สังคมสูงอายุ

ทุกคนคงจะได้ยินคำว่า สังคมสูงอายุ กันมาหลายปีแล้ว  บางคนคิดว่ายังไกลตัวอยู่ไม่เป็นไร แต่เราควรจะเตรียมตัวเตรียมใจเตรียมความพร้อมเมื่อถึงช่วงระยะเวลานั้นผู้คนในสังคมจะปรับตัวเพื่อเข้าสู่สังคมที่เต็มไปด้วยผู้สูงอายุ   จากการที่ได้เรียนออนไลน์ ของ กพ. (HRD : e-Learning) วิชาประชากรสูงวัยในอาเซียน : ความเหมือนที่แตกต่าง  นั้น ทำให้ทราบเรื่องราวของสังคมผู้สูงอายุในประเทศอาเซียน   และตัวเราเองจะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อให้อยู่ในสังคมผู้สูงอายุอย่างมีความสุข
สังคมสูงอายุ คือ สังคมที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุในอัตราที่สูง องค์การสหประชาชาติได้นิยามความหมาย ประชากรที่มีอายุสูงกว่า 60 ปี สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ ผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป  องค์การสหประชาชาติ ได้จำแนกสังคมสูงอายุไว้ 3 ระดับคือ
1.สังคมสูงอายุ คือประเทศที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือนับว่าผู้มีอายุ 65 ปี มีจำนวนมากกว่าร้อยละ7 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
2.สังคมสูงอายุสมบูรณ์ คือประเทศที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือ อายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวนมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
3.สังคมสูงอายุสูงสุด คือ ประเทศที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
การก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศในอาซียน
1.สถานภาพสังคมสูงอายุของกลุ่มประเทศอาเซียนในปัจจุบัน  จำนวนประชากรในประเทศในอาเซียนมีประมาณ 600 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5 หรือ 30 ล้านคนเป็นประชากรสูงอายุ จัดได้ว่าจำนวนประชากรในประเทศอาเซียนยังมีระดับต่ำ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศในอาเซียนมีความตระหนักและตื่นตัว (ยกเว้น สิงค์โปร์)  กับการเข้าสู่สูงอายุน้อยมาก
2.การก้าวสู่สังคมสูงอายุของประเทศในอาเซียน ความแตกต่างที่สำคัญของประเทศที่พัฒนาและกลุ่มประเทศอาเซียน คืออัตราการเพิ่มของผู้สูงอายุจะเพิ่มอย่างรวดเร็วมาก  ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุในปี 1997 ตามด้วยประเทศไทยปี 2000 และเวียดนาม ปี 2001  ส่วน บูรไน มาเลเซีย ถูกประมาณการว่าจะก้าวสู่สังคมสูงอายุปี 2019  หลังจากนี้อีก 1 ปี  ประเทศสิงค์โปร์  ไทย เวียดนาม จะก้าวสู่สังคมสูงอายุสมบูรณ์ ปี 2020 และ 2021  ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงจากสังคมสูงอายุและสังคมสูงอายุสมบูรณ์ ของ สิงค์โปร์ ไทย เวียดนาม ใช้เวลาประมาณ 20 ปี   และ สิงค์โปร์ ไทย ก้าวสู่สังคมสูงอายุสูงสุดอีกประมาณ 30 ปี   ส่วนบูรไน จะก้าวสู่สังคมสูงอายุปี 2019 และก้าวสู่สังคมสูงอายุสมบูรณ์ อีก 12 ปี  สังคมสูงอายุสูงสุดอีก 9 ปี  ซึ้งเวลาน้อยมากในประเทศอาเซียนด้วยกัน
จากการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีผลกระทบ หลายอย่าง เช่น    ผลกระทบด้านประชากรวัยแรงงาน ระบบเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยหลายปัจจัย 1 ในปัจจัยคือ จำนวนประชากรแรงงาน  ประชากรอายุ 15 ปีหรือ 64 ปี มีส่วนร่วมในวัยแรงงานของประเทศ ดังนั้นโครงสร้างประชากรมีผลกระทบต่อวัยแรงงานและต่อเศรษฐกิจประเทศนั้น    หลายประเทศในประเทศพัฒนาแล้ว มีปัญหาจำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง เมื่อก้าวสู่สังคมสูงอายุ สำหรับประเทศภูมิภาคอาเซียน น่าจะมีปัญหามากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว  ไม่ว่่าจะเป็นรายจ่ายด้านสุขภาพ  ด้านที่อยู่อาศัย  ค่าใช้จ่ายเรื่องเงินบำนาญ  เป็นต้น
         สวัสดิการของสังคมผู้สูงอายุค่าใช้จ่ายในด้านรักษาพยาบาล ภาครัฐจะต้องมีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยเหลือ  เช่น ในปี 1961 ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้ระบบการใช้สวัสดิดูแลสุขภาพการอย่างทั่วถึง โดยการส่งเจ้าหน้าที่แพทย์มาดูแลที่บ้าน  นอกจากนี้ยังมีมาตรการป้องกันไว้ก่อน    มาตรการการอ้อมในวัยเกษียณ  มาตรการอื่นๆ  เช่น เพิ่มอายุเกษียณเป็น 65 ปี และสนับสนุนการจ้างงานใหม่ของกลุ่มประชากรวัยกลางคนอายุ 45-65 ปี
ผู้ที่จะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีความสุขได้ จะต้องเรียนรู้ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง มีการเตรียมความพร้อมในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ทั้งสุขภาพร่างกายจิตใจ วางแผนเตรียมตัวทางการเงิน ที่อยู่อาศัย  พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร