ข้อแนะนำในการซื้อหมวกนิรภัย

29 August 2014
Posted by tanawan

 
imagesFOAM (76)
ในระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2557 เป็นช่วงของการจัดงานทับแก้ววิชาการ ศิลปากรไร้พรมแดน ซึ่งในวันที่ 26 ส.ค. หลังจากรับประทานอาหารกลางวันแล้ว ได้เดินชมบูทต่าง ๆ ในงาน ขณะที่เดินเข้าบูทของคณะเภสัชศาสตร์ เจ้าหน้าที่ประจำบูทก็กุลีกุจอมาอธิบายผลิตภัณฑ์ของคณะฯ มากมาย หลังจากที่รับฟังการอธิบายก็ได้เอกสารแจกมา เป็นคู่มือความรู้เกี่ยวกับหมวกนิรภัยและรูปแบบการเกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์วีระ กสานติกุล สถาบันหมวกนิรภัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อดิฉันนำกลับมาอ่านจึงเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ คนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยมีข้อแนะนำ 10 ประการในการเลือกซื้อและดูแลหมวกนิรภัยมาฝาก ดังนี้
1. หมวกนิรภัยที่สามารถปกป้องศีรษะและใบหน้าได้ดีที่สุด คือ หมวกนิรภัยชนิดเต็มใบ รองลงมา คือ ชนิดเปิดหน้า
2. หมวกนิรภัยควรมีแผ่นกันลมที่สามารถถอดเปลี่่ยนได้ และควรใช้ชนิดใสในเวลากลางคืน และชนิดสีทึบในเวลากลางคืน
3. ควรตรวจสอบความหนาของเปลือกนอก ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า 4 มิลลิเมตร มีสีสดและสะท้อนแสงได้ เพื่อผู้ขับยานพาหนะอื่นสามารถเห็นได้โดยง่าย โดยเฉพาะในเวลาค่ำคืน และไม่มีส่วนยื่นออกจากผิวชั้นนอกของหมวกนิรภัยเกินกว่า 5 มิลลิเมตร
4. ควรตรวจสอบความแข็งและความหนาของโฟม ซึ่งควรมีความหนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ขึ้นไป เนื้อโฟมแข็ง ใช้นิ้วกดไม่ลง
5. ควรใช้มือคลำโฟมส่วนหน้าของหมวกนิรภัย หากมีรอยคว้านมากกว่า 1 เซนติเมตร ขึ้นไป ไม่ควรใช้ เนื่องจากจะเป็นจุดอ่อนของหมวกบริเวณนั้น ทำให้ได้รับอันตรายต่อศีรษะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
6. ควรจะตรวจสอบการติดตั้งสายรัดคาง และเลือกชนิดที่เป็นโลหะกับโลหะด้วยกัน
7. ควรตรวจสอบตัวยึดสายรัดคาง และเลือกชนิดที่เป็นรูปครึ่งวงกลม 2 ชิ้นด้วยกัน (Double-D-ring) หรือระหว่างโลหะกับโลหะ ควรหลีกเลี่ยงชนิดที่ทำด้วยพลาสติก เนื่องจากชำรุดได้ง่าย
8. ควรลองสวมหมวกนิรภัยก่อนซื้อ และไม่ควรใช้หมวกนิรภัยที่หลวมหรือคับจนเกินไป
9. หากเกิดอุบัติเหตุและหมวกนิรภัยได้รับแรงกระแทกแล้ว ต้องเลือกซื้อหมวกนิรภัยใบใหม่ทันที ไม่นำมาใช้อีก
10. ไม่ควรแขวนหมวกนิรภัยใกล้กับถังน้ำมัน เพราะไอระเหยของน้ำมันจะทำให้โฟมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
ดังที่กล่าวมาทุกข้อ เราสามารถสังเกตและเลือกได้ไม่ยาก แต่มีเพียงข้อที่ 4 คือ การทดสอบความแข็งและความหนาของโฟม ซึ่งควรมีความหนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ขึ้นไป ซึ่งดิฉันเองไม่แน่ใจว่าจะดูได้จากส่วนใดของหมวก เพราะโฟมน่าจะอยู่ข้างในและห่อหุ้มด้วยวัสดุภายนอก คงจะได้แค่คาดคะเนจากภายนอกเอาเอง  สุดท้ายนี้ ใครไม่อยาก โดนจับ โดนปรับ โปรดเลือกเป็นเจ้าของหมวกนิรภัยที่ปลอดภัยสักใบ เพื่อความปลอดภัยในสวัสดิภาพของตนเองนะคะ
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร