พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด

          พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด เป็นสถานที่เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ภายในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างทางรถไฟสายมรณะ ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2485 – 2488 โดยมีทั้งส่วนที่เป็นนิทรรศการภาพถ่าย สไลด์ มัลติมีเดีย การจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของเชลยศึกสงคราม รวมถืงการเปิดให้เข้าชมสถานที่จริงบริเวณช่องเขาขาดที่เป็นเส้นทางการสร้างรถไฟสู่ประเทศพม่า

          พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดนี้ตั้งอยู่บริเวณกองการเกษตรและสหกรณ์ กองกำลังทหารพัฒนา อำเภอไทรโยค ห่างจากตัวเมืองกาญจน์ประมาณ 80 กิโลเมตร สามารถขับรถไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 323 สู่อำเภอทองผาภูมิ สังเกตได้เมื่อขับรถเลยน้ำตกไทรโยคน้อยไปประมาณ 20 กิโลเมตร ทางเข้าพิพิธภัณฑ์จะอยู่ทางซ้ายมือ

          พิพิธภัณฑ์ส่วนที่จัดแสดงภายในอาคารหลังใหญ่ ภายในติดแอร์ทั้งชั้น เป็นนิทรรศการแสดงเรื่องราว ทั้งภาพถ่าย สไลด์ วีดีโอ ที่ถ่ายทอดถึงความโหดร้าย ป่าเถื่อนของสงคราม โดยบรรดาเชลยศึกถูกบังคับให้สร้างเส้นทางรถไฟผ่านเข้าไปยังป่าดงดิบที่เต็มไปด้วยอันตรายจากโรคไข้ป่า รวมทั้งความยากลำบาก และความอดอยากในภาวะสงคราม ทำให้เชลยนับหมื่นคนต้องล้มตายลง เส้นทางรถไฟสายนี้จึงถูกเปรียบเปรยว่าเป็นเส้นทางที่ต้องใช้ หนึ่งไม้หมอนต่อหนึ่งชีวิต ‘A life for every sleeper’ นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ ยังมีการจัดแสดงเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่มของเชลยศึก และอุปกรณ์ในการสร้างทาง เพื่อให้เห็นว่าในขณะนั้นยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือ และเทคโนโลยีมากไปกว่าการใช้แค่ค้อน พลั่ว สิ่ว สว่าน จอบ ค้อน และบุ้งกี๋ ในการสร้างทางรถไฟ

          บางส่วนของนิทรรศการมีการเขียนบรรยายถึงการลงโทษเชลย มีห้องจัดแสดงหุ่นจำลองสภาพความเป็นอยู่ของเชลย เป็นหุ่นจำลองเชลยศึกขณะที่แบกไม้หมอนในสภาพที่ผอมโซ ไร้เรี่ยวแรง ไม่มีเสื้อผ้าใส่ มีแค่ผ้าเตี่ยวพันเป็นกางเกงในเท่านั้น ตัวอย่างอาหารของเชลยก็มีแค่ข้าวกองเล็กๆ กับผักดองและปลาแห้ง จดหมายที่เชลยสามารถส่งไปยังญาติ ก็เป็นเพียงข้อความพิมพ์สำเร็จที่ให้เชลยกรอกเพียงแค่ว่ายังมีชีวิตอยู่เท่านั้น

          ส่วนที่สองของพิพิธภัณฑ์ จะอยู่ด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ เป็นเส้นทางเดินลงไปยังบริเวณช่องเขาขาด ที่เป็นพื้นที่จริงที่นักโทษสงครามได้ร่วมกันสร้างเส้นทางแห่งนี้ขึ้นด้วยความยากลำบาก โดยเส้นทางการไปบริเวณช่องเขาขาดนี้มี 2 เส้นทาง คือด้านล่าง เป็นเส้นทางที่เดินเข้าไปในช่องเขาบริเวณแนววางรางรถไฟ ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งเป็นเส้นทางที่ต้องเดินขึ้นบันไดขึ้นไปบนเขาเพื่อชมช่องเขาจากด้านบนลงมา ทั้งสองเส้นทางใช้ระยะเวลาในการเดินไปต่างกัน คือเดินในช่องเขาใช้เวลาประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง ส่วนด้านบน เหนื่อยกว่าและใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง

          ข้อมูลเพิ่มเติม

          ช่องเขาขาด หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ช่องไฟนรก”(Hellfire Pass) ชื่อนี้ได้มาจากการที่ เหล่าเชลยที่ทำงานในเวลากลางคืน ต้องจุดคบไฟและก่อกองไฟเวลาทำงาน เมื่อแสงไฟสะท้อนเงาผู้คน ทำให้เห็นเป็นแสงเงาวูบวาบราวกับกับเปลวเพลิงแห่งนรกนั่นเอง พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2542 โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลออสเตรเลียในการรวบรวมข้อมูล จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งบริเวณการจัดแสดงแบ่งเป็นสองส่วน คือ การจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารและส่วนที่สามารถเดินชมช่องเขาที่เป็นสถานที่จริงด้านหลังอาคาร

          เส้นทางช่องเขาขาด เป็นการตัดเส้นทางเพื่อให้รถไฟผ่านช่องเขาที่ขวางเส้นทางอยู่ จึงต้องใช้แรงงานทำการขุดเจาะเขาให้เป็นช่อง ซึ่งต้องใช้คนจำนวนมากในการสร้างเส้นทาง มีทั้งเชลยจากประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ ฮอลแลนด์ และเชลยจากประเทศอื่นๆ รวมทั้งแรงงานที่จ้างมาอีกนับหมื่นๆ คน จุดที่มีการเจาะช่องเขานี้ถือว่ามีความยากลำบากมาก เพราะนอกจากขณะนั้นจะเต็มไปด้วยป่าเขารกชัฎแล้ว เครื่องมือในการทำงานยังเป็นแบบเก่า ล้าสมัย ที่ต้องใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมากในการขุดสร้าง บริเวณนี้ยังมีแนวรางรถไฟที่เคยถูกสร้างไว้ มีเศษไม้หมอนเก่าๆ เศษโลหะ และโซ่ตรวน จัดแสดงไว้ให้ได้ระลึกถึงความโหดร้าย และความสูญเสียจากสงคราม จุดนี้จึงมีหลายคนมาแสดงความไว้อาลัยต่อผู้ที่จากไปให้เห็นอยู่เป็นระยะๆ ด้วย

          ในวันที่ 25 เมษายน ของทุกปี เป็นวัน Anzac Day (Australian and New Zealand Army Corps) หรือวันอนุสรณ์ทหารผ่านศึกออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงเหล่าทหารที่เสียชีวิตในสงคราม

          ข้อมูลการเข้าชมและติดต่อ

– เปิดให้ชมทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ 9.00 น. -16.00 น. ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเข้าชม

– ติดต่อสอบถามได้ที่ 034-531-347, 08-1754-2098, 08-1814-7564

ข้อแนะนำ

– ทางเจ้าหน้าที่มีอุปกรณ์การบรรยายเป็นหูฟังบริการฟรี เพียงเสียค่ามัดจำ 200 บาทต่อเครื่อง มีภาษาให้เลือกทั้งไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เยอรมัน สามารถนำไปกดหมายเลขเพื่อฟังคำอธิบาย ณ จุดต่างๆ

– การเดินชมช่องเขาขาดใช้เวลาไปกลับประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นกรณีฟังคำบรรยายตามจุดต่างๆ นักท่องเที่ยวควรกะเวลาให้เหมาะสม

– การเดินในเส้นทางเดินในช่องเขา และจุดชมวิว เป็นทางค่อนข้างสูงชัน พื้นบางแห่งเป็นหินกรวดขนาดใหญ่ จึงควรเพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะกรณีนำเด็กๆ ไปด้วย

– เนื่องจากพื้นที่บริเวณพิพิธภัณฑ์ได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี นักท่องเที่ยวไม่ควรนำอาหาร เครื่องดื่ม สัตว์เลี้ยงเข้าไปในบริเวณพิพิธภัณฑ์ หรือแม้แต่ทิ้งขยะในที่ที่ไม่ได้กำหนดไว้

– เนื่องจากเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงความสูญเสียจากสงคราม ผู้ที่เดินทางเข้ามาชมควรมีความสำรวมในการเข้าชม ไม่เอะอะเสียงดัง ล้อเลียน หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่และบริเวณที่เป็นอนุสรณ์สถานสำหรับผู้ล่วงลับ

– การเดินเที่ยวชมบริเวณช่องเขา ไม่ควรขีดเขียน ปีนป่าย เดินออกนอกเส้นทางที่กำหนด

แหล่งที่มาของข้อมูล http://www.kanchanaburi.co/th

DSC_5745-2

DSC_5747-2

DSC_5749-2

DSC_5751-2

DSC_5752-2

DSC_5753-2

DSC_5755-2

DSC_5756-2

DSC_5757-2

DSC_5760-2

DSC_5761-2

DSC_5762-2

DSC_5763-2

DSC_5767-2

DSC_5769-2

DSC_5772-2

DSC_5775-2

DSC_5777-2

DSC_5780-2

DSC_5788-2

DSC_5789-2

DSC_5791-2

DSC_5795-2

DSC_5797-2

DSC_5799-2

DSC_5801-2

DSC_5803-2

DSC_5804-2

DSC_5806-2

DSC_5811-2

DSC_5812-2

DSC_5814-2

DSC_5815-2

DSC_5817-2

DSC_5820-2

DSC_5825-2

DSC_5826-2

DSC_5829-2

DSC_5831-2

DSC_5845-2

DSC_5847-2

DSC_5848-2

DSC_5849-2

DSC_5852-2

DSC_5853-2

DSC_5891-2

DSC_5887-2

DSC_5855-2

DSC_5857-2

DSC_5859-2

DSC_5860-2

DSC_5861-2

DSC_5862-2

DSC_5863-2

DSC_5865-2

DSC_5868-2

DSC_5869-2

DSC_5870-2

DSC_5872-2

DSC_5873-2

DSC_5874-2

DSC_5875-2

DSC_5876-2

DSC_5877-2

DSC_5878-2

DSC_5879-2

DSC_5882-2DSC_5883-2

DSC_5886-2

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร