การใช้ตารางชีวประวัติ

:mrgreen: ชีวประวัติ คือ การเขียนประวัติศาสตร์ของชีวิตของบุคคล หรือ การทำงานของบุคคล หรือ การมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคลที่ชี้เฉพาะเจาะจง
งานเขียนชนิดนี้เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ (https://th.wikipedia.org/wiki/ชีวประวัติ)
ผลงานที่ได้รับการจัดชีวประวัติภายใต้หัวข้อ biography เป็นส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่ชี้เฉพาะถึงประวัติของบุคคลนั้นๆ
แต่ถ้าบุคคลนั้นได้มีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา ก็จะถูกกำหนดไว้ในสวนอื่นที่แตกต่างกัน หากเป็นเรื่องของประวัติและผลงาน การจัดหมวดหมู่ก็ที่กำหนดจะให้ในหัวข้อที่ครอบคลุมในการทำงานในส่วนนั้น
ในการจัดหมู่ของระบบ LC จัดเนื้อหาชีวประวัติไว้สองวิธีที่แตกต่างกัน คือ แบบหมวดหมู่ทั่วไปและแบบแยกเป็นชีวประวัติ
แบบหมวดหมู่ทั่วไป ก็จะรวมกับตารางการจัดหมวดหมู่อื่น ๆ
เช่นใน pyschology หมวดหมู่ BF173 .A25-Z เป็นหมวดหมู่สำหรับการทำงานทั่วไปรวมทั้งชีวประวัติเกี่ยวกับฟรอยด์
ซึ่งหมายรวมถึงว่า เรื่องชีวประวัติด้วย ไม่แยกเฉพาะออกไปเป็นหมวดหมู่เฉพาะสำหรับงานชีวประวัติ ในที่นี้อาจรวมทั้งชีวประวัติ สุนทรพจน์ของบุคคลนั้น และเรื่องที่เกี่ยวข้องอื่น
งานที่กล่าวถึงชีวิตและผลงานของสองคนหรือหลายๆ บุคคลที่เป็นชีวประวัติส่วนรวม การใช้ตารางชีวประวัติไม่ควรนำมาใช้ ควรเป็นหมวดหมู่ General work มากกว่า
สำหรับประวัติของแต่ละบุคคล ในหมวดหมู่ LC มีที่แยกชี้เฉพาะ ซึ่งงานที่เป็นชีวประวัติ จะระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นชีวประวัติของแต่ละบุคคลโดยการวิเคราะห์หมวดหมู่จะกำหนดให้ใช้ตารางประกอบคือ Biography Table
ตัวอย่างการใช้   Biography Table (แบบที่ 1)
Biography of Abraham Lincoln, 1809-1865 (ชีวประวัติของประธานาธิบดี อับราฮัม ลิงคอล์น)
E457                      General works. Lincoln as president and statesman TABLE E2
Individual biography (1 no.)

 
E2 .A3 Autobiography, diaries, etc. By date (อัตชีวประวัติ บันทึกประจำวัน กระจายตามระยะเวลา)
E2 .A4 Letters. By date (จดหมาย กระจายตามระยะเวลา)
E2 .A6-.Z Biography and criticism (ประวัติและวิจารณ์)

 
หากเป็นงานเขียนอัตชีวประวัติของ Abraham Lincoln ที่ตีพิมพ์ในปี 1860
 .A3          Autobiography, diaries, etc. By date (อัตชีวประวัติ บันทึกประจำวัน กระจายตามระยะเวลา)

เลขหมู่ที่ได้ก็จะเป็น E457 A3  1860

 
หากเป็นงานเขียนจดหมาย ของ Abraham Lincoln ที่ตีพิมพ์ในปี 1855
 .A4          Letters. By date (จดหมาย กระจายตามระยะเวลา)

เลขหมู่ที่ได้ก็จะเป็น E457 A4  1855
 
หากเป็นงานเขียนชีวประวัติและวิจารณ์ ของ Abraham Lincoln เช่นเรื่อง Lincoln, the unknown ที่เขียนโดย Dale Carnegie ตีพิมพ์ในปี 1959

 .A6-.Z        Biography and criticism (ประวัติและวิจารณ์)

เลขหมู่ที่ได้ก็จะเป็น E457 C36 1959
 
ตัวอย่างการใช้   Biography Table (แบบที่ 2)
United States—Elements in the population—African Americans—Biography. Genealogy—Individual, A-Z
E185.97                Individual A-Z
E185.97.K5         King, Martin Luther    TABLE E1 
Individual biography (Cutter no.)

 
E1 .xA2 Collected works. By date  (รวมงาน กระจายตามระยาเวลา)
E1 .xA25 Selected works. Selections. By date   (งานคัดสรร กระจายตามระยาเวลา)Including quotations (รวมถึงข้อคิด คำคม)
E1 .xA3 Autobiography, diaries, etc. By date   (อัตชีวประวัติ บันทึกประจำวัน กระจายตามระยาเวลา)
E1 .xA4 Letters. By date   (งานประเภทจดหมาย กระจายตามระยาเวลา)
E1 .xA5 Speeches, essays, and lectures. By date  (สุนทรพจน์ ปาฐกถา โอวาท กระจายตามเวลา)
E1 .xA6-.xZ Biography and criticism  (ประวัติและวิจารณ์)

 
ในตาราง .x หมายถึง เลขคัตเตอร์ของบุคคล ชื่อบุคคล เจ้าของชีวประวัติ (.x = Cutter for biographee.)
E185 .97 .K5 = King, Martin Luther.
[.x = .K5]

 
หากเป็นรวมงานทั่วไปของ Martin Luther King เช่น The collected works of Martin ตีพิมพ์ในปี 1967

.xA2      Collected works. By date

เลขหมู่ที่ได้ก็จะเป็น E185 .97.K5A2 1967

 
หากเป็นรวมงานคัดสรรของ Martin Luther King เช่น Words & wisdom of Martin ตีพิมพ์ในปี 1970

.xA25 = Selected works. By date

เลขหมู่ที่ได้ก็จะเป็น E185 .97.K5A25 1970
 
แหล่งอ้างอิง :
http://www.itsmarc.com/crs/mergedProjects/cutter/cutter/biography_table_cutter.htm
http://library.princeton.edu/departments/tsd/katmandu/class/biog.html
www.classificationweb.net

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร