั่วและแคดเมียมใน
พืชผักที่ปลูกในดินที่ได้รับการผสมตะกั่วและแคดเมียม. วารสารเกษตรนเรศวร,
8(1), 61-75
ดูตัวอย่างอื่นๆ ของ APA style เพิ่มเติม
http://www.lib.nu.ac.th/web/research/topic-article-view.php?rid=47
http://www.satriwit3.ac.th/files/111026088592094_1202210772355.pdf
Modern Language Association of America (MLA) style ตัวอย่าง :
การอ้างอิงหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง.  ชื่อเรื่อง.  ครั้งที่พิมพ์.  เมืองที่พิมพ์ : ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, ปีที่พิมพ์
ตัวอย่าง : กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์, 2552.
การอ้างอิงบทความในวารสาร
ชื่อผู้เขียน.  “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร.  ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) : เลขหน้า; วัน (ถ้ามี) เดือน / ปี.
ตัวอย่าง : วิทยา  นาควัชระ. “คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว” สกุลไทย. 40(2047) : 191 – 192 ; 26 ตุลาคม 2544.
ดูตัวอย่างอื่นๆ ของ MLA Style เพิ่มเติม
http://missvilitt.blogspot.com/2011/04/modern-language-association-of-america.html
http://www.grad.chula.ac.th/download/thesis.pdf
หมายเหตุ การอ้างอิงรายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้สร้างสรรผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน เป็นการแสดงถึงการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ก่อนแล้ว อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปของความรู้ในเรื่องที่เขียนนั้นๆ สามารถติดตามพัฒนาการของเนื้อหาได้
เอกสารดูประกอบเพิ่มเติม :
Chicago/Turabian style : http://blog.lib.kmitl.ac.th/wp-content/uploads/2012/09/Chicago_bib.pdf
http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/styles.htm
http://www.trcn.ac.th/th/file.pdf
http://library.cmu.ac.th/rsc/?writereport.php&contid=3
http://www.plagiarism.org/citing-sources/citation-styles
http://www.graduate.su.ac.th/images/manual/m1.pdf

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร