ตำแหน่งนั้นสำคัญไฉน

ในแต่ละองค์กร องค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งก็คือ “คนทำงาน” ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันไป ต่างมึความรับผิดชอบ ทำงานตาม Job Description ของตัวเอง ซึ่งเมื่อรวมกันเป็นกลุ่มบุคคลแล้ว หน้าที่ของแต่ละคนก็จะสัมพันธ์กัน เพื่อให้การดำเนินกิจการขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การที่จะกำหนดว่า ใครจะมีหน้าที่อย่างไรนั้น จะถูกกำหนดโดย “ตำแหน่ง” ซึ่งชื่อของตำแหน่งมักจะมีความหมายบ่งบอกถึงหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ  ตำแหน่งยังเป็นบ่อเกิดของอำนาจหน้าที่ บารมีและสถานภาพทางสังคม ตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ  1.ตำแหน่งประเภทบริหาร 2.ตำแหน่งประเภทอำนวยการ 3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ 4. ตำแหน่งประเภททั่่วไป

ตามหน้าที่ที่ดิฉันรับผิดชอบในการทำบัตรสมาชิกห้องสมุดให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีตำแหน่งครบทุกประเภทนั้น จึงมีความจำเป็นต้องทำความรู้จักกับชื่อตำแหน่งของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการให้เกียรติ และสามารถกำหนดสิทธิในการรับบริการได้ถูกต้องด้วย ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะตำแหน่งประเภทวิชาการ(สายวิชาการ) และตำแหน่งประเภททั่วไป(สายสนับสนุน)

ตำแหน่งในมหาวิทยาลัยศิลปากร
  1. ตำแหน่งประเภทวิชาการ(สายวิชาการ)  ประกอบด้วย  อาจารย์   ผู้ช่วยศาสตราจารย์    รองศาสตราจารย์    ศาสตราจารย์
อาจารย์ชาวต่างประเทศ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์พิเศษ
     2. ตำแหน่งประเภททั่วไป(สายสนับสนุน) ประกอบด้วย
2.1. กลุ่มตำแหน่งข้าราชการ*  ไดแก่ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  นักวิชาการเงินและบัญชี  นักแนะแนวการศึกษา     ช่างพิมพ์ นักประชาสัมพันธ์  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิจัย  นักวิชาการศึกษา  นักวิชาการคอมพิวเตอร์  นักวิชาการเกษตร  นักวิชาการช่างศิลป์  นักวิชาการพัสดุ  นักวิชาการโสตทัศนศึกษา  นักวิทยาศาสตร์  นักเอกสารสนเทศ นิติกรบรรณารักษ์ บุคลากร วิศวกร
*  1. ผู้ดำรงตำแหน่งต้องมีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ ปริญญาตรีขึ้นไป
*   2.ถ้าเป็นข้าราชการ ตำแหน่งเหล่านี้จะเติมคำว่า ชำนาญการ ต่อท้ายอัตโนมัติ เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ  เป็นต้น
และกลุ่มตำแหน่งที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่า ปริญญาตรี  ได้แก่  ผู้ปฏิบัติงานบริหารชำนาญงาน  ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์ชำนาญงาน ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน  ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดชำนาญงาน
2.2. กลุ่มตำแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา/ลูกจ้างชั่วคราว/ลูกจ้างประจำ ได้แก่ เจ้าหน้าที่การเงิน  เจ้าหน้าที่บริหารงาน  ช่าง  แม่บ้าน  คนงาน  คนสวน  ช่างเขียนแบบ  ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์  ช่างเชื่อม  ช่างเทคนิค  ช่างไฟฟ้า  ช่างไม้  ช่างซ่อมบำรุงช่างตกแต่งสถานที่  ช่างฝีมือ  ช่างอิเล็คทรอนิคส์  นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ  นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ  นักการเงินและบัญชี  นักการเงินและบัญชีปฏิบัติการ  นักการภารโรง  นักกิจการนักศึกษา  นักกิจการนักศึกษาปฏิบัติการ  นักคอมพิวเตอร์      นักคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ  นักบริหารโครงการ  นักบริหารงานทั่วไป  นักบริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ  นักวิเทศสัมพันธ์ฯ  นักวิชาการเกษตร  นักวิชาการเผยแพร่  นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ  นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ  นายช่างเทคนิค  นายช่างปฏิบัติการ  นิติกรผู้เชี่ยวชาญ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์)  ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ ผู้ช่วยช่างทั่วไป  ผู้ช่วยสอน  ผู้ช่วยสอนผู้ปฏิบัติงานบริหาร  ผู้ปฏิบัติงานบริหาร  พนักงานเก็บเอกสาร  พนักงานเกษตร  พนักงานการเงินและบัญชี  พนักงานขับรถยนต์  พนักงานช่วยการพยาบาล  พนักงานซ่อมเอกสาร  พนักงานทั่วไป  พนักงานธุรการ  พนักงานบริการเอกสารทั่วไป  พนักงานบริการอัดสำเนาพนักงานประกอบอาหาร  พนักงานประจำห้องทดลอง  พนักงานพัสดุ  พนักงานพิมพ์  พนักงานรักษาความปลอดภัย  พนักงานวิทยาศาสตร์  พนักงานสถานที่พยาบาล  พยาบาลปฏิบัติการ  พี่เลี้ยง  วิศวกรปฏิบัติการ  สถาปนิก
เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีประกาศสำนักหอสมุดกลาง มศก.เปิดรับสมัครตำแหน่ง บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฉะนั้นในอนาคตคงจะมีคนตั้งชื่อตำแหน่งขึ้นมาใหม่ๆอีกมากมาย อาจเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยหรือให้ครอบคลุมกับความรับผิดชอบในตำแหน่งนั้นๆ
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร