กล้วยไข่เชื่อมขนมหวานไทยทำเองได้ง่ายๆ

1424763169742    วันเสาร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ.) มีโอกาสได้ไปหาแม่ที่บ้าน ต.หนองโพ จ.ราชบุรี ปกติถ้าได้กลับบ้านทุกครั้งก็จะต้องมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของอาหารการกินเพราะโดยส่วนตัวแล้วชอบทำ รู้สึกสนุกดี ที่ชอบทำคือขนมหวานไทย เพราะชอบในกลิ่นของกะทิและใบเตย ซึ่งกลิ่นของมันหอมมากๆ
มาคราวนี้เห็นใบเตยที่บ้านกำลังงามเชียว ก็เลยคิดอยากทำกล้วยไข่เชื่อม เคยอ่านในหนังสือมาแล้วทำไม่ยากก็เลยอยากทำ ชวนลูกสาวออกมาตลาดซื้อกล้วยไข่มา 2 หวี เลือกที่กำลังห่ามๆ เพราะถ้าสุกแล้วพอเชื่อมออกมามันจะเละและไม่สวย
อันดับแรกที่ทำคือ ทำน้ำกะทิสำหรับราดกล้วยก่อน ส่วนผสมก็กะเอาเอง ครั้งนี้ใช้กะทิครึ่งกิโลกรัม เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วก็แป้งเอนกประสงค์ 2 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกันแล้วตั้งไปกวนด้วยไฟอ่อนๆ จนกะทิสุก มีลักษณะข้น และต้องไม่แตกมันนะคะ (ไม่ได้ถ่ายรูปตอนกำลังทำค่ะเพราะมัวแต่กวนกะทิอยู่ เพราะกลัวแตกมัน)
เมื่อทำกะทิสำหรับราดเสร็จ จากนั้นก็มาเตรียมน้ำเชื่อมเพื่อเชื่อมกล้วย ใช้กะทะทองเหลืองนะคะ เพราะมันจะควบคุมระดับความร้อนได้ดี ส่วนผสมต่าง ๆ ก็กะเอาเองอีกแหละ ก็มีน้ำตาลทรายขาวประมาณ ½ ก.ก. น้ำสะอาดประมาณ 2 ถ้วยตวง ใบเตย 4-5 ใบ ล้างให้สะอาดแล้วม้วนใส่ลงไปในน้ำเชื่อม ผสมน้ำกับน้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วนำไป ตั้งไฟ คนให้ละลาย (จะได้เป็นน้ำเชื่อม) แล้วนำมาลงกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอนตาถี่ๆ ครั้งหนึ่ง
จากนั้นก็เทใส่กลับคืนกะทะ แล้วนำไปตั้งไฟเคี่ยวต่อ โดยจะเคี่ยวน้ำเชื่อมไปเรื่อย ๆ แรกๆ ตอนน้ำเชื่อมยังใสอยู่ จะเห็นว่าฟองตอนเดือดจะเป็นฟองค่อนข้างใหญ่ แต่เมื่อยิ่งน้ำเชื่อมข้นมากขึ้นเท่าไหร่ ฟองก็จะยิ่งเล็กลง ซึ่งเราจะเคี่ยวน้ำเชื่อมให้ลดลงไปประมาณ 1/4 ของส่วนผสมครั้งแรก ก็จะได้น้ำเชื่อมที่มีความเหนียวได้ที่ แล้วเราก็ค่อยเอากล้วยไข่ที่เราปอกไว้ใส่ลงไปเชื่อมค่ะ ก็ปอกเปลือกกล้วยไข่ (ยิ่งเขียวมากยิ่งปอกยาก) ถ้ามีเส้นดำๆ ก็ดึงออกให้หมด แล้วตัดหัวตัดท้ายสักหน่อยเพื่อความสวยงาม ปอกเสร็จก็ใส่ลงไปแช่ไว้ในน้ำที่ผสมน้ำเกลือนิดหน่อย เพื่อไม่ให้กล้วยเปลี่ยนเป็นสีคล้ำๆ (ลืมบอกไปว่าวิธีปอกกล้วสำหรับเชื่อมทำได้ทั้ง 2 อย่าง ถ้าไม่ปอกแช่น้ำเกลือก็สามารถปอกแล้วใส่ลงในกะทะเชื่อมได้เลย)
สำหรับตัวเองแล้วใช้วิธีที่ 2 ค่ะ เพราะสะดวกดี การเชื่อมกล้วยเนี่ยจะต้องใจเย็นๆ จะใจร้อนเร่งไฟแรงๆ ไม่ได้ การเชื่อมกล้วยไข่ (หรือเชื่อมอะไรก็แล้วแต่) ให้ใช้ไฟกลางๆ ค่อนมาทางอ่อนสักหน่อย เพื่อค่อยๆ ให้น้ำเชื่อมซึมเข้าไปในเนื้อกล้วย พร้อมกับความร้อนจากน้ำเชื่อมที่1424763166023จะทำให้กล้วยค่อย ๆ ระอุ และก็สุกพร้อมๆ กับซึมซับน้ำเชื่อมได้เต็มที่ การสังเกตว่ากล้วยสุกหรือไม่นั้นให้ดูจากกล้วยตัวจะตัวยาวขึ้น จากการทำครั้งนี้จับเวลาแล้วใช้ไปประมาณ 1 ½ ชม. จากนั้นก็ก็ตักขึ้นใช่ถาดเพื่อระบายความร้อน กว่าจะได้กล้วยไข่เชื่อมหน้าตาแบบนี้ (แทรกรูป)
กล้วยยังไม่ทันคลายร้อนเลย..ลูกสาวก็มาขอชิม แป๊ปเดียวหมดไป 3 ลูก (ลูกสาวบอกว่าอร่อยมากๆ) เลยบอกลูกสาวว่าเวลาทำนั้นมันน๊าน…นาน แต่เวลาทานมันแป๊ปเดียวจริงๆ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร