Happy New Year…ASEAN

NY
C
r. ภาพประกอบจาก http://newyearseveblog.com/destinations-south-east-asia/
สวัสดีปีใหม่ภาษาอาเซียน
ประเทศไทย : สวัสดีปีใหม่
ประเทศบรูไนดารุสซาลาม, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย : Salamat Tahun Baru (เซอ ละ มัท ตา ฮุน บา รู)
ประเทศกัมพูชา : Chaul Chnam Thmey (ซัวซะเดย ชะนำทะไม)
ประเทศลาว : สะบ๋ายดี๋ปี๋ใหม่
ประเทศเมียนม่าร์ : Mingala Nit Thit Pa (เมงกะลา นิ้ ติ้ ป่า)
ประเทศฟิลิปปินส์ : Manigong Bagong Taon (มะนิกง บะกง ทะอง)
ประเทศเวียดนาม : Chúc mừng năm mới (จุ๊ก หมิ่ง นัม เหมย)

วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ตามธรรมเนียมสากลนิยมในทั่วโลก นับกันว่าเป็นการย่างเข้าสู่การเริ่มต้นศักราชใหม่
แต่ละประเทศต่างจัดให้มีการเฉลิมฉลองมากบ้าง น้อยบ้าง รวมทั้งประเทศต่างๆ ในอาเซียน
ซึ่งต่างก็มีการจัดงานเทศกาลปีใหม่ในแบบฉบับของตนเอง เช่น

ประเทศบรูไนดารุสซาลาม จะเริ่มต้นฉลองเทศกาลปีใหม่ตามธรรมเนียมของเขาด้วยการเล่นกีฬาต่างๆ เช่น
เทนนิส กอล์ฟ สควอซ ดำน้ำ โบว์ลิ่ง การพายเรือคายัค ตลอดไปจนการเล่นวินเซอร์ฟ
เพื่อต้อนรับวันปีใหม่ที่จะมาถึงในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองด้วยดอกไม้ไฟ
ครอบครัวและเพื่อนสนิทมิตรสหายจะมารวมกัน มอบความสุขและของขวัญให้กันและกัน
เช่นเดียวกับการฉลองคริสมาสต์ในวันที่ 25 ธันวาคม อันเป็นธรรมเนียมสากลในทุกมุมโลก

ในประเทศสิงคโปร์ดินแดนซึ่งมีที่ดินอันเป็นมรดกล้ำค่า
มีการต้อนรับวันปีใหม่ด้วยการเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริก แทบจะทุกตารางนิ้วของเกาะเล็กๆ
ซึ่งมีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 2 ของโลกนี้จะสว่างไสวไปด้วยแสงไฟ และดอกไม้ไฟอันตระการตา
ตลอดจนการจัดงานปาร์ตี้ การชมการแสดงในสถานที่ต่างๆ
ซึ่งผู้คนให้ความนิยมอย่างหนาแน่นตลอดระยะเวลาการเฉลิมฉลอง

สำหรับประเทศอินโดนีเซียความสุขในการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า
สถานบริการต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในเขตเมืองมักจะนำเสนอความบันเทิง
การแสดงดนตรี พร้อมอาหารมื้อพิเศษ เพื่อเฉลิมฉลองในหมู่ครอบครัว พี่น้อง และเพื่อนฝูง
โดยมีดอกไม้ไฟเป็นจุดสนใจที่สำคัญในวันส่งท้ายปีเช่นกัน

ส่วนในประเทศมาเลเซียนั้นแม้จะไม่มีหิมะตกเช่นประเทศในเมืองหนาวให้เฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส
แต่กรุงกัวลาลัมเปอร์หรือที่มักเรียกกันว่า KL มหานครแห่งประเทศมาเลเชีย
ก็ดูจะมีสีสรรด้วยแสงสีสว่างไสวระยิบระยับไปทั่วเมือง สมดังนิยาม “สวนสวรรค์แห่งแสงสี”
ถนนหนทางต่างๆ จะเรียงรายไปด้วยแสงไฟนางฟ้าอันสดใส บรรดาห้างสรรพสินค้าน้อยใหญ่
ต่างนำสินค้ามาเสนอขายในราคาที่สร้างแรงดึงดูดในการช้อปปิ้งได้อย่างคึกคัก

นอกจากธรรมเนียมปีใหม่ตามสากลนิยมแล้ว กลุ่มอาเซียนในแต่ละประเทศ
จะมีวันปีใหม่ตามธรรมเนียมนิยมเดิมของตนเองที่ปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน
ควบคู่ไปกับวันปีใหม่ตามแบบสากล กล่าวคือ

ประเทศที่อยู่ในแถบร้อน เช่นประเทศไทยและเพื่อนบ้านบางประเทศ คือ
กัมพูชา ลาว และพม่า มีวันปีใหม่ คือ วันสงกรานต์ในช่วงกลางเมษายน
ซึ่งวันสงกรานต์ในแต่ละประเทศจะมีประเพณีที่คล้ายคลึงกัน คือ
การทำบุญ สรงน้ำพระ เล่นน้ำ ตลอดจนการทำความสะอาดบ้านเรือน
โดยไทยนับวันที่ 13 เมษายน เป็น “วันสงกรานต์”

ในประเทศลาว หรือ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” จัดในช่วงใกล้ๆ กับไทย
คือ วันที่ 14 -16 เมษายน เป็น “วันกุดสงกรานต์”
โดยวันแรกคือ “วันสังขารล่วง” ชาวบ้านจะทำความสะอาดบ้านเรือน
มีพิธีปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขง ตกเย็นมีการลอยกระทง
วันที่ 2 คือ “วันเนา” ถือเป็นวันครอบครัวญาติพี่น้องจะมารวมตัวกัน
เพื่อบายศรีสู่ขวัญให้แก่ผู้อาวุโส มีการแห่รูปหุ่นเชิดปู่เยอ ย่าเยอ และสิงห์แก้ว สิงห์คำ
และวันสุดท้ายคือ “วันสังขารขึ้น” ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่มีหลายกิจกรรมที่คล้ายไทย เช่น
การทำบุญ สรงน้ำพระพุทธรูป และการแห่นางสังขาร หรือนางสงกรานต์
นอกจากนี้มีการบายศรีสู่ขวัญ อวยพรซึ่งกันและกัน

ส่วนในประเทศเมียนม่าร์ หรือที่เราคุ้นเคยว่าพม่านั้น มีวันสงกรานต์ เรียกว่า “เหย่บะแวด่อ”
โดยถือเอาเดือนเมษายนซึ่งเป็นต้นฤดูร้อนเป็นการเริ่มศักราชใหม่ เรียกว่า “เดือนดะกู”
ปัจจุบันรัฐบาลพม่าประกาศให้เป็นวันหยุดแห่งชาติถึง 10 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน
สงกรานต์ของพม่ามีขนมต้ม และดอกประดู่ หรือ ปะเด้าก์ เป็นสัญลักษณ์ประจำเทศกาล
สงกรานต์ในพม่านั้นเดิมก็เช่นเดียวกับไทย คือ มีการเข้าวัดทำบุญ
มีการเล่นน้ำกันอย่างสุภาพโดยประพรมน้ำจากขันเงินด้วยไม้มงคลคือใบหว้า
แต่ระยะหลังเริ่มมีการเล่นสาดน้ำรุนแรงทางการจึงสั่งห้ามเด็ดขาด
โดยกำหนดโทษหนักถึงจำคุกและพบว่ามีผู้ทำผิดถูกประจานทางหนังสือพิมพ์
บอกถึงชื่อพ่อแม่ให้รับรู้ทั่วประเทศกันเลยทีเดียว

สำหรับวันสงกรานต์ในประเทศกัมพูชา เรียกว่า “โจลชนัมทเมย”
ซึ่งรัฐบาลกัมพูชากำหนดให้จัดขึ้นในต้นฤดูเก็บเกี่ยวราววันที่ 13-15 หรือ 14-16 เมษายนของทุกปี
มีกิจกรรมต่างๆ คล้ายกับไทยเช่นกัน คือ วันแรกเป็นวันทำบุญมีการตักบาตร ขนทรายเข้าวัด
เพื่อเตรียมก่อเจดีย์ วันที่สองเป็นวันครอบครัวลูกๆ จะอยู่กับพ่อแม่
อาจจะมีการให้เงินหรือซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้เป็นของขวัญวันขึ้นปีใหม่แก่กัน
ช่วงค่ำจะร่วมกันก่อพระเจดีย์ทราย ส่วนวันที่สามมีการละเล่นรื่นเริงต่างๆ เช่น
โยนสะบ้า การสรงน้ำพรพุทธรูป และรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว

ส่วนในประเทศเวียตนาม ราวปลายเดือนมกราคม ถึงต้นกุมภาพันธ์
ประมาณวันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม
หรือราวก่อนเทศกาลตรุษจีน 1 วัน จะมีประเพณีตรุษญวน คือ เต๊ดเหวียนด่าน (Tet Nguyen Dan)
มีความหมายว่าเทศกาลวันต้นปีใหม่ และมักเรียกสั้นๆ ว่า เต๊ด
ซึ่งชาวเวียตนามจะมีธรรมเนียมไปทำความสะอาดและคารวะหลุมศพของบรรพบุรุษ

ในประเทศอินโดนีเซีย วันปีใหม่ของชาวฮินดูที่อาศัยอยู่บนเกาะบาหลี คือ วันนีเยปิ (Nyepi) หรือเรียกว่าวัน “เข้าเงียบ” ตามความหมาย
ของคำ ที่หมายถึงวันแห่งความเงียบ ในวันดังกล่าวเกาะทั้งเกาะจึงตกอยู่ในความเงียบสงัด ด้วยผู้คนบนเกาะจะงดทำกิจกรรมทุกอย่า

ไม่เดินทาง ไม่ก่อไฟประกอบอาหาร ไม่ประกอบพิธีใดๆ งดการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงทุกอย่าง โดยจะบูชาเทพต่างๆ ในวันก่อนหน้า
และประกอบพิธีไล่สิ่งชั่วร้ายจากบ้านที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ในแต่ละปีจะไม่สามารถระบุวันปฏิทินของเทศกาลได้ชัดเจนเนื่องจากต้องยึด
วันตามจันทรคติ ซึ่งไม่ตรงกับตามปฏิทินสากล

ส่วนในสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งมีผู้คนหลากเชื้อชาติอาศัยร่วมกัน
จะมีประเพณีปีใหม่ของชนชาติ คือ ชาวฮินดูที่มีเชื้อสายอินเดียในมาเลเซียจะถือวันขึ้นปีใหม่
ในวันติวาลี (Diwali) หรือ ตีพาวลี (Deepavali) ราวเดือนตุลาคม หรือ พฤศจิกายน
ส่วนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในหมู่บ้านตาเซะ อำเภอฮูลูเปรัค รัฐเปรัค
จะจัดงานตรงกับวันสงกรานต์ มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ
การรดน้ำขอพรจากคุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้องและผู้ใหญ่ที่เคารพ
และสำหรับวันปีใหม่ของชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมาก
เป็นอันดับ 2 รองจากกลุ่มเชื้อชาติหลักในมาเลเซีย และเป็นเชื้อชาติหลักในสิงคโปร์
ซึ่งเป็นประเทศเล็กที่สุดและมีประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาค
โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2556 มีจำนวนประชากรประมาณ 5,543,494
เป็นชาวจีนถึง 76% อันดับรองคือชาวมาเลย์มีจำนวน 13.7%
ทั้ง 2 ประเทศนี้ จึงมีเทศกาลซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปีใหม่เช่นเดียวกับ
ชาวไทยเชื้อสายจีนในหลายๆ ประเทศ คือ วันตรุษจีน

สำหรับวันขึ้นปีใหม่ในประเทศฟิลิปปินส์ ผู้คนจะรวมตัวกันในวันที่ 31 ธันวาคม
ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเพื่อเฉลิมฉลองมื้อเที่ยงคืนที่เรียกกันว่า Media Noche
เขาจะร่วมต้อนรับการมาถึงของปีใหม่ด้วยการจุดดอกไม้ไฟ การทำเสียงดังๆ
เพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้ายตามความเชื่อแบบจีน
ผู้สูงอายุมักจะกระตุ้นให้เด็กๆ ตื่นเพื่ออยู่ข้ามเวลาเที่ยงคืนของปีเก่าเพื่อให้พวกเขาตัวสูงเมื่อเติบโตขึ้น
ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากมีความเชื่อเรื่องการประดับประดาด้วยผลไม้ทรงกลม 12 ชนิด
และการสวมใส่เสื้อผ้าที่มีลายจุดซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของเงิน
และยังเชื่อว่าการเปิดประตู หน้าต่างทุกบานเวลาเที่ยงคืนจะทำให้ได้รับความโชคดี
นอกจากนี้ครอบครัวชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากยังร่วมอ่านพระคัมภีร์คริสเตียน
พร้อมทั้งเข้าร่วมพิธีมิสซาตามแบบชาวคริสต์คาทอลิกที่โบสถ์ในเวลาเที่ยงคืน
การผสมผสานศาสนาและความเชื่อทางไสยศาสตร์ในการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่นั้น
จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับชาวฟิลิปปินส์

ชาวมุสลิมในบรูไน ถือเอาวัน Hari Raya Aidil-Fitri หรือ หรือวันฮารีรายอ เป็นวันเริ่มศักราชใหม่
โดยจะเฉลิมฉลองด้วยการเปิดบ้านต้อนรับญาติสนิท มิตรสหาย ผู้ที่รู้จักคุ้นเคยและบุคคลต่างๆ
เข้าพบปะพูดคุย เยี่ยมเยียนและรับประทานอาหารตลอดเกือบทั้งเดือน
โดยถือเป็นการทำบุญประจำปีหลังจากถือศีลอดเพื่อชำระล้างจิตใจและร่างกายมานาน 1 เดือน

———————
ขอบคุณที่มาข้อมูล:
http://flash-mini.com/asian/national/เชื้อชาติประเทศอาเซียน.html
HTTP://SINGAPORENYE.COM/
http://th.aectourismthai.com/tourismhub/1124#
http://www.aecnews.co.th/aec/read/1018
http://www.dek-d.com/studyabroad/30675/
http://www.iexplore.com/travel-guides/south-and-southeast-asia/brunei-darussalam/festivals-and-events
http://www.komchadluek.net/detail/20130413/156002/สงกรานต์สายน้ำแห่งอาเซียน.html
http://www.kuala-lumpur.ws/festivals.htm#
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000036224
http://www.uasean.com/travel/2326
https://en.wikipedia.org/wiki/New_Year%27s_Eve#Indonesia
https://praneearamdilokratblog.wordpress.com/
https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศสิงคโปร์
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร