สายสัญญาณไมโครโฟน กับการดูแลรักษา

    สายสัญญาณไมโครโฟน กับการดูแลรักษา  

        สายสัญญาณไมโครโฟนกับขั้วต่อ มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่เราควรจะต้องทราบ และเข้าใจก่อนที่จะเลือกใช้งาน การที่เรานำสายชนิดอื่นมาใช้แบบผิดๆ อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนในการใช้งาน และอาจลามไปถึงในส่วนที่เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้งานร่วมกัน สัญญาณรบกวนได้แก่ คลื่นความถี่ไฟฟ้า, สัญญาณวงจรนาฬิกา, สัญญาณจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ,  คลื่นรบกวนจากสถานีวิทยุ เป็นต้น

       ที่จะกล่าวถึงนี้ ขอกล่าวแค่ในเรื่องของสายสัญญาณไมโครโฟน ที่ใช้ประจำการอยู่ในห้องดูหนังฟังเพลงเท่านั้นนะครับ เพราะว่าสายสัญญาณ และการต่อสายสัญญาณมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราใช้งานอยู่เป็นสำคัญ

001-

        ส่วนประกอบของสายไมโครโฟนและขั้วต่ออุปกรณ์มีดังนี้

      1. ขั้วต่อ XLR แบบตัวเมีย เป็นขั้วต่อสัญญาณเสียงมี 3 ขา สามารถใช้ต่อสัญญาณเสียงแบบ BALANCED SIGNAL โดยต้องใช้การนำสัญญาณทั้งหมด 3 ขาคือ ขา HOT, ขา COLD, ขา GROUND (หรือเรียกว่า บวก, ลบ, กราวด์) หรือแบบ UNBALANCED SIGNAL โดยใช้การนำสัญญาณ 2 ขาคือ ขา SIGNAL และขา GROUND)

      2. สายชีลด์ (Shield) หรือสายนำสัญญาณ ภายในสายจะมีสายไฟอยู่ 2 เส้น สายเส้นหนึ่งจะเป็นส่วนของ สัญญาณ และสายอีกเส้นจะเป็นส่วนของกราวด์ สายชีลด์ สายชนิดนี้สามารถป้องกันสัญญาณรบกวน หรือคลื่นรบกวนที่จะเข้ามารบกวนในส่วนของสายสัญญาณ และสามารถป้องกันการแพร่กระจายคลื่นที่เล็ดลอดออกมาจากสายนำสัญญาณได้

      3. MONO phone jack ¼ ” แบบตัวผู้ เป็นขั้วต่อสัญญาณเสียง มี 2 ขา (เนื่องจากเป็นแบบ Mono จึงมีเพียง 2 ขา) สามารถใช้ต่อสัญญาณเสียงแบบ UNBALANCED SIGNAL โดยใช้ 2 ขาสัญญาณ (คือขา SIGNAL และขา GROUND)

      พอจะทราบส่วนประกอบที่สำคัญๆ ของสายสัญญาณไมโครโฟนกันแล้วนะครับ สรุปก็คือสายสัญญาณที่ใช้ประจำการอยู่นี้เป็นการต่อสายแบบ UNBALANCED SIGNAL ซึ่งเป็นการต่อสายแบบง่ายที่สุด (ในความคิดของผม) เพราะใช้การเชื่อมต่อของสายสัญญาณเพียง 2 เส้น เท่านั้น ทีนี้ก็มาพูดถึงการบำรุงรักษาหรือการซ่อมแซมกัน สายสัญญาณไมโครโฟนส่วนใหญ่ที่เสียจนใช้งานไม่ได้เลยก็คือ มักจะเกิดการขาดในของสายนำสัญญาณ อันเนื่องมาจากการใช้งาน หรือคุณภาพของสายต่ำ

002-

สายสัญญาณไมโครโฟนที่ใช้งาน ส่วนใหญ่จะขาดบริเวณใกล้ขั้วต่อ XLR (ตรงที่ต่อกับตัวไมโครโฟน)

003-

ใช้คีมตัดสายไฟ ตัดสายบริเวณตรงที่เกิดรอยขาด แล้วทำการปลอกสายสัญญาณ

004-

          เมื่อปลอกสายนำสัญญาณออกมาจะพบ สายอยู่ภายใน 3 เส้น คือ 1. สาย GROUND  2. สาย SIGNAL  3. เชือก  ให้ทำการตัดสาย สาย GROUND และสาย SIGNAL ให้พอดี (ประมาณ 1-2 cm) เพื่อที่จะทำการบักกรีสายเข้ากับขั้วต่อ XLR ส่วนอีกเส้นเป็นเชือกให้ตัดทิ้ง

005-

ใช้หัวแร้งบักกรีสายเข้าตามตำเหน่งเดิมที่บักกรีไว้

007

ประกอบขั้วต่อ XLR เข้าตามเดิม

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร