ทัศนคติเชิงบวกกับการทำงานยุคอาเซียน

5 March 2015
Posted by rungtiwa

ทัศนคติเชิงบวกกับการทำงานยุคอาเซียน เป็นวิชาที่ได้จากการเรียนออนไลน์ ของ กพ. (HRD : e-Learning) ซึ่งเนื้อหาน่าสนใจและเราสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เนื้อหาสรุปคือ
1. ทำความเข้าใจถึงเรื่องของทัศนคติเชิงบวกด้วยการสำรวจแนวความคิดของตัวเอง คือ ทัศนคติเชิงบวกกับทัศนคติเชิงลบเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เด็กมองทุกอย่างเป็นโอกาส แต่สำหรับผู้ใหญ่มองทุกอย่างเป็นอุปสรรค และเราจับผิดผู้อื่นมากกว่าจับผิดตนเอง

2. ทัศนคติเชิงบวก หมายถึง สภาวะที่มั่นใจ ซื่อสัตย์ และสร้างสรรค์ ซึ่งแต่ละบุคคลได้สร้างขึ้นและรักษาไว้ด้วยเจ้าตัวเป็นผู้เลือก ให้เป็นไปตามแรงปรารถนารับรู้อยู่กับตนเอง เมื่อเรามีทัศนคติเชิงบวก เราก็จะมีความสุขกับตนเองและกับผู้อื่นเราจะมีความนับถือตนเอง มีความรู้สึกดี ๆ ประสบแต่เรื่องดี ๆ และห่างไกลจากเรื่องร้าย ๆ ทัศนคติเชิงบวกสอนให้คิด และทำอย่างสร้างสรรค์ แล้วผลักดันส่วนทัศนคติให้เป็นความจริง คิดเชิงลบจะกัดกร่อนพลังในการทำงานของตัวเรา รวมทั้งคนรอบข้าง บั่นทอนความมั่นใจ ทำลายความคิดสร้างสรรค์ทักษะในการคิด การแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ กรอบความคิดเชิงลบจะเป็นตัวในการแสวงหาโอกาสของเราโดยไม่รู้ตัว

ทัศนคติคติเชิงบวกยังสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) EQ คือ เป็นความสามารถในการรับความรู้สึกของตนเองและคนรอบข้างเพื่อนำมากระตุ้น ผลักดัน และจัดการอารมณ์ของตนเอง อันจะส่งผลทั้งตนเองและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อ สร้างความเข้าใจว่าความสามารถทางอารมณ์ช่วยสร้างแรงจูงใจ และปรับปรุงทักษะในการประสานและปรับปรุงความสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. การสร้างทัศนคติที่ดีกับการทำงาน เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนเพื่อทำงานกับผู้อื่นด้วยการสร้างนิสัยแบบใหม่ทางอารมณ์ด้วยการปฏิบัติจริง ได้แก่ หลีกเลี่ยงการพูดในแง่ลบ ใช้คำพูดในแง่บวก หลีกเลี่ยงการเข้าไปสู่สภาวะอารมณ์เชิงลบของคนอื่น ๆ ทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นด้วยอารมณ์เชิงบวกของคุณ หลีกเลี่ยงการซึมซับข่าวสารทางลบ รับข้อมูลทางบวกแทน เรียนรู้ที่จะทำตัวให้สบายเมื่อต้องอยู่ในที่อึดอัดใจ เปลี่ยน “จุดด้อย” ของตัวเองให้เป็นจุดเด่น
อย่างไรก็ตามยังมีหลุมพรางทางความคิดเชิงลบเกี่ยวกับการทำงานที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เช่น มองการทำงานเป็นความเครียดไม่ใช่เรื่องท้าทาย ไม่รู้สึกท้าทายกับปัญหาและอุปสรรค จินตนาการความกลัวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ไปเอง กังวลกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมากเกินไป หลีกเลี่ยงงานยากเพราะไม่อยากลำบาก และคิดว่าทำมากกว่าคนอื่น มองผู้อื่นในเชิงลบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ และยึดถือแนวความคิดของตัวเองเป็นหลัก

เทคนิคการเอาชนะหลุมพราง รู้จักมองกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเท่าทัน รู้จักการสร้างคำถามด้วยพลังเชิงบวก ปรับเปลี่ยนความคิดกับเหตุการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และยอมรับในการเปลี่ยนแปลง

คุณสมบัติของนักคิดเชิงบวก ได้แก่ การมีเป้าหมายที่ชัดเจน การมีวินัยในการทำงาน การมีความคิดสร้างสรรค์
5. การประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงเพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่ AEC คือ ต้องรู้จักตามอาเซียนพร้อมปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง และเตรียมพร้อมกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วยการใฝ่เรียน ใฝ่รู้ตลอดเวลา
ข้อคิด จะคิดบวก…คิดลบ อยู่ที่ตัวเรา เราสามารถกำหนดเองได้นะจ๊ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร