การซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์จ่ายไฟ
ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์จ่ายไฟขนาดเล็กหรือเรียกว่า อะแดปเตอร์ มีหน้าที่แปลงไฟจากไฟ AC เป็น DC เป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกับเครื่อง D-Link DES-1008D Fast Ethernet Desktop Switch 8 Port ความเร็ว 10/100 Mbps แบบ RJ-45 ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายภายในบ้าน หรือสำนักงาน
จากการที่ได้ทำการตรวจสอบเครื่อง D-Link DES-1008D ไม่ทำงาน พบว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการจ่ายไฟให้กับเครื่อง D-Link DES-1008D เสีย เราทราบได้จากการที่นำมิเตอร์มาวัดไฟที่จุด Out Put ของอุปกรณ์จ่ายไฟ “ขณะต่อใช้งาน” พบว่า “ไฟตก” จากไฟที่ควรมีประมาณ 7.5VDC ไฟตกเหลือประมาณ 3-4VDC ทำให้ไฟไม่พอที่จะจ่ายไปให้เครื่อง D-Link DES-1008D ทำให้เครื่องไม่ทำงาน
ลำดับขั้นตอนในการซ่อมบำรุงรักษา
รูปแสดงการเปิดฝาอุปกรณ์ออกมาซ่อม “รุ่นนี้” ไม่มีน็อตให้ขันออก จำเป็นต้องใช้ใบเลื่อยค่อยๆเลื่อยตรงรอยที่เป็นฝาประกบกัน ค่อยๆเลื่อยอย่าให้โดนตัวอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์ที่อยู่ภายใน เลื่อยจนครบทั้ง 4 ด้าน
รูปแสดงอุปกรณ์หลักภายในประกอบด้วย หม้อแปลงไฟฟ้า(transformer) และแผงวงจร(Board)
รูปแสดงอุปกรณ์ 1. ตัวเก็บประจุ (capacitor หรือ condenser) 2. ไดโอด (diode) มี 4 ตัว 3. หม้อแปลงไฟฟ้า(transformer)
รูปแสดงการทำสัญญาลักษณ์ขั้ว บวก-ลบ เอาไว้ที่แผงวงจร เพื่อป้องกันการใส่สลับขั้วของตัวเก็บประจุตัวใหม่ที่จะใส่ลงไปแทนที่
รูปแสดงการใช้หัวแร้ง เพื่อทำการถอดตัวเก็บประจุที่เสียออกมา
ตัวเก็บประจุตัวใหม่ที่จะนำมาเปลี่ยน
รูปแสดงการเปรียบเทียบตัวเก็บประจุตัวเก่าที่ถูกถอดออกมากับตัวใหม่ ค่าความจุจะเท่ากันคือ 1000 ไมโครฟารัด ส่วนค่าโวลต์ จะไม่เท่ากัน(แถวบ้านหาซื้อไม่ได้) เราสามารถใช้ค่าโวลต์ที่สูงกว่าแทนได้ (แต่ขนาดของตัวเก็บประจุก็จะใหญ่กว่าตามไปด้วย รวมทั้งราคาที่สูงกว่า)
รูปแสดงการใส่ตัวเก็บประจุ ตัวใหม่แทนลงไปในแผงวงจร(Board)
รูปแสดงการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์จ่ายไฟเมื่อเสร็จเรียบร้อย