อ่านหนังสือวันละเล่ม พระราชนิพนธ์ เรื่อง "เขมรสามยก"

“เขมรสามยก”  เป็นหนังสือ พระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่ พระองค์ทรงถ่ายทอดเรื่องราวของประเทศกัมพูชา ที่ได้เสด็จฯ ไปทรงเยือน มีทั้งความสนุกสนาน ความน่ารัก น่าประทับใจ  และพระจริยวัตรอันงดงาม
เนื้อหาและที่มาของเขมรสามยก คือ การเสด็จประพาสเขมรของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวม ๓ ช่วงเวลา คือ
เขมรยก ๑  ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๗ สิงหาคม  ๒๕๓๕
เขมรยก ๒ วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๖
เขมรยก ๓ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๘ มกราคม ๒๕๓๖
เขมรยกที่ ๑
ในวันอังคารที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๕  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินถึงสนามบิน โปเซงตง พนมเปญ (Arriving at Pochengtong Airport, PhnomPenh) โดยมีเจ้าชายสีหมุนี พระโอรสสมเด็จพระสีหนุ (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระเจ้านโรดมสีหมุนี) เฝ้าฯ รับเสด็จ พร้อมด้วยฮอร์นามฮง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และท่านฑูตสุนัย บุณยศิริพันธ์ เอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงพนมเปญ
เมื่่อเสด็จฯ ไปถึงทรงพระราชดำเนินต่อไปยังพระราชวังหลวงและวัดพระแก้ว ที่พระราชวังหลวงแห่งนี้ สร้างขึ้นในพ.ศ. ๒๔๐๘  หลังจากเขมรย้ายเมืองหลวงจากนครธม มาที่พนมเปญ ทอดพระเนตรท้องพระโรง เรียกว่า พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย (Devavinitchai Hall, Khemarin Palace, Phnom Penh)
พระที่นั่งมณเฑียรสถานสำหรับพระราชพิธีสำคัญต่างๆ และตั้ง พระที่นั่งพิมานจักพรรดิ  ห้องบรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน  พระที่นั่งนารีรัตนโสภา ห้องพระบรรทมของมเหสี พระที่นั่งโภชนีโสภา  สำหรับพระราชทานเลี้ยง
พระที่นั่งจันทรฉายา สำหรับแสดงละคร  ส่วนที่วัดพระแก้วเข้าไปในพระอุโบสถ ห้ามถ่ายรูป จึงต้องพูดเอาตามที่จำได้ ว่าวัดพระแก้ว สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๓๕ – ๒๔๔๖  ได้ทรงทอดพระเนตรภาพวาดรามเกียรติ์
รอบพระระเบียง รับสั่งว่ายังทอดพระเนตรไม่ทั่วต้องเสด็จฯ ต่อไปยังพระที่นั่งเขมรินทร์  (Khemarin Palace in the  Royal  Paเace, Phnom Penh)  เพื่อเฝ้าสมเด็จพระสีหนุ และเจ้าหญิงโมนิก และทรงเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันเป็นอาหารฝรั่งเศสที่อร่อยมาก ประทานเครื่องเงินให้เป็นของขวัญด้วย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จไปทอดพระเนตรเมือง อุดงค์ ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของเขมร อยู่ ๒๐๐ กว่าปี  เป็นที่ตั้งของภูเขาที่เรียกว่า เขาพระราชทรัพย์ (Enroute to visit the Royal Treasure Hill)  เล่ากันว่า เป็นที่ที่พระเจ้าแผ่นดินเขมรโบราณซ่อนพระราชทรัพย์ตอนที่รบกับไทย เรียกชื่ออีกอย่างว่า  เขาพระอัฎฐารส  เพราะมีวิหารพระอัฏฐารส ในช่วงบ่ายเสด็จฯ  ไปยังจังหวัดตาแก้ว ทอดพระเนตรปราสาทตาพรหม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าวรมันที่ ๗ มีทับหลังอายุเก่าแก่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๗ เป็นภาพพระเวสสันดร  และภาพกวนเกษียรสมุทร เสร็จจากปราสาทตาพรหม   เสด็จฯ ไปแวะตลาดของพนมเปญ มีของขายมากมาย ตั้งแต่ผัก ผลไม้ เครื่องทอง ของเก่า นาฬิกา และเครื่องแก้ว ทอดพระเนตรบรรยากาศ จากนั้นเสด็จไปที่ร้านหนังสือ มีสมุดและหนังสือขายมาก (Visit the bookshop in the new market) มีทั้งหนังสือภาษาเขมร และภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส  ราคาไม่แพง
ในวันสุดท้ายที่พนมเปญ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมโรงเรียนเด็กกำพร้ากุหลาบ (Kularp Orphan School)  เด็กนักเรียนกำลังรำละคร  เล่นดนตรี  และร้องเพลง  ทรงประทับใจกับเพลงที่เด็กร้อง ชื่อว่า  “ถ้าพี่ไปดูให้หนูได้วย (The name of the song sung is ” Letme go along with you”
อาจารย์ภูมิจิต  ทำงานองค์กรการกุศลระหว่างประเทศ ด้านการศึกษา ได้ถวายรายงานว่า ปัญหาการศึกษาของกัมพูชา
๑.  ขาดงบประมาณ อาคาร อุปกรณ์ แบบเรียน เงินเดือนครู เมื่อมีครูและอาคารไม่พอทำให้นักเรียนไม่สามารถเรียนได้เต็มที่ ต้องผลัดกันเรียนคนละประมาณ ๔ ชั่วโมงเท่านั้น
๒.  ระบบการศึกษาที่จัดขึ้นใหม่ยังไม่ก้าวหน้า
๓.  การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจมีผลต่อขวัญและกำลังใจของครู แต่เงินเดือนที่ได้รับ (สูงสุด ๘๐๐ กว่าบาท) ไม่เพียงพอกับการเปลี่ยนแปลง
๔. การเมืองไม่แน่นอน  ทรงทอดพระเนตรตามห้องต่างๆ  เช่นห้องแสดงการฝีมือของเด็ก ส่วนมากเป็นงานปัก งานสาน หอพักนักเรียนหญิง กับเด็กชายเล็กๆ  ห้องเรียนเด็กอนุบาล ห้องเรียนตัดเย็บ ปักด้วยจักร หลังจากนั้นเสด็จฯ ต่อไปยังโรงเรียนมัธยมวัดพนม ไม่มีเด็กนักเรียนเพราะเป็นช่วงปิดเทอม ดูแต่ห้องสมุด  (ภาษาเขมรเรียกว่า  บรรณาลัย) (“Bannalai ” or the library of Mathayaom Wat Phanom  School เพื่อดูหนังสือ และอุปกรณ์การศึกษา และได้รับหนังสือชุดหนึ่งด้วย ครูใหญ่โรงเรียนนี้มีประสบการณ์มากเป็นครูมา ๓๐ ปีแล้ว
เสด็จฯ หอสมุดแห่งชาติเขมร  หน้าประตูทางเข้าอาคาร มีคำจารึกเป็นภาษาฝรั่งเศส และภาษาเขมรที่เป็นคติว่า  “La force lie un temps, I’idee  enchaine pour  toujours”
“เท่าที่ได้เห็นห้องสมุด จัดไว้ได้ดีพอสมควร มีหนังสืออยู่ประมาณแสนกว่าเล่ม มีตู้บัตรรายการ (Cards are kept in drawers systematically)  แต่ยังทำบัตรได้ไม่หมด  มีหนังสือพจนานุกรม และหนังสืออ้างอิงต่างๆ ห้องไมโครฟิล์ม เก็บเอกสารโบราณ (Ancient document )  แม้แต่เอกสารโบราณของไทย เช่นใบลาน สมุดข่อยก็มีถึง  ๓๘  เล่ม ทำกล่องใส่อย่างดี  ทอดพระเนตรโครงการรักษาหนังสือโบราณ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล หนังสือหายาก เช่นพระไตรปิฏกาษาเขมรมีครบ ๑๑๐  เล่ม หนังสือนี้พิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ ด้านหนึ่งเป็นภาษาบาลี อีกด้านเป็นภาษาเขมร  หนังสือภาษาไทย มี ๕๑  เล่ม 
ส่วนใหญ่เป็นหนังสือค่อนข้างหายาก  หนังสือภาษาเขมรก็เห็นมีหนังสือรุ่นเก่า ประชุมเรื่อง เพรงเขมร (เพรง แปลว่า เก่า, เมื่อสมัยก่อน)   รามเกียรติ์เขมร   หนังสือลาว มี ๒๐๐  กว่าเล่ม  หนังสือภาษาอังกฤษ มี  ๑๘,๐๐๐ เล่ม  หนังสือฝรั่งเศสแปลกๆ  น่าสนใจ
หลังพระกระยาหารกลางวันที่โรงแรมลอยน้ำ มีโอกาสได้ทอดพระเนตรธนาคารกัมพูชาพาณิชย์ และไทยพาณิชย์มีพระวินิจฉัยว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นพวกสหประชาชาติ  คนเขมรไม่นิยมฝากเงิน
ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เข้าทูลลาสมเด็จพระสีหนุ และเจ้าหญิงโมนิก ที่วังเขมรินทร์ ประทานเทปเพลงต่างๆ ที่ทรงร้องเองให้ด้วย จากนั้นเจ้าชายสีหมุนีนำเสด็จไปส่งที่สนามบิน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ตรัสว่า การเสด็จพระราชดำเนินไปครั้งนี้ เป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่กรุงพนมเปญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมพระองค์สำหรับการเยือนเขมรครั้งต่อไป
เขมรยกที่ ๒
เป็นการเสด็จฯ ไปทรงเยือนกัมพูชาในวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖  เสด็จลงเรือไปขึ้นเรือรบหลวง กระบุรี เพื่อจะเสด็จฯ ต่อไปยังเกาะกง โดยผ่านทางชายแดน ไทย-กัมพูชา  มีพลเรือเอกสันติภาพ หมู่มิ่ง ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการถวายการต้อนรับบริเวณที่เคยเกิดยุทธการเกาะช้าง ซึ่งเรือรบฝรั่งเศสเข้ามารยิงเรือไทยในช่วงสงคราโลกครั้งที่ ๒  แล้วจึงเดินทางไปขึ้นที่ท่าเรือเกาะกง มีผู้ว่า รุ่ง  พรหมเกษร ผู้ว่าราชการเกาะกงถวายการต้อนรับ และคุณแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยรอรับเสด็จ
การเสด็จฯ ไปทรงเยือนเขมรรอบนี้ สมเด็จพระสีหนุประชวรอยู่ที่ประเทศจีน แพทย์ไม่อนุญาตให้กลับเขมร จึงมีผู้กราบทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่าควรรอให้สมเด็จสีหนุหายดีเสียก่อนค่อยเสด็จฯ แต่ทรงมีพระวินิจฉัยว่าถ้าเลื่อนการเยือนเขมรออกไป จะไปถึงฤดูร้อน ฤดูฝน ไม่สะดวกในการดูโบราณสถาน และจะมีพระภารกิจที่ีไม่สามารถทิ้งไปนานได้ ตั้งพระทัยที่จะไปทอดพระเนตรโบราณสถานที่เสียมราฐเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อสมเด็จพระสีหนุทรงหายดีค่อยเสด็จฯ ไปอีกครั้ง เพื่อไปเฝ้าพระองค์ อย่างเป็นทางการ แต่ก็เกิดมีข่าวสู้รบบริเวณใกล้เสียมราฐก่อนจะเสด็จฯ ไปอีก ทรงได้รับการถวายรายงานจากท่านฑูตสุนัย เอกอัครราชฑูตไทยประจำกัมพูชาว่า การสู้รบมีอยู่บ้างเป็นธรรมดาไม่มากนัก สุดท้ายจึงเสด็จฯ ไปเกาะกงตามกำหนดการที่วางไว้ เกาะกงนี้แต่ก่อนเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย เรียกว่า จังหวัดประจันตคีรีเขต เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโรงพยาบาลเกาะกง (Visiting Koh Kong hospital)  ซึ่งกองบรรเทาทุกสภากาชาดไทย เข้าไปสนับสนุน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง ได้ถวายบรรยายสรุปการดำเนินงานให้ทรงทราบแล้ว ทูลเชิญเสด็จฯ ไปเสวยพระกระยาหารกลางวันที่จวนผู้ว่าฯ พอเสวยพระกระยาหารเสร็จ ผู้ว่าเกาะกงได้ถวายระนาด(Xylophones, gifts) เป็นของขวัญแด่พระองค์ด้วย
ช่วงบ่ายเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมโรงเรียนประถมเกาะกง ประทานสิ่งของเป็นเครื่องกีฬา ประทับเรือทอดพระเนตรแม่น้ำสตึง  เขมรเรียกว่า แม่ติ๊ก  แปลว่า คลองแม่น้ำ  หรือที่คนไทยเรียกว่า แม่น้ำ ครางคืน  ก่อนเสด็จฯ กลับประเทศไทย โดยเฮลิคอปเตอร์
เขมรยกที่ ๓
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ไปทรงเยือนเขมรอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖  โดยมีเจ้าหญิงโมนิกให้การต้อนรับ และนำขึ้นแท่นรับความเคารพ  ตรวจพลสวนสนาม ณ สนามบิน โปเชงตง จากนั้นเสด็จฯ ไปยังสถานที่่ต่างๆ  ตามหมายกำหนดการ ทรงได้รับความรู้เป็นอันมาก อาทิ  เมื่อเสด็จฯ ไปเยี่ยมโรงพยาบาลคาลเม็ตต์ (Calmette Hospital)  ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในกัมพูชา  ระหว่างทรงเยี่ยมห้องคลอด มีเด็กเพิ่งคลอดเพียงชั่วโมงเดียว ทอดพระเนตรเห็นมีดพับวางอยู่ข้างตัวเด็ก ได้รับรายงานว่า ตามธรรมเนียมเขมรต้องวางมีดเป็นเครื่องป้องกันเด็กเกิดใหม่ไว้
ตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖  เดินทางไปทางจังหวัดกันดาล และจังหวัดตาแก้ว ผ่านทางแยกเข้าปราสาท เสด็จฯ  ประพาสชมปราสาทเขมร เริ่มจาก ประสาทตามพรหมบาตี  ปราสาทเนียงเขมา (แปลว่านางดำ)  ศิลปะขอมแบบบาเค็งหรือ เกาะแกร์ ที่ใช้ทำพิธีขอฝน  เดินทางต่อไปที่ปราสาทพนมจิสอร์ (Phnom Chisor Hill)   ศิลปะขอมแบบปาปวน  จิสอร์ อาจจะหมายถึงพระอิศวร เริ่มสร้างสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ ๑ จึงเรียกอีกชื่อว่า สูรยบรรพต หรือ สูรยคีรี สรางต่อในสมัยพระเจ้าธรณินทรวรมัน
วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖  เสด็จฯ ไปปราสาทนครวัด (Angkor Wat)  ศิลปะขอมสมัยนครวัด พ.ศ. ๑๖๕๐ – ๑๗๐๐ รับสั่งว่าปราสาทนครวัดนี้ใหญ่โตจริงๆ  ภาพสลักที่ประดับตกแต่งมีความสวยงามจริงๆ เห็นรูปนางอัปสรแต่งกายและแสดงท่าทางต่างๆ กัน มีคนช่างสังเกตบอกว่ามีอัปสรเพียงสี่นางที่นครวัดยิ้มเห็นฟัน   ใครไปนครวัดถ้าสนใจฟันก็เชิญไปดูได้
วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖  เสด็จฯ ทอดพระเนตรปราสาทปักษีจำกรง ศิลปะขอมแบบเกาะแกร์  ทรงชอบปราสาทนี้มาก เหตุเพราะสมัยเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ จำปราสาทปักษีจำกรงได้   สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าหรรษาวรมันที่ ๑ ทรงสร้างขึ้นในสมัยเกาะแกร์ พระเจ้าราเชนทรวรมันซ่อมรวากลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ (สมัยแปรรูป)  ฐานเป็นศิลาแลง สี่เหลี่ยมย่อมุม  จากนั้น เสด็จฯ ไปที่ปราสาทบายน ศูนย์กลางเมืองพระนครธม ศิลปะขอมแบบบายน  ทอดพระเนตรภาพแกะสลัก  จากนั้นไปที่ศาลา นมัสการพระพุทธรูป มีวงดนตรีบรรเลง  เจ้าหญิงอรุณรัศมี กับพระสวามี และชาวบ้านมาต้อนรับ สมเด็จพระเทพฯ ทรงไปทักทายถามทุกข์ สุข  การทำมาหากิน  เขาบอกว่า “ปีนี้ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยดี ข้าวไม่พอกิน”
เสด็จฯ ไปปราสาทพิมานอากาศ  (Prasat Phimeanakas)  ศิลปะขอมแบบคลัง หรือเกรียง  เป็นปราสาทหินโดดๆ ในตอนค่ำหลังพระกระยาหารแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังรับสั่งกับนายกรัฐมนตรีเขมรขอชมนครวัดเหมือนที่เคยชมทัชมาฮาลยามราตรี  ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ทรงประทับใจ การเสด็จฯ ส่วนใหญ่ ทอดพระเนตรปราสาทเขมร ซึ่งแต่ละแห่ง ต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหในการก้าวพระบาทและป่ายปืนแต่ทรงพระเกษมสำราญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อคณะเดินทางได้ถวายเสื้อยืดลายนครวัด  มีลายเซ็นของทุกคนเป็นอักษรชาติต่างๆ
ในระหว่างประทับบนเครื่องบิน เสด็จฯกลับประเทศไทย  ทรงมีรับสั่งว่า การเมืองเขมรเปลี่ยนแปลงไป ไม่แน่พระทัยว่าจะไปเยือนเขมรยกที่สี่เมื่อไหร่  แต่ยกต่อๆ ไปยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่จะทอดพระเนตร
 
สนใจ เชิญอ่านหนังสือเขมรสามยก ได้ที่ ชั้น 3 อาคารหอสมุดฯ  เลขหมู่   call no. DS554.382ท73

One thought on “อ่านหนังสือวันละเล่ม พระราชนิพนธ์ เรื่อง "เขมรสามยก"

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร