ระหว่างทางที่เกียวโต 2
มีหลายคนถามว่าทุนนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ขอตอบว่าได้ทราบข่าวนี้จาก fw เมล์ของน้องกาญจน์เมื่อปีก่อนที่ส่งให้บรรณารักษ์ทุกคนอ่านแล้วสนใจ เลยไปถามน้องกาญจน์ว่าสนใจมั้ยน้องบอกไม่ แค่แจ้งให้ทุกคนทราบ ปีนั้นส่งบทคัดย่อไปแต่ไม่ผ่านการพิจารณาทุน พอหลังจากน้ั้นได้มีโอกาสไปเล่าเรื่องการเขียนบทความเพื่อนำเสนอใน CONSAL ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้พบกับพี่ที่ไปทุนนี้มาเล่าเรื่องนี้เหมือนกัน จึงกลับมาเขียนบทคัดย่อเรื่องใหม่ จนกระทั่งได้รับทุนนี้ และส่งเป็นวันสุดท้าย ซึ่งต้องขอขอบคุณคุณผู้บริหารตั้งแต่ผู้อำนวยการ (ทั้งท่านที่แล้วและท่านปัจจุบัน) และหัวหน้าหอสมุดฯ ที่ต้องส่งจดหมายรับรองภายในเส้นแดงเสมอ หลังจากนั้นก็รอค่ะ แต่ไม่ต้องลุ้น ได้ทราบผลจากอีเมล์ไล่ๆ กับที่น้องเขียดไปเมืองจีน
ในปีแรกที่เรื่องเสนอไปเป็นเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยไทยที่เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น ไม่ผ่านค่ะ เรื่องที่นำเสนอและผ่านคือเรื่อง รูปแบบความร่วมมือระหว่างอาจารย์กับบรรณารักษ์เพื่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กรณีศึกษานักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร … ซึ่งดิฉันนำผลงานจำนวนสี่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหอสมุดฯ ของเรามาเป็นหลักเพื่อเขียนบทคัดย่อเพื่อส่งงานวิจัยชิ้นคือ วิทยานิพนธ์ของน้องอ้อ (การแสวงหา/การใช้สารสนเทศ) พี่นก (รูปแบบความร่วมมือ) คุณใหญ่ (ความพึงพอใจ) และ อาจารย์ ดร. ผุสดี ดอกพรม (การรู้สารสนเทศ) ถามว่าเขียนยากมั้ยโดยส่วนตัวคิดว่าไม่ยาก เพราะเรารู้ว่าเรากำลังจะทำอะไร แต่ที่ยากคือการลงมือทำวิจัยจริงๆ เพราะวััตถุประสงค์คือทำทุกเรื่องที่กล่าวมาในวงเล็บทั้งหมด (ยกเว้นเรื่องความพึงพอใจที่ไม่ได้ทำโดยตรง) การฝึกฝนเรื่องการเขียนจึงเป็นสิ่งที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ เท่าๆ กับการอ่าน เพราะจะทำให้เราสามารถหยิบมาใช้ได้อย่างทันกาล
สิ่งที่ลำบากไปกว่านั้นคืองานทุกอย่างต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ความอดทนบากบั่นจึงต้องทวีคูณ เนื่องจากพื้นฐานภาษาของเราไม่ได้แข็งแรง แค่เอาตัวรอดโต้ตอบได้ แต่เอกสารทางวิชาการนั้นไม่ใช่ แต่เนื่องจากเป็นศาสตร์ของเราจึงเข้าใจได้ไม่ยาก อีกทั้งเมื่อต้องคิด เราจึงมีความจำเป็นต้องอ่านเพราะไม่มีเอกสารภาษาไทยมาสนับสนุนงานของเรา การอ่านงานวิจัยภาษาังกฤษจึงเป็นสิ่งที่ “ต้อง” พออ่านมากๆ สิ่งที่พบคือผลการวิจัยคนต่างชาติเขียนงานแบบเล่าเรื่องอ่านแล้วสนุก และน่าจะถูกจริตกับเรา เพราะเป็นคนเขียนเล่าเรื่องมากกว่างานวิจัยแบบตึ็๊บๆ …..โปรดรอผลการวิจัย
ที่มหาวิทยาลัยเกียวโตมีนักวิจัยจำนวนมาก มีนักวิชาการคนไทยหลายท่าน ส่วนของมหาวิทยาลัยศิลปากร เท่าที่ตรวจสอบดูมีดิฉันเป็นคนแรกที่ได้รับทุนวิจัยแบบนี้ จึงรู้สึกดีที่ได้รับโอกาสแบบนี้
ดิฉันได้รับสิ่งดีๆ แบบนี้ครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ครั้งแรกเป็นทุนรัฐบาลมาเลเซีย ให้ไปอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติมาเลเซียเป็นเวลาสามสัปดาห์ ในปี 2000 การไปใช้ชีิวิตตามลำพังในต่างแดนสิ่งที่เห็นง่ายๆ คือ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การช่วยเหลือตัวเองเพื่อให้อยู่รอดท่ามกลางคนที่ต่างจากเรา พอไม่นานน้องเอ๋ก้ได้ทุนนี้ตามไปเช่นกัน
ทุนหรือโอกาสอะไรก็ตาม ไม่มีอะไร ไม่มีลางสังหรณ์บอกล่วงหน้า อยู่ที่ใครพร้อมกว่าใคร ทุนมาเลเซียต้องสอบภาษาอังกฤษ ดิฉันได้มากกว่าคนที่สอง (จากมหาวิทยาลัยอื่น) แค่ครึ่งคะแนน ดังนั้นเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่ดิฉันเน้นย้ำให้กับน้องๆ เพราะเราเคยลำบากมาก่อน เราต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองมาตลอด เราเคยพูดไม่ได้เลย กระทั่งพูดพอได้ จึงไม่อยากให้น้องๆ ลำบากเหมือนกับเรา
ฝากน้องๆ ให้อดทนและมุ่งมั่น ทุกคนมีสิทธิที่จะไปต่อได้
2 thoughts on “ระหว่างทางที่เกียวโต 2”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
ดีใจมากที่มีคนเห็นความสำคัญของงานวิจัยที่ทำไว้ ตอนแรกคิดว่าไม่มีใครสนใจเสียอีก บางคนคิดว่าเป็นงานพื้นๆ รู้อยู่แล้วว่าผลจะออกมาอย่างไร ตอนทำจึงตั้งใจมาก เก็บตัวอย่างตามทฤษฎีและตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ เพื่อไม่ให้มีข้อกังขา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เคยบอกว่างานประเภทนี้เสี่ยงต่อการขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน แต่ก็เต็มใจทำนะ ขอบคุณนะคะ
ตัวเราเอง พลัส(บวก)กับโอกาสที่ได้รับจากหน่วยงาน ตัวเราเก่ง ดี มีคุณภาพ ขยันๆๆๆ ทำงานๆๆๆ นั่นคือเราสร้างโอกาสให้แก่ตัวเราก่อน หน่วยงานจึงตามมาไง โชคดีนะน้อง