มารู้จัก VPN Client เพื่อสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่าย SU
ทำไมจึงต้องมาแนะนำ??? เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ บรรณารักษ์….หลายท่าน อาจทราบและรู้จักแล้ว หลายท่านอาจจะยังเง็งเง็ง…ว่ามันคืออะไรกันเนี่ย…
บรรณารักษ์ที่เป็นหัวหน้าเวรอาคารหอสมุดฯ อาจได้รับคำถามจากผู้ใช้บริการบ่อย ๆ ว่า ถ้าจะสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ (เช่น Science Direct, Proquest, ISI เป็นต้น) โดยไม่หมุนโมเด็มผ่าน SU Connection เพราะที่บ้านใช้ Maxnet, ใช้ CS Internet ฯลฯ…. บรรณารักษ์ที่ได้รับคำถามนี้ คงตอบว่าไม่ได้ค่ะ/ครับ ต้องหมุนโมเด็มผ่าน SU Connection หรือไม่ทราบเหมือนกัน…อะไรทำนองนี้ ผู้ใช้บริการก็จะเซ็งกลับไป
วันนี้มีคำตอบที่ดี และ Happy สำหรับผู้ให้และผู้ใช้บริการบริการ…
ด้วยการบอกให้ผู้ใช้บริการติดตั้ง VPN Client ซึ่งศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำไว้สำหรับการให้บริการดังกล่าวข้างต้น เมื่อผู้ใช้บริการ (บุคลากรหรือนักศึกษา) ที่เป็นสมาชิก SUNet …. ขอย้ำ ต้องเป็นสมาชิก SUNet และใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากเครือข่ายอื่น ที่ไม่ใช่ SU ไม่ว่าจะเป็น Maxnet, TOT, CS Internet ฯลฯ ทำการติดตั้ง VPN Client ที่่คอมพิวเตอร์ของตนซึ่งใช้งานนอกมหาวิทยาลัยศิลปากร ก็จะสามารถสืบค้นหรือ download ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ (ที่ต้องผ่าน IP มหาวิทยาลัยศิลปากร) ได้ เหมือนสืบคืนหรือ download อยู่ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร
เพียงให้ผู้ใช้บริการ (สมาชิก SUNet) download โปรแกรม VPN Client (ขณะนี้เฉพาะที่เป็น Windows XP และ Vista) และทำการติดตั้งโปรแกรมนี้ที่คอมพิวเตอร์ของตนเอง และ set Proxy ให้เรียบร้อย โดยสามารถดูวิธีการติดตั้งได้ที่ http://netserv.su.ac.th/manual/vpn/vpn.html (คู่มือนี้เฉพาะ Windows XP อย่างอื่นกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ)
เมื่อผู้ใช้ทำการขั้นตอนในคู่มือเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างก็ OK…. [ต้องเป็นสมาชิก SUNet เท่านั้นนะ…จะบอกให้] 😆
***ส่วนคู่มือที่จะไว้ที่งานบริการสารนิเทศ เรียบเรียงใหม่ ให้สั้นและกระชับขึ้นเรียบร้อยแล้วค่ะ… แล้วจะส่งไปให้ค่ะ***
4 thoughts on “มารู้จัก VPN Client เพื่อสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์นอกเครือข่าย SU”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
ภาพประกอบจะตามมาภายหลัง เพราะขณะเขียนบทความนี้ เกิดมี error ในการ Import ภาพ….
พี่พัชคงชอบ blog นี้
เสียดายจังที่ไม่ได้อ่าน blog ของน้องเอ๋ก่อน เพราะเนื่องจากติดให้บริการผู้ใช้ และพักกลางวันออกไปรับลูกน้อยกลอยใจ พอกลับเข้ามามีผู้ใช้มาสอบถามเรื่องนี้พอดีเลย ยังเขียนไว้ใน blog เรื่อง “รายงานเวรวันที่ 5 ก.ค.” เลยว่า มีผู้ใช้มาสอบถามเรื่องการสืบค้นฐานข้อมูลภายนอกห้องสมุด และจากที่บ้าน ต้องบอกว่า เรื่องนี้โดนใจมากๆ มันคือ ช่องว่างระหว่างบรรทัดใช่ไหมพี่ปอง !!!???
ทำนองนั้นแหละ แต่เราสามารถลดช่องว่างระหว่างบรรทัดด้วยการคิดยาวให้ต่อเนื่อง โยงกันไปกันมา เป็นการฝึกความคิดให้กับตัวเรา Mind Map จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ฝึกแบบนี้บ่อยๆ จะทำให้เราหลุดจากตัวเอง แต่ไม่ถึงกับหลุดโลกและมองอะไรรอบด้านมากขึ้น ใครพูดอะไรมาก็จะเข้าใจไปหมด อะไรมันก็เลยง่ายไปโหม้ดเช่นกันน้องเอ๋ย พี่ส่งไปอีก 2 file เน้อ เป็นรูปกับเป็นเรื่อง อิอิ