Performance Management (PM)

20 January 2016
Posted by thitima

DSC05851 DSC05853
เมื่อวันที่ 25-26 ธันวาคม 2558 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดสัมมนาบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง โดยเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติมา จีนาพงษา ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากร เรื่อง การบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (Performance Management) หรือเรียกกันโดยย่อว่า PM
วิทยากรเกริ่นนำว่า อยากให้ทุกคนตั้งเป้าว่าจะช่วยกันทำงานอย่างไร จะสร้างบรรยากาศการทำงานอย่างไรให้มีความสุขทุก ๆ วัน เพราะที่ทำงานเหมือนบ้านหลังที่สองของเรา หลายคนใช้ชีวิตที่ทำงานมากกว่าที่บ้าน ทำอย่างไรเมื่อถึงวันทำงานแล้วคิดอยากมาทำงาน
สิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนเป็นแนวคิดและสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวรซึ่งใช้ได้ผลดี บุคลากรมีความสุข ถ้าใครต้องการอ้างอิงขอให้ใช้ของ ก.พ.อ. หรือของหน่วยงานต้นสังกัด
การปฏิบัติงาน ทุกคนคาดหวังว่าตัวเองจะได้ผลการปฏิบัติงานที่ดีไม่มองว่าตัวเองลงทุนมากน้อยแค่ไหน และข้อเท็จจริงที่พบคือ คนส่วนใหญ่มักไม่พอใจกับผลประเมินที่ได้รับ, เงินที่ใช้ขึ้นเงินเดือน ไม่เพียงพอตามผลการประเมินที่ออกมา, ผลประเมินไม่สะท้อนผลการทำงานทั้งหมด, ไม่ได้วัดผลการทำงานในรอบ 6 เดือน และการเลื่อนเงินเดือนไม่อยู่บนฐานคิดเดียวกัน ประเด็นขัดแย้งคือ เงินที่ใช้ขึ้นเงินเดือน (3%) และประกาศของหน่วยงาน เช่น ระดับการประเมินได้ดีเด่น ช่วงคะแนน 90-100 ร้อยละการเลื่อน ไม่เกินร้อยละ 6 คนคาดหวังว่าจะได้เลื่อนเงินเดือน ร้อยละ 6 แต่จริง ๆ แล้วร้อยละ 6 = 0-6
สิ่งที่ควรจะเป็นในการประเมินผลการปฏิบัติงานคือ การขึ้นเงินเดือนทำให้มีความสุข สร้างกำลังใจในการทำงาน ปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น สร้างระบบทำน้อยได้น้อย ทำมากได้มาก
สิ่งที่ต้องการคือ  รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น, เป้าหมายชัดเจน ทำกิจกรรมอะไร ทุกคนช่วยกันกำหนด, มีเป้าหมายเดียวกัน มีการระดมสมอง ช่วยกันทำให้เกิดขึ้นและเป็นธรรมกับทุกคน ทุกตำแหน่งสำคัญหมด ต้องเปิดใจและยอมรับความจริงทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานทุกคน
ประเภทของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และอื่น ๆ ขออย่าคิดว่าใครได้มากได้น้อย แต่ละกลุ่มต่างมีบัญชีเงินเดือนของกลุ่มตนเอง
วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีคือ ทุกคนยอมรับ, เป็นธรรมกับทุกคน และไม่ขัดกับระเบียบ/ประกาศ
การใช้ผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน และเพื่อพัฒนา/ปรับปรุงงาน
องค์ประกอบความสำเร็จของการประเมิน  1.แบบประเมินที่วัดผลการปฏิบัติงานได้จริง เป็นรููปธรรม ไม่ใช่ นามธรรม, ไม่ใช้ความรู้สึกในการตัดสิน, KPI รายบุคคล, KPI ร่วม, ไม่เป็นภาระในการเก็บข้อมูล  2.ผู้ประเมินมีความยุติธรรม เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ปฏิบัติงาน, ยุติธรรม, ประเมิน 360 องศา (ไม่จำเป็นหากแบบประเมินเป็นรูปธรรม)  3.วิธีการคำนวณยุติธรรมกับทุกคน เป็นธรรมกับทุกคน, ไม่ขึ้นกับเงินเดือนปัจจุบัน, วัดผลการปฏิบัติงานในรอบ 6 เดือน
องค์ประกอบการประเมิน การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน 70% แบบประเมินสมรรถนะ 30%
สิ่งที่ต้องมีในการประเมิน
– Job description ทบทวนดูว่างานครอบคลุมหรือยัง งานฝ่ายนี้ต้องมีอะไรบ้าง มอบหมายคนทำงาน
– แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานรายบุคคล ดึงมาจาก Job description ให้แต่ละคนคิดมาเองอยากถูก
ประเมินประเด็นไหนบ้าง
– แบบประเมินสมรรถนะ
– ทำเป็นรายบุคคล ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารรับทราบและเห็นชอบ
– ปรับเปลี่ยนได้ทุกรอบการประเมิน
– มาจาก JD เอาเฉพาะงานเด่น ๆ
– เลือกเฉพาะกิจกรรมหลัก / กิจกรรมที่ต้องการผลักดันในรอบการประเมินนั้น
– กำหนด KPI ที่เป็นรูปธรรม
– ไม่เป็นภาระในการเก็บหลักฐาน
– ทำความเข้าใจระหว่างผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน
– ปรับเปลี่ยนระหว่างรอบการประเมินได้
ต่อมาวิทยากรได้ยกตัวอย่างการประเมินบุคลากร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร เช่น 1. หัวหน้าฝ่ายบริการประเมินด้าน ประสิทธิผลการกำกับดูแล ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ งานหลัก การพัฒนางานใหม่/ลดขั้นตอน  2.หัวหน้างานเทคโนโลยี ประเมินด้าน ประสิทธิผลการกำกับดูแล การพัฒนางานใหม่ /ลดขั้นตอน, .Server ไม่ล่ม ข้อมูลไม่สูญหาย, การพัฒนาฐานข้อมูล, งานสำรองข้อมูล เป็นต้น
ตัวอย่าง การจัดสรรกรอบวงเงินที่ใช้เลื่อนเงินเดือนคือ 3% ของฐานเงินเดือนเดิม, OT ไม่เกิน 10%, บุคลากรดีเด่นไม่เกิน 3%, ขึ้นเงินเดือนตามเกณฑ์ประเมินไม่ต่ำกว่า 87% เงินเหลือจัดสรรให้แก่ผู้ที่ไม่เคยลา
วันที่ 26 ธันวาคม 2558 ณ โยโกะ ริเวอร์แคว รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี
เรื่อง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง การบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรระหว่างคณะผู้บริหารสำนักหอสมุดกลางและบุคลากร
ก่อนจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาจารย์ ดร.สายสุดา เตียเจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพบรรยายเรื่อง “การประกันคุณภาพการศึกษากับการทำงาน”
คณะกรรมการประกันคุณภาพมาจากตัวแทน 3 หอสมุด และ งานจดหมายเหตุ ทุกคนมีความสำคัญและส่งเสริมการทำงาน ตัวชี้วัด (KPI) ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน คือความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ซึ่งแยกออกได้เป็น ลูกค้าภายใน ได้แก่ บุคลากรภายในหน่วยงาน และลูกค้าภายนอก ได้แก่ ผู้ใช้บริการ การตอบสนองต่อความต้องการ ต้องมีการพัฒนาปรับปรุง
ตัวชี้วัด และเกณฑ์ในการประเมิน คือ 1.ความพึงพอใจของลูกค้า 2.เกณฑ์ –มาตรฐานคุณภาพ
การประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง มี 3 งาน ได้แก่
– การบริการวิชาการ: มีการบริการวิชาการแก่สังคม
– การบริหารจัดการ การบริหารหน่วยงานสนับสนุนการศึกษา เพื่อการกำกับตามผลลัพธ์
– ภารกิจสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหาร ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
การควบคุมคุณภาพงานเพื่องานประกันคุณภาพ ตามกระบวนการ PDCA คือ P (Plan: การวางแผน) –
D (Do: ดำเนินงาน) – C (Check: ประเมินคุณภาพ) – A (Act: เสนอแนวทางปรับปรุง)
ความพึงพอใจของลูกค้า ก็คือคุณภาพ “รวมกันเราอยู่” ทำอย่างไรจะทำให้คะแนนความพึงพอใจของสำนักหอสมุดกลางโดยหอสมุดทั้ง 3 วิทยาเขต และหอจดหมายเหตุ เพิ่มขึ้น
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริหาร เริ่มต้นโดยผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง กล่าวถึงแผนการพัฒนาสำนักหอสมุดกลางดังนี้
– พื้นที่สำหรับผู้มาใช้บริการที่สร้างแรงบันดาลใจในการเรียน การทำงาน /พื้นที่สำหรับคนทำงานให้มีความสุข ปลอดภัย มีสุขอนามัยที่ดี
– นำ IT มาใช้ในการบริหารงานมากขึ้น
– นวัตกรรมการบริการ
– ห้องสมุดดิจิทัล  มีกรรมการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล
– เกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือน หาค่าเฉลี่ยของแต่ละหอสมุด แล้วหาค่ากลางของสำนักหอสมุดกลาง
ต่อด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของบุคลากร เรื่อง การนำขวดน้ำดื่มเข้าหอสมุด, วันลาประเภทต่าง ๆ ที่นำมาประเมินผลการปฏิบัติงาน, การลดขั้นตอนการทำงาน/พัฒนางานของฝ่ายบริการ, KPI จำเป็นไหมต้องปรับเปลี่ยน, การประเมิน KPI ตัวเกณฑ์จะลดหลั่นอย่างไร, การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้คนรุ่นใหม่, การทำงานอย่ามองเปรียบเทียบกันฝ่ายนั้นฝ่ายนี้
ต่อจากนี้มีการเลือกตัวแทนกลุ่มข้าราชการ 2 คน พนักงานมหาวิทยาลัย 2 คน เพื่อเป็นตัวแทนร่าง KPI ร่วมกับคณะผู้บริหารสำนักหอสมุดกลางด้วย
DSC05847  DSC05850
DSC05857 DSC05856
DSC05924 DSC05927
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร