ครูเอื้อ สุนทรสนาน : บุคคลสำคัญของโลก

เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอชื่อ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ต่อองค์การยูเนสโกในวาระครบรอบ 100 ปีครูเอื้อ เพื่อให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2552  กระทรวงวัฒนธรรมได้รับแจ้งจากผู้แทนไทยประจำยูเนสโกว่า จากการกลั่นกรองคัดเลือกบุคคลสำคัญของโลก 5 สาขา คือ การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23  มิ.ย. 2552 ได้เห็นชอบให้ครูเอื้อ สุนทรสนานเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยจะมีมติรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 35 ในเดือนตุลาคม ที่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และประเทศไทยจะจัดงานเฉลิมฉลองในวันที่ 21 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นวันเกิดครบรอบ 100 ปี จนถึง วันที่ 21 มกราคม 2554
สำหรับประวัติของครูเอื้อ สุนทรสนาน มีนามเดิมแรกสุดว่า “ละออ” ต่อมา บิดาให้นามใหม่เป็น “บุญเอื้อ” และได้มาเปลี่ยนอีกครั้งในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็น “เอื้อ สุนทรสนาน”
เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2453 ในสกุล “สุนทรสนาน” อันเป็นสกุลพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านตำบลโรงหวี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บิดาชื่อ นายดี สุนทรสนาน มารดาชื่อ นางแส สุนทรสนาน
ชีวิตสมรสได้สมรสกับนางสาวอาภรณ์ กรรณสูตร ธิดาพระยาสุนทรบุรี มีบุตร 1 คน  คือ คุณอติพร  เสนาะวงศ์
วัยเด็กเริ่มเข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดใหม่ราษฎร์บูรณะ  แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่วัดระฆังโฆษิตาราม จนจบชั้นประถมได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนพรานหลวงซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้ตั้งขึ้นเพื่อสอนดนตรีทุกประเภท  ที่สวนมิสกวันโดยมีพระเจนดุริยางค์เป็นอาจารย์ใหญ่  เป็นผู้สนใจ  และมีความมุมานะพยายามอย่างมากจนสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้จนชำนาญ   และเป็นหนึ่งในเมืองไทยในยุคต่อมา  คือสีไวโอลิน   และเป่าแซกโซโฟน
เมื่อจบหลักสูตรการศึกษาแล้วได้เข้ารับราชการเป็นนักดนตรี ประจำกองเครื่องสายฝรั่งหลวง ที่กรมมหรสพ  กระทรวงวัง ในปี2467  และโอนไปอยู่ที่กรมโฆษณาการ  หรือกรมประชาสัมพันธ์ ในปัจจุบัน  ในปี  2482  จนกระทั่งได้เกษียณายุราชการในปี 2514
และได้เป็นผู้ก่อตั้งวงดนตรี ” สุนทราภรณ์ ”  และครูเอื้อยังก่อตั้งโรงเรียนสุนทราภรณ์
ครูเอื้อ  สุนทรสนาน  มีผลงานฝากไว้ให้อนุชนรุ่นหลังมากมาย เช่น เพลงปลุกใจ เพลงสดุดี เพลงถวายพระพรถวายความจงรักภักดี มากกว่า100เพลง เพลงประจำสถาบัน เพลงประจำจังหวัด ทั้งที่บันทึกเสียงแล้ว และยังมิได้บันทึกเสียง มากกว่า 700 เพลง  เพลงอื่น ๆ ที่มีทั้งเพลงรัก เพลงลีลาศ เพลงรำวง เพลงพื้นบ้าน เพลงละคร เพลงประกอบภาพยนต์มากกว่า 1,000  เพลง
ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด ”  ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ”  ในปี 2518
ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศในฐานะศิลปินตัวอย่างสาขาผู้ประพันธ์เพลงประจำปี 2523
ได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ถึง 4 ครั้ง
ครูเอื้อ สุนทรสนานเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งที่ทรวงอก ในวันที่ 1 เมษายน 2524
ข้อมูลจาก : http://www.maeklongdee.com/pageperson_trarapone.htm
และ http://th.wikipedia.org/
และ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2552 หน้า 16


รูปภาพนี้ต้องขอบคุณพี่ปองที่กริ๊งกร๊างมาบอกว่า ฉันกำลังที่ยวอยู่อัมพวา เธอล่ะทำอะไร เลยบอกไปว่า กำลังเขียน blog เรื่องครูเอื้ออยู่พอดี พี่ปองเลยถ่ายรูปบ้านครูเอื้อ ที่อัมพวามาฝาก  ขอบคุณหลายๆเด้อค่ะ

One thought on “ครูเอื้อ สุนทรสนาน : บุคคลสำคัญของโลก

  • ทราบมาว่า ประมาณต้นเดือนสิงหาคม นี้ มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวัฒนธรรมภูมิภาคตะวันตก จะจัดงานรำลึกถึงครูเอื้อ ด้วยล่ะ กรุณาติดตามด้วยนะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร