SQ3R เทคนิคการอ่าน

         การอ่านมีประโยชน์ และความจำเป็นกับบุคคลทุกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา เนื่องจากวิธีการเรียนในสมัยนี้ นักเรียน นิสิต นักศึกษาต้องค้นคว้าเพื่อศึกษาหาความรู้มาประกอบการเรียนให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น ใช้วิจารณญาณในการอ่านเรื่องที่ต้องศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้อง สามารถนำไปแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การอ่านที่ผู้อ่านใช้ความคิดพิจารณาสิ่งที่อ่านอย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน มีเหตุมีผล เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบ สรุปสาระสำคัญ ทั้งเข้าใจความหมายของผู้เขียน ถ้อยคำ อารมณ์ จุดประสงค์ของผู้เขียน สามารถแยกแยะข้อเท็จจริง  และสามารถประเมินคุณค่าสิ่งที่อ่านได้อย่างถูกถูกต้องเที่ยงธรรม การอ่านมีหลายระดับ การอ่านในระดับสูงได้แก่ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่านที่ผู้อ่านต้องใช้ความคิด วิเคราะห์ใคร่ครวญและประเมินได้ว่า ความรู้นั้นได้มาหลายทาง
การอ่าน นับเป็นทางหนึ่งของการแสวงหาความรู้ และการอ่านเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ไม่ว่านักเรียนจะเรียนวิชาใดจะต้องอาศัยทักษะการอ่านเสมอ ถ้ามีทักษะการอ่านดีแล้ว การเรียนในวิชาอื่นๆ ก็ย่อมจะบังเกิดผลรวดเร็ว
การอ่านแบบ SQ3R นี้เริ่มโดยฟรานซิส พี โรบินสัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ
ได้ศึกษาเทคนิคการอ่าน และแนะนำวิธีการอ่านให้กับนักศึกษาจนประสบผลสำเร็จเป็นเวลานาน จากนั้นสรุปออกมาเป็นสูตร หรือวิธีการอ่านสั้นๆ เพื่อให้จำง่าย คือ Survey Q3R หรือ SQ3R มี 5 ขั้นตอน สรุปได้ดังนี้
1. Survey (S) = ขั้นสำรวจ หมายถึง การสำรวจหนังสือ ดูชื่อผู้แต่ง คำนำ เพื่อดูจุดมุ่งหมาย และแนวคิดของผู้แต่ง สำรวจสารบัญ ดัชนี อภิธานศัพท์ ภาคผนวก บทสรุป แบบฝึกหัด เพื่อตรวจสอบสาระที่ปรากฏอยู่ในหนังสือทุกๆที่ และอ่านสำรวจเนื้อเรื่องทั้งเล่มอย่างรวดเร็ว

  1. Question (Q) = ขั้นตั้งคำถาม หลังจากอ่านสำรวจเสร็จแล้งตั้งคำถาม ถามตนเองว่าสิ่งที่ต้องการทราบคืออะไร และตั้งคำถามจากเนื้อเรื่องที่อ่านตามลำดับหัวข้อเรื่อง ในแต่ละย่อหน้า
  2. Read (R1) = ขั้นอ่านอย่างรอบคอบ เป็นการอ่านอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อจับใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า ขีดเส้นใต้เฉพาะส่วนที่สำคัญ ให้ความสนใจคำ วลี หรือประโยคที่พิมพ์ตัวเอน หรือตัวหนา การอ่านในขั้นนี้อ่านเพื่อตอบคำถามที่ผู้อ่านตั้งไว้ 
  3. Recite (R2) = ขั้นจดจำ เมื่อเข้าใจคำตอบ และเนื้อเรื่องจากการอ่านแล้ว ควรพยายามจดจำข้อความที่สำคัญ โดยการจดบันทึกย่อหรือขีดเส้นใต้เพื่อเตือนความจำของตนเอง และพยายามถามตนเองว่าจากการอ่านครั้งนี้ได้ความคิดอะไรใหม่ๆ บ้างทดสอบความจำโดยการปิดหน้ากระดาษแล้วดูบันทึกที่เขียนไว้ว่าจำได้หรือไม่ ถ้าตอบไม่ได้ให้ทบทวนคำถาม คำตอบ และท่องจำจากความเข้าใจ
  4. Review (R3) = ขั้นทบทวนเป็นการทบทวนเรื่องราวทั้งหมดจากการอ่านบันทึกย่อ และทำบันทึกย่อจากความจำว่าถูกต้องและจำได้หรือไม่ ทบทวนจุดสำคัญใหญ่ๆ และจุดสำคัญรองลงมาอีกครั้งหนึ่ง                                   การอ่านแบบแบบ SQ3R เป็นการอ่านวิธีหนึ่งที่สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้อ่านให้สูงขึ้นจนถึงขั้นอ่านได้อย่างมีวิจารณญาณ

ข้อมูล : เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร