วรรณกรรมแห่งชาติ 38 เรื่องจาก 38 ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

:mrgreen: บรรยากาศปีนี้มีข่าวที่ให้รู้สึกว่าเป็นปีแห่งการส่งเสริมการอ่านอย่างไร ก็ไม่รู้ ด้วยว่ามีการประกาศเรื่องดีๆ เกี่ยวกับหนังสือออกมาอย่างต่อเนื่อง
เมื่อ เดือนสิงหาคม มีข่าวประกาศเกี่ยวกับ วรรณกรรม 50 เล่มที่เยาวชนควรอ่านไป (อ่านเพิ่มเติมที่ Blog โครงการวรรณกรรมชั้นดี 50 เล่ม ที่เยาวชนควรอ่านก่อนโต ของ สสส. http://202.28.73.5/snclibblog/?p=42660
เมื่อเดือนตุลาคม กรุงเทพมหานครประกาศเรื่อง วรรณกรรมประจำ 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ติดตามอ่านได้ที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=45422
วันนี้( 23 ธ.ค.) ในวาระครบรอบ 100 ปี ของวรรณคดีสโมสร ที่ได้จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เพื่อยกย่องหนังสือที่แต่งดีให้เป็นมรดกของชาตินั้น กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงได้คัดเลือกผลงานชิ้นเอก ของศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 – พ.ศ.2555 จำนวน 38 เรื่อง จากจำนวน 38 ท่าน เพื่อยกย่องให้เป็นวรรณกรรมแห่งชาติ และยกย่องเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าให้เป็นมรดกของชาติ  สำหรับรายชื่อศิลปินแห่งชาติ ที่ได้รับคัดเลือกผลงาน เป็นวรรณกรรมแห่งชาติ มีดังนี้
พล.ต.ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่อง สี่แผ่นดิน
คุณกัณหา เคียงศิริ หรือ  ก. สุรางคนางค์ เรื่อง หญิงคนชั่ว
คุณอบ ไชยวสุ หรือ ฮิวเมอริสต์ เรื่อง อ้ายเปียด้วน
ม.ล.ปิ่น มาลากุล เรื่อง หัวใจทอง
คุณสุกัญญา ชลศึกษ์ หรือ กฤษณา อโศกสิน เรื่อง น้ำเล่นไฟ
คุณอังคาร กัลยาณพงศ์ เรื่อง กวีนิพนธ์ของ อังคาร กัลป์ยาณพงศ์
คุณศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ หรือ เสนีย์ เสาวพงศ์ เรื่อง ปีศาจ
คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ เรื่อง เหมืองแร่
คุณสุวัฒน์ วรดิลก หรือ  รพีพร เรื่อง ลูกทาส
คุณคำสิงห์ ศรีนอก หรือ ลาว คำหอม เรื่อง ฟ้าบ่กั้น
คุณประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา หรือ อุชเชนี เรื่อง ขอบฟ้าขลิบทอง
คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เรื่อง เพียงความเคลื่อนไหว
คุณทวีป วรดิลก เรื่อง จงเป็นอาทิตย์ เมื่ออุทัย
คุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เรื่อง เสเพลบอยชาวไร่
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ หรือ ศรีฟ้า ลดาวัลย์ เรื่อง บุญบรรพ์
คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือ พนมเทียน เรื่อง ศิวา-ราตรี
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เรื่อง สารวัตรเถื่อน
คุณสุภา สิริสิงห  หรือ โบตั๋น เรื่อง จดหมายจากเมืองไทย
คุณอัศศิริ ธรรมโชติ เรื่อง ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง
คุณคำพูน บุญทวี เรื่อง ลูกอีสาน
คุณกรุณา กุศลาสัย เรื่อง ชีวิตที่เลือกไม่ได้
คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ หรือ ว.วินจฉัยกุล เรื่อง รัตนโกสินทร์
คุณชาติ กอบจิตติ เรื่อง เวลา
คุณประยอม ซองทอง เรื่อง สุดสงวน
คุณสถาพร ศรีสัจจัง เรื่อง ทะเล ป่าภู และเพิงพัก
ศ.เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ เรื่อง ค่าวร่ำ 700 ปี เมืองเชียงใหม่
ศ.กิตติคุณ ระวี ภาวิไล เรื่อง ปรัชญาชีวิต
คุณโกวิท เอนกชัย เรื่อง อันเนื่องกับทางไท
คุณอดุล จันทรศักดิ์ หรือ อัคนี หฤทัย เรื่อง ณ กาลเวลา
คุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล เรื่อง มหาวิทยาลัยชีวิต
คุณสมบัติ พลายน้อย หรือ ส. พลายน้อย เรื่อง เกิดในเรือ
คุณสุรชัย จันทิมาธร เรื่อง รวมเรื่องสั้น “ข้างถนน”
คุณประภัสสร เสวิกุล เรื่อง เวลาในขวดแก้ว
คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี เรื่อง ความเงียบ
คุณนงไฉน ปริญญาธวัช หรือ กาญจนา นาคนันทน์ เรื่อง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา
คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ  หรือ กุลทรัพย์ รุ่งฤดี เรื่อง คำทอง
คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือ ทมยันตี เรื่อง คู่กรรม
คุณมกุฏ อรฤดี หรือ นิพพานฯ เรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้
ซึ่ง หลังจากนี้ สวธ.จะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ส่งเสริมให้คนไทยได้อ่านหนังสือที่มีคุณค่า ทั้งเนื้อหา ภาษา และแนวคิด เพื่อให้วรรณกรรมเป็นเสมือนสายสัมพันธ์ที่ผูกรัดคนในชาติ เสริมสร้างทัศนคติที่ดีและเป็นแรงบันดาลใจให้คนในชาติดำเนินไปในทิศทางเดียว กัน
โดยอาจารย์ประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ.2554 เป็นผู้ผลักดันให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อต้องการเปิดโลกทัศน์แก่นักอ่านรุ่นใหม่และส่งเสริมให้เยาวชนได้รู้จัก วรรณกรรมมากขึ้น โดยอาจารย์ได้กล่าวว่า วรรณกรรมที่ได้รับคัดเลือกในงานนี้มีคุณค่ามาก ถือเป็นมรดกของชาติ ที่สะท้อนให้เห็นว่าชาติของเรามีวัฒนธรรมอย่างแท้จริง อาทิ สี่แผ่นดิน ของ พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, เพียงความเคลื่อนไหว ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ศิวา-ราตรี ของฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิหรือพนมเทียน, เวลาในขวดแก้ว ของ ประภัสสร เสวิกุลและลูกทาส ของ สุวัฒน์ วรดิลก ซึ่งเยาวชนหรือเด็กๆ หลายคนอาจกังวลว่าภาษาของหนังสือเหล่านี้จะเข้าใจยาก อาจารย์ประภัสสร เสวิกุลยังได้แนะนำสำหรับนักอ่านรุ่นใหม่ว่า ให้ลองอ่านจากพุทธศักราช 2555 ไล่ลงไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เข้าใจวิวัฒนาการของภาษาไปได้เรื่อยๆ หรือให้ลองศึกษาจากครู อาจารย์ ผู้รู้ ก็จะทำให้ได้สัมผัสกับวรรณกรรมอันทรงคุณค่าทั้งเนื้อหา ภาษาและแนวคิดอย่างแท้จริง
(สรุปความจาก : http://m.dailynews.co.th/News.do?contentId=289329 และ http://www.krobkruakao.com/ยกย่องผลงานชิ้นเอกของศิลปินแห่งชาติเป็น วรรณกรรมแห่งชาติ.html)
 
 
 
 
 
 
 

2 thoughts on “วรรณกรรมแห่งชาติ 38 เรื่องจาก 38 ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

  • วิทยาเขตสนามจันทร์ มีเกือบทุกเรื่องคะ ยกเว้นเรื่อง คำทอง เรืองเดียวคะ บางเล่มเก่าแล้ว ถ้ามีการผลิตใหม่ก็ดีจะได้หาซื้อเพิ่มเติมเก็บไว้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร