สภาพหนังสือ … สภาพจิตใจ

บ่ายวันหนึ่งขณะให้บริการยืมหนังสือ มีนักศึกษานำหนังสือมาให้ดูสภาพตัวเล่มของหนังสือ จำนวน 2 เล่ม ชื่อเรื่ิอง “ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก” และ  ชื่อเรื่อง “เรื่องน่ารู้ในยุโรปสมัยกลาง” โดยนักศึกษาผู้นั้นได้เปิดหน้าภายในตัวเล่มให้ดิฉันดู จึงพบว่ามีรอยขีดเขียนด้วยดินสอดำ  โน๊ตย่อ  ตีเส้นด้วยปากกาหมึกแห้งสีน้ำเงิน  ระบายสี ไฮล์ไลน์ ด้วยปากกาเมจิ หลากหลายสีสันเมื่อเห็นสภาพหนังสือในเวลานั้น…  อึ้งไปชั่วขณะ แค่เสี้ยวนาที ต้องรีบดึงความรู้สึกทั้งหมดที่มี โดยบอกไม่ได้ว่ามันเป็นความรู้สึก ชนิดใด  สำหรับคนรักหนังสือ  สำหรับผู้ใช้หนังสือ  สำหรับผู้ให้บริการ  จึงได้แต่บอกนักศึกษาไปว่า เล่มที่มีรอยขีดด้วยดินสอ  รอสักครู่จะทำการลบให้เดี๋ยวนี้เลย  เพื่อให้ทุกหน้าสะอาดหมดจด  พร้อมให้บริการDSC05247
แต่เล่มที่ขีดด้วยปากกาหมึกแห้ง  หรือไฮไลท์  ขอเก็บไว้ไปเยียวยารักษาก่อน  และจะหยิบเล่มใหม่ให้ทดแทน  เพราะตรวจสอบแล้ว หอสมุด ฯ  มีหลายฉบับ นักศึกษาหญิงท่านนั้น  ให้ความกรุณาต่อเจ้าหน้าที่มากเป็นที่สุด  เพราะเธอกล่าวด้วยเสียงแจ่มใส  แววตาเปี่ยมไปด้วยความเต็มใจ  ว่า ” ไม่เป็นไรคะ  หนูไปหยิบเองได้คะ ”  และห้านาทีต่อมา  นักศึกษาผู้น่ารัก ก็ได้ยืมหนังสือทั้ง 2 เล่มไปด้วยความสมหวังและความสบายใจ
ส่วนเล่มที่ชื่อ เรื่องน่ารู้ในยุโรปสมัยกลาง นี้สิจะเยียวยารักษาอย่างไรดี ให้มีสภาพฟื้นคืนกลับมาเป็นปกติ
 
DSC05246
สมัยเป็นนักศึกษาภาควิชาบรรณารักษศาสตร์  อาจารย์ผู้สอนมักจะกล่าว เสมอ ๆว่า : “มนุษย์” เป็นตัวการสำคัญที่ทำความเสียหายให้กับหนังสือได้มากที่สุด เช่นการขีดเขียนข้อความ ทำเครื่องหมายต่างๆ เติมต่อข้อความลงในหนังสือ ฉีกหนังสือ ตัดรูปภาพ  พับมุม  นำหนังสือมาบังแดด  กันฝน  หนุนนอน ยิ่งเป็นหนังสือของหอสมุด ฯ ผู้อ่านมักจะไม่ระมัดระวัง ดังนั้นเรามาช่วยกันปลูกฝังจิตสำนึก วิธีปฏิบัติรักษาหนังสืออย่างถูกวิธี ตามอาจารย์ของผู้เขียน ด้วยกันนะคะ
1.ตรวจความเรียบร้อยของตัวเล่มหนังสือ  การเย็บเล่ม  พลิกดูที่ละหน้าว่ามีหน้าใดขาดหาย /ชำรุด  ต้องนำไปเปลี่ยนคืน  หน้าใดที่หน้าไม่ตัดขาดออกจากกัน ให้ใช้มีดตัดกระดาษ ห้ามใช้นิ้วสอดเข้าไปตัด  ถ้ามุมของหนังสือพับ ห้ามฉีก ให้คลี่ออก
2.เปิดหนังสือให้ถูกวิธี   วางหนังสือปกแข็งบนโต๊ะ โดยเอาสันวางทาบกับโต๊ะ เปิดปกหน้าและปกหลัง ให้กางออกแนบไปกับพื้นโต๊ะ เปิดหนังสือด้านหน้าและด้านหลังออกประมาณ  5-10  แผ่น ใช้นิ้วหัวแม่มือรีดส่วนที่ติดกับสันให้เรียบเนียน ทำสลับกันจนหมดเล่ม
3.ไม่พับมุมหนังสือ  ถ้าอ่านยังไม่จบ ควรหากระดาษ หรือ แผ่นพาสติกบางๆ มาคั่นไว้ ห้ามใช้ปากกา  ดินสอ  มาคั่น
4.ไม่ขีดเขียน ต่อเติมข้อความ  ระบายสี  ไฮล์ไลน์ข้อความ ฉีกหรืกตัดข้อความ  ให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งพิมพ์
5.  อย่าให้หนังสือเปียกน้ำ  เปื้อนกาแฟ  สัตว์เลี้ยงกัดแทะ  หรือวางไว้ในที่อับชื้นจนเกิดเชื้อรา   ต้องใช้หนังสืออย่างระมัดระวัง
6. นำหนังสือใส่ถุงผ้า หรีอ ใส่ถุงพาสติก ( ห้องสมุด ฯ มีไว้บริการ  )
เท่านี้ หอสมุดฯ ของเราก็จะมีหนังสือที่มีสภาพดี รอให้ทุกคนได้อ่านกันไปนาน แสน นาน  ตลอดไป
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร