อันตรายของขวดน้ำดื่มพลาสติกสีใส

ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมาจากพฤติกรรมและความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองในด้านของปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมและหนึ่งในนั้นคือ ปัญหาการใช้ขวดน้ำพลาสติก นั่นเอง
น้ำดื่มขวดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมากกว่า 2 ทรรศวรรษ มีการทดสอบคุณภาพน้ำดื่มขวดในประเทศอังกฤษ พบว่าน้ำประปาจากก๊อกมีคุณภาพเป็นอันดับ3 จาก 24 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่ามีคุณภาพเหนือน้ำดื่มขวดที่มีชื่อเสียงหลายยี่ห้อ
ผู้บริโภคอาจถูกดึงดูดด้วยการโฆษณา ทำให้รู้สึกว่าการได้ดื่มน้ำดื่มขวดนั้นปลอดภัยต่อสุขภาพและมองดูเป็นคนมีระดับ ผู้บริโภคบางคนอ้างว่าพวกเขาได้รับเกลือแร่ต่างๆ จากน้ำดื่มขวด อย่างไรก็ตามโดยความเป็นจริงแล้วสารอาหารที่สำคัญ เช่น แมกเนเซียม เหล็ก โปตัสเซียม มีจำนวนน้อยมากในน้ำขวด แต่เกลือแร่เหล่านี้สามารถหาทดแทนได้จากอาหารซึ่งเรารับประทานอยู่เป็นประจำ
เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ น้ำดื่มขวดถูกมองว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ เพราะปราศจากแคลอรี่ ผู้ผลิตบางรายอ้างถึงประโยชน์ของน้ำแร่หรือน้ำบริสุทธิ์ต่อสุขภาพ ทั้งที่จริงๆ แล้วก็ไม่มีการรับประกันคุณภาพดังกล่าว
น้ำดื่มขวดก่อให้เกิดปัญหาและภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม ในแง่ของการใช้พลังงานในการผลิต ทั่วโลกใช้น้ำมันดิบประมาณ 1.5 ล้านบาห์เรนต่อปีในการผลิตพลาสติกเพื่อทำขวดน้ำดื่ม และนอกจากนี้การเผาขวดที่ใช้แล้วก่อให้เกิดสารพิษหลายตัว เช่น แก๊สคลอรีน และเถ้าถ่าน ซึ่งประกอบด้วยโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ ถ้านำขวดพลาสติกเหล่านี้ไปฝังจะใช้เวลานับพันปีในการย่อยสลาย
ขวดน้ำดื่มส่วนมากเป็นขวดโพลีเอททีลีน มีเครื่องหมาย 1 และมีตัวหนังสือ PET หรือ PETE อยู่ใต้ขวด เมื่อขวดเหล่านั้นได้รับความร้อน สารเคมีในขวดจะละลายปนเปื้อนลงไปในน้ำแม้ว่าฝาขวดจะปิดสนิทก็ตาม โดยทั่วไปในการขนส่งน้ำดื่มขวดมักจะใช้รถบรรทุก บางครั้งในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นน้ำดื่มเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในคลังสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะถูกนำไปวางจำหน่ายยังจุดต่างๆ
การที่เราทิ้งขวดน้ำดื่มไว้ในรถ ความร้อนจะทำให้ความสมดุลของสารเคมีเปลี่ยนไป ดังนั้นสารเคมีจะถูกหลั่งออกมาปนเปื้อนกับน้ำขวดได้เร็วขึ้น แต่แม้ว่าน้ำที่เพิ่งจะบรรจุใส่ขวดใหม่ๆ ก็มีสารเคมีจากขวดพลาสติกปนเปื้อนลงไปเช่นเดียวกัน
ดังนั้นผู้บริโภคพึงตระหนักว่าไม่ควรนำขวด PET กลับมาใช้แล้วใช้อีก ขวดน้ำดื่มดังกล่าวไม่เหมาะต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ มีข้อมูลจากการทดลองว่า ยิ่งมีการนำขวดพลาสติกเหล่านี้กลับมาใช้บ่อยเท่าไหร่ สารพิษจากขวดก็จะปนเปื้อนในน้ำมากขึ้นเท่านั้น
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเปลี่ยนแปลงวิถีบริโภคอันแสนสะดวกของเรา ด้วยการพกพาขวดน้ำดื่มหรือแก้วติดกระเป๋าไว้เสมอ เมื่อกระหายน้ำจะได้ไม่ต้องเปลืองเงินซื้อหาน้ำดื่ม ทั้งปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ที่มา :
Consumers Association of Penang. (2553).  “อันตรายของขวดน้ำดื่มพลาสติกสีใส”.  แปลโดย พิจิตรา จันทร์ประภาพ.  เพื่อนสุขภาพ เลมอนฟาร์ม.  12, 7 : 40.
“อันตรายของขวดน้ำดื่มพลาสติกสีใส”.  (2553).  ดอกหญ้า.  25, 143 (ก.ค.–ก.ย.) : 77-80

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร