Google Patent

นั่งๆ อ่านรายงานพบว่ามีนักศึกษามาขอดูตัวอย่างสิทธิบัตร ก่อนที่จะเริ่มไปไหนเรื่องแรกคือเราต้องคิดเลยว่า
ห้องสมุดเรามีอะไรแบบนี้ไหม? แล้วใครมี? ห้องสมุดอื่นๆมีฐานข้อมูลแบบนี้ไหม?
นอกจากห้องสมุดแล้วหน่วยงานไหนเป็นเจ้าภาพ คำตอบคือ กรมทรัพย์ทางปัญญา เมื่อเข้าเว็บไซต์แล้วไม่ผิดหวังเพราะมีข้มูลมากมาย ลองอ่านต่อที่นี่ค่ะ https://patentsearch.ipthailand.go.th/DIP2013/simplesearch.php
Capture2
อย่างไรก็ตามตัวเองมักมีความเชื่อว่าเรื่องแบบนี้ภาษาอังกฤษมักหาง่ายกว่าภาษาไทย ดังนั้นเราต้องจำไว้เลยว่าสิทธิบัตร = patent พอนึกได้แบบนี้ทำให้นึกถึง Google Patent  เพราะขึ้นชื่อว่า Google แล้ว มักเป็นอะไรที่เราคุ้นเคย และมีคนใจดีหลายๆคนเขียนแนะนำวิธีใช้ Google Patent ไม่เชื่อลองใส่คำค้น แล้วคลิกลิ้งค์ตามไปอ่าน
ส่วนเว็บไซต์ที่ชอบอ่านเกี่ยวกับเรื่องนี้คือเว็บไซต์ของบริษัท IDG หรือ อินเทลเล็คชวล ดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด มี url คือ http://idgthailand.com/ เพราะสวย แบ่งข้อมูลชัดเจนและทันสมัย อ่านแล้วถูกจริตกับตัวเองเป็นอย่างมาก มุมที่ชอบอ่านคือมุมความรู้
http://idgthailand.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/
 
Capture
อย่างเรื่องการสืบค้นสิทธิบัตรก็มีเขียนบอกไว้แบบ intro ว่า.. สิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตร นั้น มีจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะถูกพิจารณาว่ารับจดทะเบียนได้หรือไม่นั้น สิ่งแรกคือการดูเรื่อง “ความใหม่” แล้ว “ความใหม่” ที่ว่านี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใหม่ ? แน่นอนครับ ทุกคนคงต้องมาเปิด google ดูแน่ๆ แต่จริงๆแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจสอบสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้นจะพิจารณา “ความใหม่” จากฐานข้อมูลสิทธิบัตรเป็นหลัก
ฐานข้อมูลสิทธิบัตรเองนั้นมีหลากหลาย ซึ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงด้านทรัพย์สินทางปัญญานั้นมักรู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น ฐานข้อมูลของ Patentscope, Espacenet เป็นต้น หรือฐานข้อมูลที่ถูกแยกออกไปในแต่ละประเทศอีกมากมาย หรืออย่างประเทศไทยเองก็คือสามารถสืบค้นได้โดยใช่ฐานข้อมูลสิทธิบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์นั้นเองหรือซอฟแวร์ต่างๆที่ช่วยในการสืบค้นเช่น TotalPatent, THOMSON REUTERS
ซึ่งเครื่องมือในการค้นหาของแต่ละฐานข้อมูลนั้นก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางฐานข้อมูลนั้นก็จะซับซ้อนและต้องใช้เวลาเรียนรู้ในการใช้งาน วันนี้ผมเลยอยากจะแนะนำวิธีเข้าถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตรอย่างง่ายๆ โดยใช้  google patent
เราอ่านแล้วก็ค้นทำตามแบบที่เขียนไว้ ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ง่ายๆ สบายๆ
ลองไฃตามไปอ่านดูนะคะ  ตามอ่านดูกว่าค่ะเพราะมีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้มากมาย 😛
เนื่่องจาก “คำถาม” แบบนี้เราไม่คุ้นชิน นานๆ มาอัพเดทด้วยตัวเองก็จะดีไม่น้อย
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร