อ่านหนังสือวันละเล่ม "๑๕๐ ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"

หนังสือ ๑๕๐ ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย กรมศิลปากรจัดพิมพ์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในโอกาส ๑๕๐ ปี วันประสูติ และครบ ๕๐ ปี บุคคลสำคัญของโลก ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕  เนื้อหาประกอบด้วย
ส่วนแรก   พระประวัติอย่างย่อของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และการถอดความจากโครงการสัมมนาทางวิชาการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๑๕๐ ปี วันประสูติและครบ ๕๐ ปี บุคคลสำคัญของโลก  มีปาฐกถาพิเศษ เรื่องพระประวัติและผลงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย และสถานภาพการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย หลังสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ส่วนที่สอง  เป็นงานศึกษาของนักอักษรศาสตร์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพในฐานะผู้ทรงวางรากฐานงานประวัติศาสตร์ไทย ความรู้ ความคิด จากเอกสารส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ “นิทานโบราณคดี” พระนิพนธ์ที่สะท้อนมุมมองประวัติศาสตร์และโบราณคดี และเอกสารตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ : หลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสยามในรัฐสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๒๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพเมื่อปีจออัฐศก จ.ศ. ๑๒๔๘ พ.ศ. ๒๔๒๙ เป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ เมื่อปีขาล โทศก จ.ศ. ๑๒๕๒ พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นราชฑูตพิเศษเสด็จไปยุโรปครั้งหนึ่งเมื่อปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี มะโรง จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๕๔ พ.ศ. ๒๔๓๕ เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีกุน เอกศก จ.ศ. ๑๒๖๑ พ.ศ. ๒๔๔๒ ถึงรัชกาลที่่ ๖ เลื่อนเป็นกรมพระดำรงราชานุภาพ อิศรยลาภบดินทรสยามวิชิตินทรวโปการ มโหฬารราชกฤตยานุศร อาทรประพาสการสวัสดิ์วรรัตนปัญญาศึกษาวิเศษ นรินทราธิเบศร์บรมวงศ์อดิสัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๒๗๓ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปีเถาะ สัปตศก จ.ศ. ๑๒๗๗ พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นกรรมการตรวจชำระกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นกรรมการสภาการคลัง เมื่อปีจอ จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๘๔ พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธรและเป็นนายพลเอก เมื่อปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๒๘๕ พ.ศ. ๒๔๖๖ ต่อมารัชกาลที่ ๗ เป็นอภิรัฐมนตรี เมื่อปี ฉลู สัปตศก จ.ศ. ๑๒๘๗ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นนายกราชบัณฑิตยสภา เมื่อปีขาล อัฐศก จ.ศ. ๑๒๘๘ พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชวรานุศิษฏ์ ไพศาลราชกฤตยการี โบาณคดีประวัติศาสตร์โกศลคัมภีรนิพนธนิรุกติปฏิภาณ ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัฒนปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวศรัย พุทธาทิไตรสรณาทรพิเศษ คุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๒๙๑  พ.ศ. ๒๔๗๒  สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๓๐๕ พ.ศ. ๒๔๘๖ พระชันษา ๘๑ ปี เป็นต้นราชสกุล ดิศกุล
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาราชานุภาพทรงประกอบพระกรณียกิจเป็นหลักในราชการอันเป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองนานัปการ ด้วยพระวิริยอุตสาหะและพระปรีชาสามารถเป็นที่ปรากฏมาตลอดพระชนมชีพ โดยเฉพาะพระอัจฉริยภาพทางด้านประวัติศาสตร์นั้นทรงได้รับการยกย่องในฐานะ”พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศสดุดีพระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกนับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการยกย่องเป็นที่ประจักษ์ในสังคมโลก ถือเป็นเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ ถึง ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในโอกาสครบ ๑๕๐ ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ และครบ ๕๐ ปี บุคคลสำคัญของโลก ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ รัฐบาลโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดงานเทิดพระเกียรติ เพื่อประกาศพระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลสืบไป

4 thoughts on “อ่านหนังสือวันละเล่ม "๑๕๐ ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"

  • มีนักศึกษา ป.เอก คนญี่ปุ่น กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อ่านหนังสือทุกเล่มทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น ถามอะไรอธิบายยกตัวอย่าง วิเคราะห์ วิจารณ์ได้หมด ทึ่งๆจริงๆ กับการเรียนการสอนของที่นี่

  • แฟนพันธ์แท้ เข้าใจแล้ว ตอนแรกนึกว่ามีเชื้อสายพระราชวงศ์ หรือข้าราชบริพาร ที่แท้ได้ศึกษาประวัติศาสต์ชาติไทยมาอย่างละเอียดนี่เอง ขอบคุณคุณสำหรับข้อมูลค่ะ แสดงว่านศ. ต่างชาติศึกษาแบบอ่านทุกอย่าง ไม่ให้เว้นหรือขาดหายไป พี่ค่ะ พอจะรู้ไหมว่า นอกจากสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ แล้ว ยังมีคนต่างชาติที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับ สมเด็จพระจ้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ หรือไม่? ฮิๆ อยากรู้ เพราะทั้งทั้งสองพระองค์เป็นผู้ช่วยซ้ายและขวา ของล้นเกล้าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป พี่ค่ะ งั้นเอกสารลายพระหัตถ์ที่หอสมุดดำรงราชนุภาพก็ต้องถูกยืมอ่านทุกชิ้น สาธุ

  • ที่นี่มีหลักสูตรเกี่ยวกับ Southeast Asia จนถึงระดับปริญญาเอกค่ะ เค้าศึกษากันลึกซึ้ง มีหลายคนเข้ามาเก็บข้อมูลในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งละนานๆ แบบจริงจัง ความเห็นคือการทำแบบนี้ทำให้พวกเค้ามีองค์ความรู้ที่เข้มแข็งและจะเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญต่อไป
    ถามเรื่องนี้ทำไมเค้าจึงสนใจ เค้าบอกประมาณว่าได้อ่านประวัติศาสตร์ไทยเห็นว่ากรมพระยาดำรงฯ มีบทบาทในการวางแนวคิดของประเทศไว้เยอะ เลยอยากศึกษาให้ลึกซึ้ง

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร